มนุษย์ที่ข้ามชาติ


มนุษย์ที่ข้ามชาติ

มนุษย์ข้ามชาติคือมนุษย์ที่ข้ามออกจากรัฐของตนออกไปยังรัฐอื่น คือมนุษย์ที่ข้ามออกไปจากรัฐของตนไปยังรัฐอื่นนั่นเอง ซึ่งมนุษย์ข้ามชาตินี้ มีได้ทั้งกรณีที่ข้ามไปอย่างถูกกฏหมาย และผิดกฏหมาย เช่นนักท่องเที่ยว นักเรียนแลกเปลี่ยน แรงงานข้ามชาติ นักลงทุนข้ามชาติ นักศึกษา และผู้หนีภัยความตาย เป็นต้น[1]

มนุษย์ที่ข้ามชาติ ในบทบทความนี้จะกล่าวถึงในเรื่องของ "เด็กที่ข้ามชาติ" ซึ่งเด็กข้ามชาติเหล่านี้มีหลากหลายประเภท เพราะเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน และเด็กเหล่านี้ก็พบกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในหลายๆเรื่อง

ประเภทของเด็กข้ามชาติในประเทศไทย

1. เด็กข้ามชาติที่ติดตามพ่อแม่ซึ่งเป็นคนข้ามชาติที่หลบหนีเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย หรือตัวเด็กเองหลบหนีเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย หรือถูกลักพาตัวเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย

2. เด็กข้ามชาติที่เกิดในประเทศไทยจากพ่อแม่ที่เป็นคนข้ามชาติ ซึ่งเด็กเหล่านี้สมควรจะได้รับการขึ้นทะเบียนจากรัฐ แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น โดยอาจเกิดจากความไม่รู้ของพ่อแม่ หรือการปฏิเสธการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำให้ไม่อาจเข้าถึงสิทธิได้ และถูกถือเป็นเด็กข้ามชาติ

3. เด็กที่ข้ามชาติมาอย่างถูกกฎหมาย

จากการค้นคว้าและติดตามข่าวสารเรื่องเด็กข้ามชาตินั้น ทำให้พบว่าเด็กที่ข้ามชาติมักจะอาศัยอยู่บริเวณจังหวัดที่ติดชายแดนเป็นส่วนใหญ่ อาทิ จังหวัดตาก จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น แต่จังหวัดที่พบปัญหาเด็กข้ามชาติเป็นจำนวนมากอีกจังหวัดหนึ่งคือจังหวัดสมุทรสาคร[1]ที่เป็นเช่นนี้อันเนื่องมาจากจังหวัดสมุทรสาครมีการว่าจ้างแรงงานข้ามชาติเป็นจำนวนมาก ทำให้แรงงานข้ามชาติที่มาทำงานเหล่านี้มีการก่อตั้งครอบครัวขึ้น เมื่อมีการก่อตั้งครอบครัวก็ทำให้มีบุตรซึ่งเกิดในประเทศไทย ซึ่งอันที่แล้วควรจะได้รับการขึ้นทะเบียนพร้อมกับการมีสัญชาติไทย แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากการขาดความรู้ความเข้าใจของพ่อแม่ว่าจะต้องนำบุตรไปจดทะเบียน หรือพ่อแม่บางคนเกรงกลัวเพราะว่าตนเองหลบหนีเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมายจึงไม่กล้าพาบุตรของตนไปขึ้นทะเบียน หรือการปฏิเสธการขึ้นทะเบียนจากเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้เด็กซึ่งเป็นบุตรของคนข้ามชาติเหล่านี้ไม่อาจเข้าถึงสิทธิได้ และถูกถือเป็นเด็กข้ามชาติ

ปัญหาการถูกละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดตามมาจากการเป็นเด็กข้ามชาติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

1. ปัญหาการได้การรับรองทางทะเบียนจากรัฐและการได้รับสัญชาติปัญหานี้เป็นต้นตอของปัญหาสิทธิมนุษยชนอื่นๆ เนื่องจากเมื่อไม่ได้การรับรองจากรัฐแล้ว หน่วยงานอื่นมักจะนำสิ่งนี้มาเป็นข้ออ้างเพื่อที่จะไม่ปฏิบัติตามสิทธิที่เด็กข้ามชาติเหล่านี้ควรจะได้รับ

ตามข้อเท็จจริงปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นจากเจ้าหน้าที่รัฐปฏิเสธการขึ้นทะเบียนให้กับเด็กเหล่านี้ เพราะว่าเด็กเหล่านี้เข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมาย รวมถึงการปฏิเสธที่จะขึ้นทะเบียนพร้อมกับให้สัญชาติกับเด็กที่เกิดในประเทศไทยตามหลักดินแดนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะเขาเกิดจากพ่อแม่ซึ่งเป็นคนข้ามชาติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตามกฎหมายระหว่างประเทศสิ่งเหล่านี้ไม่อาจทำได้ เพราะรัฐต้องมีหน้าที่จัดหาสิ่งเหล่านี้ให้กับมนุษย์ที่ปรากฎตัวขึ้นบนรัฐนั้นๆ ดังนั้นการปฏิเสธที่จะขึ้นทะเบียนให้จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างหนึ่ง

2. ปัญหาการได้รับบริการทางสาธารณสุข ซึ่งประเทศไทยได้มีกฎหมายรองรับในเรื่องนี้อยู่แล้ว นั่นก็คือในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 51 เรื่องสิทธิของบุคคลที่จะได้รับการบริการด้านสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ ทว่าในความเป็นจริงหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ได้ยกความเป็นเด็กข้ามชาติที่ไม่ได้ถูกรับรองทางทะเบียนขึ้นมาเพื่อเป็นข้ออ้างที่จะไม่รักษาหรือให้บริการทางด้านสาธารณสุข ซึ่งถือได้ว่าเป็นการทำละเมิดโดยเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ในเวลาต่อมาปัญหานี้ก็ได้รับการแก้ไขบ้างแล้วจากรัฐ โดยการประกาศนโยบายสุขภาพดีที่ 31 จังหวัดแนวชายแดนไทย กับ 4 ประเทศเพื่อนบ้านตลอด5,820กิโลเมตรซึ่งเน้น 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ครอบคลุมมาตรฐานเหมือนพื้นที่ปกติให้ประชาชนทั้งคนไทยและต่างด้าวเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนทั้งไทยและต่างประเทศ และการบริหารจัดการ โดยเพิ่มสิทธิการเข้าถึงบริการนี้จะมีการจัดทำบัตรสุขภาพให้เด็กไทยและเด็กต่างด้าว อายุ 0-6 ปี มีเลขประจำตัว 13 หลัก พร้อมที่อยู่ชื่อบิดามารดา มีวันหมดอายุ เพื่อบันทึกสุขภาพตลอดจนการรับวัคซีนของเด็กทุกคน โดยเด็กและหญิงตั้งครรภ์สามารถเข้ารับรับบริการในสถานพยาบาลได้ต่อเนื่อง[2]

3. ปัญหาการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญเรื่องหนึ่ง ซึ่งประเทศในไทยก็ได้มีกฎหมายที่รองรับการจัดการศึกษาโดยรัฐให้กับบุคคลเอาไว้อย่างน้อย 12 ปี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550แต่ทว่าตามข้อเท็จจริงก็ยังมีโรงเรียนของรัฐบางแห่งปฏิเสธที่จะรับเด็กข้ามชาติเหล่านี้เข้าไปศึกษา เนื่องจากเขาเป็นคนที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือไม่ได้มีสัญชาติไทย ซึ่งถ้าว่าตามกฎหมายที่มีแล้ว บุคคลทุกคนต้องได้รับการศึกษาโดยการที่รัฐจัดหาให้ และรัฐจะปฏิเสธการให้การศึกษากับเด็กข้ามชาติเหล่านี้ไม่ได้[3]

กรณีศึกษาเป็นข้อเท็จจริงของ น้องดนัย ยื่อบ๊อซึ่งเป็นลูกชายของนางหมี่ยึ่ม ชาวอาข่า กับ นายอาบู ซึ่งบอกว่าตนข้ามมาจากพม่า น้องดนัยเกิดเมื่อปี 2542 แต่นางหมี่ยึ่มได้สัญชาตืไทยในปี2552 ทั้งนี้ทางอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ไม่ให้สัญชาติไทยแก่น้องดนัย จึงทำให้น้องดนัยเป็นคนไร้สัญชาติ

การได้สัญชาตืไทยตามพ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 ที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้คือ การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดและตามหลักดินแดน

มาตรา 7 บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือ นอกราชอาณาจักรไทย

(2) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตาม มาตรา 7ทวิ วรรคหนึ่ง[2]

การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดคือ เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย

การได้สัญชาติไทยตาม หลักดินแดน คือการได้สัญชาติโดยหลักดินแดนนั้น คือผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย หมายความว่า บุคคลใดก็ตามที่เกิดในราชอาณาจักรไทย บุคคลผู้นั้นย่อมได้สัญชาติไทย

กรณีดังกล่าวน้องดนัยสมควรจะได้สัญชาติไทย เนื่องจากมีแม่คือนางหมี่ยึ่มซึ่งมีสัญชาติไทยตามมาตรา7(1) แต่มีปัญหาว่า ในขณะที่น้องดนัยเกิดนั้น หมี่ยึ่มยังไม่ได้สัญชาติไทย จังยังไม่มีการรับรองว่าดนัยเป็นคนสัญชาติไทย แต่อย่างไรก็ตามดนัยเกิดที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งก็คือราชอาณาจักรไทย ดังนั้นดนัยจึงมีสัญชาติไทยตามหลักดินแดน ตามมาตรา7(2) ทว่าทางอำเภอฝางกลับไม่ออกเอกสารรับรองสัญชาติให้ดนัย

อย่างไรก็ตามการที่อำเภอไม่รับรองสัญชาติให้ดนัยนั้นทำให้ดนัยเป็นคนไร้สัญชาติซึ่ง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 15(1) หลักว่า ทุกคนมีสิทธิในสัญชาติหนึ่ง

การกระทำดังกล่าวของทางอำเภอฝางจึงเป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีสัญชาติของดนัยซึ่งได้รับรองไว้ใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งเกิดจากปัญหาของการคนที่ข้ามชาติ ดังนี้แล้วข้าพเจ้าจึงขอสรุปว่าปัญหาของคนข้ามชาตินั้นนำมาซึ่งอีกหลายๆปัญหา ถ้าหากรัฐไม่มีการดำเนินงานหรือหากไม่มีทางออกที่จะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพก็อาจจะมีเด็กหรือบุคคลหลายกลุ่มที่ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือถูกละเมิดสิทธิอยู่


[1] http://www.l3nr.org/posts/535656

[2] http://www.thaigeneralkonsulat.de/th/consular/nationality1.pdf

หมายเลขบันทึก: 568607เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท