ครอบครัวข้ามชาติ


ครอบครัวข้ามชาติ

คนข้ามชาติ หมายถึง ผู้ดำรงชีวิตในถิ่นฐานที่ไม่ใช่บ้านเกิดของตนเอง ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้อพยพจากรัฐหนึ่งมาตั้งถิ่นฐานในอีกรัฐหนึ่ง และลงหลักปักฐานดำรงชีวิตในรัฐนั้น แต่เนื่องจากการอพยพมาอย่างผิดกฎหมาย ประกอบกับการสำรวจประชากรที่ไม่รอบคอบ ทำให้คนกลุ่มนี้ตกสำรวจ จึงเกิดปัญหาเรื่องสถานะของคนเหล่านั้น ว่าเป็นคนรัฐใด สัญชาติใด

ครอบครัวข้ามชาติจึงหมายถึง ครอบครัวที่ประกอบด้วยสมาชิกในครอบครัวที่มีปัญหาเรื่องสถานะของตน เช่น สัญชาติที่ไม่ตรงกับดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานได้แก่ บิดาหรือมารดา เป็นคนข้ามชาติ จากการเข้ามาในประเทศนั้นๆ ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม

การสร้างครอบครัวของมนุษย์ที่ข้ามชาติจากกรณีศึกษาครอบครัวเจดีย์ทอง ครอบครัวเจดีย์ทองได้เริ่มต้นมาจากนายอาทิตย์ เจดีย์ทอง ชาวไทย และนางสาวแพทริเซีย ชาวมาเลเซีย เกิดพบรักกันขณะไปทำงานที่ไต้หวัน เมื่อต่างคนต่างกลับประเทศ แต่ด้วยความรัก นางสาวแพทริเซียได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพื่อมาเยี่ยมนายอาทิตย์และตัดสินใจอยู่กินกันฉันสามีภรรยากับนายอาทิตย์ที่ บ้านห้วยส้าน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จนมีบุตรสามคน แต่ละคนได้เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติไทย และมีเลขประจำตัวประชาชน13หลักตามปกติ

เมื่อนางสาวแพทริเซียตั้งใจอยู่กินกับนายอาทิตย์ฉันสามีภรรยา นางสาวแพทริเซียก็ไม่ได้สนใจว่าตนจะสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้นานเท่าใด นางสาวแพทริเซียจึงอยู่ในปรเะทศไทยเลยกำหนดที่ตนสามารถอยู่ได้ในการตรวจลงตราบนหนังสือเดินทาง

นางสาวแพทริเซียต้องการจะอยู่ในประเทศไทยอย่างถาวร จึงไปแสดงตนกับเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นคนไร้รัฐ เมื่อนางสาวแพทริเซียได้เข้าไปแสดงตน เจ้าหน้าที่ก็ได้จัดการบันทึกให้นางสาวแพทริเซียเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน โดยใช้ชื่อ อัญชลี เจดีย์ทอง ทำให้นางสาวแพทริเซียมีสถานะ2สถานะคือ เป็นคนสัญชาติมาเลเซีย และเป็นบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน หรือเป็นบุคคลไร้รัฐนั่นเอง

หากนางสาวแพทริเซียได้ถือสถานะเป็นคนไร้รัฐอยู่ในประเทศไทย ก็จะเกิดปัญหาสิทธิมนุษยชนขึ้น คือ ถ้านางสาวแพทริเซียถือสัญชาติมาเลเซีย ได้ขอวีซ่าคู่สมรสหรือ Spouse Visa และจดทะเบียนสมรส ก็จะเป็นครอบครัวข้ามชาติตามกฎหมาย สิทธิของนางสาวแพทริเซียก็จะมีมากกว่าตอนที่ตนถือสถานะเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ดังนั้น ปัญหาสิทธิมนุษยชนของครอบครัวข้ามชาติครอบครัวนี้คือการเสียสิทธิบางประการของนางสาวแพทริเซียที่ถือสถานะไร้สัญชาติ แทนที่จะถือสัญชาติมาเลเซีย

นอกจากนี้แล้ว บุตรของนางสาวแพทริเซียกับนายอาทิตย์ทั้ง3คน อาจได้รับสองสัญชาติได้คือ ได้รับสัญชาติไทย ผ่านดินแดนที่เกิด คือประเทศไทย และผ่านสายโลหิตคือบิดาซึ่งก็คือนายอาทิตย์ เป็นคนไทย และอาจได้รับสัญชาติมาเลเซียผ่านหลักสืบสายโลหิตทางมารดา ซึ่งก็คือ นางสาวแพทริเซีย หากนางสาวแพทริเซียถือสัญชาติมาเลเซีย บุตรทั้ง3คนอาจได้รับสัญชาติมาเลเซียด้วย ถ้าบุตรทั้งสามคนได้รับสัญชาติมาเลเซีย ก็จะสามารถได้รับสิทธิบางประการที่คนชาติมาเลเซียได้ เช่น การประกอบอาชีพบางประการหรือการซื้อที่ดิน ดังนั้น ปัญหาสิทธิมนุษยชนของครอบครัวข้ามชาติครอบครัวนี้อีกประการหนึ่งคือการบุตรทั้งสามคนอาจเสียสิทธิบางประการในการไม่ได้ถือสัญชาติสองสัญชาติ

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า ปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติ ปัญหาสองสัญชาติ และปัญหาการเดินทางเข้าเมืองผิดกฎหมาย ยังคงเป็นปัญหาสิทธิมนุษยชนในครอบครัวข้ามชาติบางครอบครัวที่ปัญหาต่างๆได้ เกิดจากความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ประสบปัญหาทางสถานะบุคคลทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิบางประการได้ ประเทศไทยจึงควรให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาสถานะบุคคลให้สมาชิกในครอบครัวข้ามชาติภายใต้กรอบคิดความเป็น รัฐชาติ และ ความเป็นคนไทย ที่ยืดหยุ่นเพื่อให้เขาได้รับสิทธิที่สมควร มิฉะนั้นอาจจะถือเป็นการละเมิดสิทธิของเขาก็เป็นได้

อ้างอิง

ความเป็นคนไร้รัฐและคนไร้สัญชาติในประเทศไทย : คืออะไร ? และควรจัดการอย่างไร ? โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

บทความเพื่อหนังสือที่ระลึกวันรพี ๒๕๔๗ ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗

สืบค้นจาก: http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=278&d_id=277.

กรณีศึกษาครอบครัวเจดีย์ทองโดยรศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร สืบค้นจาก:http://www.l3nr.org/posts/536193

หมายเลขบันทึก: 568608เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 01:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท