การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


        ละเมิดตามพจนานุกรมหมายถึง ล่วงเกินหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีหรือกฏหมายที่มีบัญญัติไว้ คือ การกระทำให้ผู้อื่นเสียหายโดยผู้กระทำไม่มีสิทธิที่จะกระทำเช่นนั้น

ละเมิดจัดอยู่ในกรณีการทำนิติกรรมกฏหมายโดยผลในทางกฏหมายเกิดข้นคำนึงถึงบุคคลผู้กระทำว่าได้เจตนาให้ผลเกิด แต่การกระทำที่ขัดต่อกฏหมายนั้นกฏหมายบัญญัติโดยคำนึงถึงตัวบุคคลได้รับความเสียหายจากการกระทำแต่ไม่คำนึงเจตนาของผู้กระทำ

ความรับผิดในกรณีละเมิดตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มี ๓ หมวดตั้งแต่มาตรา ๔๒๐-๔๕๒ แต่หมวดที่เกี่ยวข้องสำหรับนักสื่อสารมวลชนเฉพาะหมวด ๑ ที่ว่าด้วยการรับผิดเมื่อละเมิด หมวด ๒ ค่าสินไหมทดแทนเมื่อละเมิด[1]

จากกรณีศึกษาในครั้งก่อนๆ ที่เกี่ยวกับชาวโรฮิงญา สามารถนำมาเป็นตัวอย่างได้อย่างชัดเจน

โดย ประเทศพม่ามองว่าพวกโรฮิงญาไม่มีความจงรักภักดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวโรฮิงญาบางคนต้องการสร้างรัฐอิสระขึ้นทางอะรากันตอน เหนือ และผนวกเข้ากับปากีสถาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 กองทหารพม่าออกปฏิบัติการกวาดล้างพวกนี้ หมู่บ้านหลายร้อยแห่งถูกเผาและคนหลายพันคนถูกฆ่า ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมหาศาลอพยพหนีไปยังบริเวณที่เป็นปากีสถานในขณะนั้น” และ นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการที่เจ้าหน้าที่ทางการพม่าพยายามจะข่มขวัญและขับไล่ พวกโรฮิงญาในครั้งต่อ ๆ มาอีก

นอกจากการสังหารโหดหลายพันคนแล้ว ชาวโรฮิงญามากมายยังต้องตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์อีกด้วย โดยขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา เริ่มต้นจากการรับจ้างนำออกจากประเทศพม่าเข้ามายังฝั่งไทย คิดค่าหัวตั้งแต่ 20,000-50,000 บาท แล้วแต่ข้อตกลง เมื่อส่งข้ามแดนประเทศไทยมาแล้วก็ถือว่าหมดหน้าที่ แต่ปัจจุบันขบวนการรับจ้างนำชาวโรฮิงญา ไปยังประเทศที่ 3 มีความแยบยลมากยิ่งขึ้น ซึ่งใช้วิธีการ “เข้าฮอส” แบบกินสองต่อ คือการรับจ้างนำชาวโรฮิงญาหลบหนีออกจากประเทศพม่าแล้ว ยังทำการกักขังควบคุมตัวเอาไว้ในสถานที่ตามแนวชายแดน เพื่อขายชาวโรฮิงญาให้กับผู้ต้องการแรงงานในประเทศเพื่อนบ้าน ในราคาหัวละ 30,000–50,000 บาท ซึ่งมีนายทุนทั้งภาคการเกษตรและการประมง ที่ต้องการแรงงานเหล่านี้ไว้ใช้งาน เพราะค่าแรงถูก นายทุนสามารถกดขี่ได้ตามชอบใจ ดังนั้นชาวโรฮิงญาเหล่านี้จึงตกอยู่ในสภาพหนีเสือปะจระเข้ ถูกทารุณกรรมสารพัด[2]

นับวันปัญหาการค้ามนุษย์ที่ปรากฏใน ชายแดนใต้ก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นโดยที่ไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้เลย อาจเป็นเพราะการที่ไทยมองข้ามความสำคัญในด้านสิทธิมนุษยชน อันก่อให้เกิดการลิดรอนสิทธิทั้งกับ พลเมืองของรัฐ จนไปถึงผู้ที่มิใช่พลเมืองซึ่งย่อถูกกระทำอย่างแสนสาหัสยิ่งกว่า ถือได้ว่าไทยได้ปล่อยปะละเลยให้มีการละเมิด ทั้งปฎิญญาสากล และละเมิดต่อ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 32ที่วางหลักไว้ว่า

  • บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้ มนุษยธรรม จะกระทำมิได้ แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษ ด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้
  • การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ[3]

[1] ไพจิตร ปุญญพันธ์.ลักษณะละเมิด.กรุงเทพฯ:คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.มปท.

[2] www.dailynews.co.th/Content/regional/174579/เจาะลึก“Bโรฮิงญา”เหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ตายทั้งเป็น!!ถูกขูดรีด-กักขัง

[3] http://www.livinginthailand.com/cons-03-3.html

หมายเลขบันทึก: 568602เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท