สิทธิในเสรีภาพของคนต่างด้าว


สิทธิในเสรีภาพของคนต่างด้าว

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หมายถึงคือการที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆไม่ว่าโดยการพูดหรือการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการเท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นถือเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งให้การรับรองและคุ้มครองไว้ในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ

บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550

มาตรา45"บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นการพูดการเขียนการพิมพ์การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเกียรติยศชื่อเสียงสิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน"

จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 19 บัญญัติว่า[2]"ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออกทั้งนี้สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพที่จะถือเอาความเห็นโดยปราศจากการแทรกแซงและที่จะแสวงหารับและส่งข้อมูลข่าวสารและข้อคิดผ่านสื่อใดและโดยไม่คํานึงถึงพรมแดน"

และจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองข้อ 19 บัญญัติว่า “บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง”

สิทธิทางการเมืองคือสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง (self-determination) ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐโดยตรงหรือใช้สิทธิเลือกตั้งบุคคลเข้าไปเป็นตัวแทนโดยปราศจากการแทรกแซงจากบุคคลอื่นการเลือกตั้งจึงต้องเป็นไปตามวาระมีการออกเสียงโดยทั่วไปอย่างเสมอภาคและเป็นการลงคะแนนลับเพื่อประกันการแสดงเจตนาเสรีของผู้เลือก

กรณีศึกษานายสาธิต เซกัล [1]ซึ่งเป็นคนสัญชาติอินเดีย ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย แกนนำกลุ่ม กปปส.และได้ขึ้นไปปราศรัยบนเวที กปปส. ถูกศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ(ศรส.) มีมติให้เนรเทศออกนอกประเทศไทย ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง ในหมวด 6การส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร โดยในมาตรา 53 ระบุว่า คนต่างด้าวซึ่งเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้วภายหลังปรากฏว่าเป็น บุคคลซึ่งมีพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 12 (7) มาตรา 12 ระบุว่า ห้ามมิให้คนต่างด้าวซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เข้ามาในราช อาณาจักร และใน (7) ระบุว่า มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ ในปัจจุบัน ได้ถูกกล่าวหาว่าร่วมกระทำผิดในข้อหาต่าง ๆ และถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แจ้งข้อหาไปที่ศรส. ศรส.จึงแจ้งให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการเนรเทศนายสาธิตออกจากประเทศไทยโดยด่วน[2]

จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าเกิดปัญหาขึ้นว่า เสรีภาพในการแสดงความคิดเป็นเป็นสิทธิมนุษยชน แต่สิทธิทางการเมืองได้ถูกจำกัดไว้ให้กับคนชาติเท่านั้นหรือ? สำหรับกรณีของคุณสาธิต เซกัล ไม่ว่าจะเป็นการเนรเทศหรือเป็นการให้ออกจากราชอาณาจักร เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจก็ควรปฏิบัติหน้าที่ไปตามขั้นตอน เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคุณสาธิต เซกัลตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ไทยเข้าผูกพันด้วย เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหาต่อไปในอนาคต


[1]สาธิต เซกัล ประวัติประธานหอการค้าไทย-อินเดีย ที่ถูก ศรส. เนรเทศ เมื่อ : 5 กุมภาพันธ์ 2557 สืบค้นจาก : http://hilight.kapook.com/view/97452

[2] สิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง โดย niidnueng nuengniid สืบค้นจาก :http://www.l3nr.org/posts/257340

หมายเลขบันทึก: 568612เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 01:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 01:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท