มะเร็งเต้านม


สาเหตุของโรคมะเร็งนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าพันธุกรรมมีส่วนสำคัญ พบว่าคนที่มีญาติสายตรงเป็นโรคมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสูง

โรคมะเร็งเต้านม นับเป็นมหันตภัยร้ายแรงสำหรับผู้หญิงทั่วโลก โดยสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ องค์การอนามัยโลกพบว่าทุก 1 ใน 8 คนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ จากสถิติทั่วโลกมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมประมาณ 6,255,000 คน และทุก 1 นาทีมีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 คน ดังนั้นถ้า 1 ชั่วโมงก็เสียชีวิตถึง 60 คน สำหรับสถิติในประเทศ ไทยใน 1วัน พบผู้ป่วย 37 คน และเสียชีวิตวันละ 14 คน เฉลี่ยประมาณ 2 ชั่วโมงเสียชีวิต 1 คน จึงถือเป็นภัยเงียบของผู้หญิงที่น่ากลัวมาก




รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งเต้านม หน่วยมะเร็ง วิทยาภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เปิดเผยว่า สาเหตุของโรคมะเร็งนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าพันธุกรรมมีส่วนสำคัญ พบว่าคนที่มีญาติสายตรงเป็นโรคมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมสูงคนกว่าทั่วไปและควรได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมทุกปี ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ และการใช้ฮอร์โมนเสริม เป็นต้น





  

มะเร็งเต้านม ที่ตรวจพบโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 3 สายพันธุ์ใหญ่ ๆ คือ สายพันธุ์ตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากที่สุด สายพันธุ์เฮอร์ทู (HER2) พบได้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด และชนิดไตรโลปะที่ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน พบได้ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งทั้งหมด อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมและได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว ยังคงมีโอกาสกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมได้อีก


  จากหลักฐานที่มีพบว่าการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมเกี่ยวข้องกับยีนบางอย่างในร่างกาย หรือสาเหตุบางประการ เช่น การหลงเหลือของเซลล์มะเร็งต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ในร่างกาย รวมถึงการดื้อยาที่แพทย์สั่ง การได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง ล่าช้า และภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ โดยการกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมซ้ำหลังจากรักษา มีระยะเวลาเฝ้าระวังประมาณ 12 ปี มี 3 รูปแบบใหญ่ ๆ คือการเป็นซ้ำในบริเวณเดิมและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นการกำเริบเฉพาะที่ ส่วนการกำเริบในต่อมน้ำเหลืองใกล้ ๆ เรียกว่า การกำเริบบริเวณใกล้เคียง และถ้ามีการกำเริบในบริเวณอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายจะเรียกว่า การกำเริบแบบมีการแพร่กระจาย



 

การรักษามะเร็งกำเริบเฉพาะที่แม้ว่าจะทำได้ยากกว่าการรักษาครั้งแรกแต่ก็ไม่จัดเป็นมะเร็งระยะแพร่กระจาย ซึ่งการรักษาระยะนี้มักหวังผลเพื่อยืดชีวิตผู้ป่วย รักษาคุณภาพชีวิตและบำบัดอาการของโรคเป็นหลัก ปัจจุบันการรักษามะเร็งเต้านมในระยะแพร่กระจายให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องตรวจคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งยาที่ได้รับจะสามารถต่อต้านเซลล์มะเร็งได้อย่างเจาะจงที่เรียกว่ารักษาตามเป้าหมายที่ช่วยเสริมประสิทธิ ภาพให้การรักษา ลดผลข้างเคียงต่อเนื้อเยื่อปกติของร่างกา


  มะเร็งเต้านมสายพันธุ์เฮอร์ทู เป็นมะเร็งที่เกิดจากการกลายพันธุ์เพิ่มปริมาณของยีนก่อมะเร็งเฮอร์ทูและมีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วหากรักษาไม่ถูกต้องตรงตามกลไกการเกิดโรคอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมสายพันธุ์เฮอร์ทูในระยะแพร่กระจายนั้นการรักษามาตรฐานทั่วไป อันดับแรกนั้นมักใช้ยาฉีดกลุ่มยาต้านเฮอร์ทูควบคู่ยาเคมีบำบัด ซึ่งพบว่ามากกว่าครึ่งของผู้ป่วยที่รักษามาตรฐานนี้ยังคงมีการพัฒนาของโรครุนแรงมากขึ้นในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งสาเหตุเกิดจากการดื้อยา




 ล่าสุดนักวิจัยได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่เป็นยาฉีด เพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านมสายพันธุ์เฮอร์ทูที่นำมาใช้ร่วมกับยาต้านเฮอร์ทูตัวเดิมและยาเคมีบำบัดเพื่อป้องกันการดื้อยา โดยยาตัวใหม่นี้มีประสิทธิภาพยับยั้งและขัดขวางการรวมตัวกันของโปรตีนเออร์ทูกับโปรตีนเฮอร์ชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของการดื้อยาตัวเดิม ช่วยลดการลุกลามของโรคและช่วยยืดชีวิตของผู้ป่วย


  ปัจจุบันยาต้านเฮอร์ทูรุ่นใหม่นี้ผ่านการรับรองจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา สวิต เซอร์แลนด์ และประเทศอื่น ๆ รวมกว่า 40 ประเทศ สำหรับประเทศไทยได้รับการอนุมัติให้ใช้รักษาผู้ป่วยได้เมื่อต้นปีที่ผ่านมาจึงนับเป็นก้าวสำคัญของวงการแพทย์ที่นำนวัตกรรมล่าสุดในการใช้รักษามะเร็งเต้านมเข้ามาใช้เพื่อความหวังใหม่และกำลังใจของผู้ป่วยระยะแพร่กระจายหรือระยะสุดท้ายให้มีชีวิตอยู่เพื่อครอบครัวและคนที่รักได้ยาว นานยิ่งขึ้น


  ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้าช่วยผู้ป่วยมะเร็งเต้านมให้มีชีวิตยืนยาวมากขึ้นก็ตาม การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเองตลอดจนกำลังใจจากคนใกล้ชิดก็ยังมีส่วนสำคัญในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง ควรมาพบแพทย์ตามนัดและรับประทานยาตามแพทย์สั่ง รักษาสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง เพื่อการได้อยู่กับคนที่รักให้นานที่สุด


(ขอบคุณมะเร็งเต้านม ฯโดยรศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ จากหนังสือพืมพ์เดลินิวส์ )

ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี

วันเสาร์ที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ ๒๕๕๗

หมายเลขบันทึก: 568363เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท