HR-LLB-TU-2556-TPC-ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพที่ดี


ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพที่ดี

                  สิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ เช่นสิทธิในการมีชีวิต สิทธิในการได้รับการศึกษา สิทธิในการมีสัญชาติ สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น เป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนเกิดมาพึงมี โดยสิทธิเหล่านี้ได้รับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งประเทศไทยก็ได้รับรองในปฏิญญานี้ด้วย จึงต้องปฏิบัติตามและออกกฎหมายให้สอดคล้องกับเนื้อหาในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอีกด้วย

                  สิทธิในการมีสุขภาพดีนั้น เป็นสิทธิอย่างหนึ่งในสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ ถ้ามนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ดีได้แล้ว อาจไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างมนุษย์ได้ จะต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยการที่สามารถเข้าถึงสิทธิในการมีสุขภาพดีได้ ก็จะได้ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุข ปัจจุบัน สิทธิในการมีสุขภาพดีนั้น กลับถูกละเมิด โดยเฉพาะจากภาครัฐ ทำให้บุคคลหลายคนไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการมีสุขภาพดีได้ในประเทศไทย

                  หากพิจารณาถึงคำว่าสิทธิในการมีสุขภาพดีนั้น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 25 หลักว่า บุคคลมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอสำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ ดีสำหรับตนเองครอบครัว รวมทั้งอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาลและบริการทางสังคมที่จำเป็น และสิทธิในความมั่นคงในกรณีว่างงาน เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เป็นหม้าย วัยชรา หรือการขาดปัจจัยในการเลี้ยงชีพ อื่นใดในพฤติการณ์อันเกิดจากที่ตนควบคุมได้[1]และประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ออกมาเพื่อให้สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อดูแลแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของประชาชน วางกรอบและแนวทางในการกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ รวมทั้งมีองค์กรและกลไกเพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายอันจะนำไปสู่เป้าหมายในการสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งสามารถดูแลแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง[2]

                   พิจารณากรณีศึกษา พ่อแม่ของอาป่าเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติที่อพยพมาจากเมียนม่าร์ แต่เขาเกิดที่เชียงราย ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ มาตรา7 หลักว่าบุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(๑)ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

                  กรณีนี้อาป่าจึงมีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่เขายังไม่อาจยื่นร้องขอสัญชาติไทย เพราะยังไม่สามารถขอหนังสือรับรองการเกิดได้ อาป่าจึงยังเป็นคนไร้สัญชาติอยู่ จากข้อเท็จจริงอาป่าประสบอุบัติเหตุรถยนต์ชนกันบนถนน ขาหัก2ข้าง และถูกฟ้องต่อศาลยุติธรรมในความผิดฐานขับรถโดยประมาท อุบัติเหตุดังกล่าว อาป่าต้องเอากะโหลกศีรษะออก และกายภาพบำบัดขาที่หักทั้ง2ข้างซึ่งต้องดามด้วยเหล็กยังเดินไม่สะดวก อีกทั้งอาจจะไม่สามารถใช้ขาได้ตามปกติ แม้อาป่ามีความพิการจากการที่ขาหักทั้ง2ข้างหัก แต่อาป่าก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ถึงจะไร้สัญชาติแต่อาป่าก็มีสิทธิด้านสุขภาพตาม ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ25ในการรักษาพยาบาลและกายภาพบำบัดโดยไม่ถูกกีดกันแม้ไม่มีสัญชาติ พิจารณาการที่อาป่าถูกฟ้องคดี เขาก็มีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่จะสามารถต่อสู้คดีได้ พบปัญหาว่า อาป่าไม่มีเงินในการต่อสู้คดี เช่นค่าทนาย จึงต้องจัดให้มีผู้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และกรณีนี้ยังพบว่า ถ้าไม่มีผู้ให้ความช่วยเหลือ อาป่าย่อมถูกละเมิดสิทธิด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งอาป่าว่าแม้จะถูกคู่กรณีใช้ความไร้สัญชาติมาโจมตี แต่เขาก็ยังยืนยันที่จะต่อสู้ในสิ่งที่เขาสามารถทำได้

[1] กระทรวงการต่างประเทศ. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf. 14 พ.ค. 2557

[2] ศูนย์ทนายความทั่วไทย. พรบ.สุขภาพ พ.ศ.2550. (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538976177&Ntype=19. 14 พ.ค.2557

หมายเลขบันทึก: 568356เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท