การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่น

สิทธิในชีวิต ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้และได้รับการคุ้มครองให้ปลอดภัยได้รับการตอบสนองตามความต้องการขั้นพื้นฐานของชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ทุกชีวิตล้วนมีคุณค่าด้วยกันทั้งสิ้น ไม่วาจะเป็นบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีวิตอยู่เป็นพิเศษจากผู้อื่น เช่น คนพิการ คนชรา ฯลฯ ดังนั้นทุกคนควรปฏิบัติต่อบุคคลด้อยโอกาส ให้ความสำคัญ ให้โอกาสและให้ความช่วยเหลือตามสมควร เพื่อให้ทุกชีวิตมีความเท่าเทียมกันมากที่สุด[1]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามม.32บัญญัติว่า

"บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายการทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้ แต่การลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้"

กล่าวคือ แม้ว่าสิทธิและเสรีภาพนี้จะถูกกำหนดอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเท่านั้น แต่สิทธิและเสรีภาพในชีวิตร่างกายเป็นสิทธิในชีวิต เป็นสิทธิมนุษยชน คือมนุษย์ทุกคนควรได้รับสิทธิในชีวิตร่างกาย ไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้นที่จะมีสิทธิในชีวิตร่างกายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้

ในกรณีศึกษา ข้าพเจ้าขอเสนอกรณีของชาวโรฮิงยา โดยตั้งแต่แรกเริ่มเป็นต้นมา ประเทศพม่ามองว่าพวกโรฮิงญาไม่มีความจงรักภักดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวโรฮิงญาบางคนต้องการสร้างรัฐอิสระขึ้นทางอะรากันตอน เหนือ และผนวกเข้ากับปากีสถาน

พม่าไม่ยอมรับว่าโรฮิงญาเป็นพลเมือง และในปี พ.ศ. 2491 กองทหารพม่าออกปฏิบัติการกวาดล้างพวกนี้ หมู่บ้านหลายร้อยแห่ง “ถูกเผาและคนหลายพันคนถูกฆ่า ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมหาศาลอพยพหนีไปยังบริเวณที่เป็นปากีสถานในขณะนั้น” (Yunus 1995:3) และ นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการที่เจ้าหน้าที่ทางการพม่าพยายามจะข่มขวัญและขับไล่ พวกโรฮิงญาในครั้งต่อ ๆ มาอีก ทำให้ผู้ลี้ภัยหลั่งไหลเข้าสู่ปากีสถานและต่อด้วยบังคลาเทศระลอกแล้วระลอกเล่า[2]

ผู้ลี้ภัยโรฮิงญาที่ยากจนไร้สัญชาติจำนวนมากจึงอพยพไปสู่เมืองใหญ่ในบังคลาเทศ มาเลเซีย ปากีสถาน และเดินทางต่อไป ซึ่งประเทศแถบอ่าวเปอร์เชียที่ซึ่งเชื่อกันว่ามีคนกลุ่มนี้กว่า 200,000 คนอาศัยอยู่ในช่วงทศวรรษ 1990"ผมกลับไปที่ประเทศพม่าไม่ได้ ถ้ากลับไปผมต้องโดนฆ่าแน่ แต่ตอนนี้ อยู่ที่นี้ผมก็ไม่มีเอกสารที่แสดงสถานะถูกต้องทางกฎหมาย" - ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาส์ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

จากข้อมูลของป้องกันจังหวัดระนอง ระบุว่า ชาวโรฮิงญา เริ่มอพยพเข้าประเทศไทยทางด้านจังหวัดระนองครั้งแรกเมื่อปี 2548 แต่ยังไม่มีการบันทึกสถิติไว้

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ปัญหาที่ตามมาคือชาวโรฮิงยาถูกมองเหมือนทรัพย์สิน มีการซื้อขาย หรือในทางกฎหมายที่เรียกว่าการค้ามนุษย์

ถ้าทางการปล่อยให้ชาวโรฮิงญาถูกกดขี่ เป็นวัตถุในการค้ามนุษย์ต่อไป หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 4 บัญญัติว่า

"ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับการคุ้มครอง"

การค้ามนุษย์เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์รูปแบบหนึ่ง คือ การค้าเป็นการกระทำกับสิ่งของ การค้ามนุษย์จึงเป็นการกระทำกับมนุษย์ดังเช่นว่าเขาเป็นสิ่งของ ไม่ใช่มนุษย์อีกต่อไป นอกจากการค้ามนุษย์แล้ว ในระหว่างการเดินทางยังมีการทารุณโหดร้าย นายจ้างกดขี่ตามใจชอบ ถูกใช้งานหนัก การกระทำเช่นนี้ก็เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นกัน คือ เอาเขาลงเป็นทาส ทั้งๆที่มนุษย์ทุกคนมีชีวิตจิตใจ มีความเป็นมนุษย์ มีสิทธิเสรีภาพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันทุกคน ดังนั้น ขบวนการค้าชาวโรฮิงญานี้ เป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตอย่างหนึ่ง คือการลดทอนศักดิ์ศรความเป็มนูษย์ทั้งในเรื่องการค้ามนุษย์และการเอาคนลงเป็นทาส[3]

ข้าพเจ้าเห็นว่าหากรัฐไทยสามารถที่จะช่วยเหลือชาวโรฮิงยาได้ ก็ควรที่จะเข้าช่วยเหลือ ไม่ว่าการช่วยเหลือนั้นจะมากหรือน้อยก็ตาม เพราะอย่างน้อยหากได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์แล้วนั้นก็ควรที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะเราทุกคนสมควรที่จะมีศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน


[1] http://www.oknation.net/blog/print.php?id=390479

[2] http://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?option=com_content&view=article&id=61:2010-11-16-05-48-43&catid=36:2010-10-21-08-06-37&Itemid=58

[3] http://www.dailynews.co.th/Content/regional/174579/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99

หมายเลขบันทึก: 568611เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 01:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท