ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


สิทธิมนุษยชนนั้นมีความสำคัญในฐานะที่เป็นอารยะธรรมโลกของมนุษย์ที่พยายามวางระบบความคิดเพื่อให้คนทั่วโลกเกิดความระลึกรู้ คำนึงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ตั้งแต่ยอมรับความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี ชาติกำเนิด สิทธิต่างๆที่มีพื้นฐานมาจากความชอบธรรม ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสิทธิตั้งแต่กำเนิด โดยให้ความสำคัญกับคำว่าชีวิต (Life) นอกจากนี้แล้วสิทธิมนุษยชนยังมีความสำคัญในแง่ของการเป็นหลักประกันของความเป็นมนุษย์สิทธิและ เสรีภาพ และสภาวะโลกปัจจุบันเรื่องของสิทธิมนุษยชนก็ไม่ใช่เรื่องประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องที่สังคมทั่วโลกต้องให้ความสำคัญ เพราะประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ผูกพันตามพันธกรณีแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และที่สำคัญเรื่องของสิทธิมนุษยชนยังได้ถูกนำไปใช้ในทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าทำให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปคว่ำบาตรทางการทูต การงดการทำการค้า ด้วยสาเหตุและความสำคัญดังกล่าวมาข้างต้น เราจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะมีความสำคัญทั้งในด้านสังคมโลกและการสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทยปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก กล่าวคือ อาจเป็นกรณีปัญหาที่คนไทยเป็นฝ่ายที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากคนในประเทศอื่น หรือรัฐบาลไทยอาจเป็นฝ่ายที่ไปละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนในประเทศอื่นก็ได้ ดังกรณีที่ได้ศึกษาคือ ปัญหาการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวโรฮิงญา ซึ่งพบว่า โรฮิงญา เป็นกลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอาระกัน ซึ่งเป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์ในประเทศเมียนมาร์ ได้รับการถูกเลือกปฏิบัติและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมากโดยรัฐบาลทหารเมียนมาร์เนื่องจากความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ภาษา และศาสนา ตั้งแต่การจำกัดสิทธิในการเคลื่อนที่โดยเสรีตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 13คือ ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการเคลื่อนไหวและสถานที่อยู่ภายในเขตของแต่ละรัฐและทุกคนมีสิทธิที่จะออกจากประเทศใดๆไปรวมทั้งประเทศของตนเองด้วย และที่จะกลับยังประเทศตน

นอกจากนี้ยังมีปัญหาต่างๆเช่นปัญหาประการต่อมาที่จะยกมาพูดถึงในที่นี้คือ ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ กล่าวคือ ปัญหานี้เกิดจากการที่มีชาวต่างชาติบางส่วนที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายก็ได้สร้างปัญหาต่อความมั่นคงของสังคมโดยรวมและประเทศชาติ เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาโรคระบาด เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศไทยปลายทางรับแรงงานต่างชาติเหล่านี้เข้ามาทำงานจึงพยายามควบคุมแรงงานดังกล่าวให้มีจำนวนจำกัด เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยได้กำหนดยุทธศาสตร์บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2547 คือให้นายจ้างนำแรงงานที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายมาจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้เข้าสู้ระบบการจ้างแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งขอความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติให้ช่วยกดดันประเทศมหาอำนาจหรือประเทศที่ร่ำรวยกว่าประเทศไทยให้ช่วยรับแรงงานเหล่านี้เข้าไปอยู่ในประเทศ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ยังผลให้ประเทศไทยต้องรับภาระดูแลชาวต่างชาติดังกล่าวมากขึ้นทุกปี และยังต้องนำงบประมาณของประเทศอีกจำนวนมากมาดูแลแรงงานเหล่านี้นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยต้องรับภาระดูแลชาวต่างชาติเหล่านี้ ยังส่งผลให้อัตราประชากรเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนนำไปสู้ปัญหาชุมชนแออัดเพิ่มมากขึ้นในเขตเมืองหลวงและเขตอุตสาหกรรมตามพื้นที่ต่างๆ

ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีแนวทางในการแก้ไข คือ ควรมีการจัดให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวตลอดทั้งปีเพื่อหมุนเวียนแรงงานในตลาด ควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาควบคุมดูแล ทำหน้าที่เป็นคนกลางอย่างเหมาะสม รวมไปถึงการกำหนดกลไกคุ้มครองที่สามารถเข้าถึงได้จริง เช่น กำหนดโทษที่ชัดเจน เป็นต้น

ฉะนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ การกระตุ้นให้คนในสังคมเรียนรู้หลักสิทธิมนุษยชนและเคารพในศักดิ์ศรีของสตรี ตระหนักถึงความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทุกๆด้าน ยิ่งไปกว่านั้นรัฐควรมีนโยบายหรือมาตรการพิเศษที่จะช่วยเอื้อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิสตรีอย่างจริงจรัง เช่น การจัดตั้งหน่วยงาน หรือองค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิสตรีและป้องกันการละเมิดสตรีขึ้นมาโดยเฉพาะ เป็นต้น

http://www.oknation.net/blog/oh-shit/2009/02/16/entry-1

https://sites.google.com/site/30318hayatee/6-payha-siththi-mnusy-chn-ni-prathes-laea-naewthang-kaekhi-payha-laea-phathna

หมายเลขบันทึก: 568343เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท