กรณีศึกษานายสาธิต เซกัลป์


การเนรเทศคนต่างด้าวนั้นเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศ

ลักษณะของการเนรเทศคนต่างด้าวนั้นแม้กฎหมายระหว่างประเทศจะไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเนรเทศคนต่างด้าวเอาไว้ แต่โดยทั่วไปนั้นรัฐมีอำนาจที่จะเนรเทศคนต่างด้าวได้ แต่อย่างไรก็ตามการเนรเทศคนต่าวด้าวนั้นจะกระทำโดยอำเภอใจโดยที่ไม่มี “เหตุ” หรือข้ออ้างไม่ได้ ดังนั้น การเนรเทศคนต่างด้าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ต้องพิจารณาจากกระบวนการขั้นตอนของกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ และการเนรเทศนั้นสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศด้วยหรือไม่

สำหรับประเทศไทยนั้นหลัก Non Expulsion of National ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 31 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักรจะกระทำมิได้”  นอกจากนั้น มาตรา9 บัญญัติว่า “เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญชาติของผู้ที่จะถูกพิจารณาเนรเทศ ผู้ที่จะต้องถูกพิจารณานั้นจะต้องเป็นผู้นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติหรือเคยได้สัญชาติไทยโดยการเกิด”

 

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อที่ 13 บัญญัติว่า “คนต่างด้าวผู้อยู่ในดินแดนของรัฐภาคีแห่งกติกานี้โดยชอบด้วยกฎหมายอาจถูกไล่ออกจากรัฐนั้นได้โดยคำวินิจฉัยอันได้มาจากกฎหมายเท่านั้น และผู้นั้นย่อมได้รับอนุญาตให้ชี้แจงแสดงเหตุผลคัดค้านการขับไล่ออกจากรัฐนั้น และขอให้มีการทบทวนเรื่องของตนโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหรือบุคคล หรือคณะบุคคล ที่แต่งตั้งขึ้นเฉพาะการนี้โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจโดยได้รับอนุญาตให้มีผู้แทนเพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้นได้เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นอย่างอื่นด้านความมั่นคงแห่งชาติ” สาระสำคัญของข้อบทนี้คือการเนรเทศคนต่างด้าวสามารถกระทำได้เพราะเป็นอำนาจอธิปไตยของรัฐ แต่การเนรเทศนั้นต้องชอบด้วยกฎหมายภายใน ทั้งในแง่ของกระบวนการและเนือหาสาระของคำสั่ง

 

เคยมีคำพิพากษาศาลโลกในคดีนาย Ahmadou Sadio Diallo ว่านายกรัฐมนตรีของ Zaire ได้ออกคำสั่งเนรเทศนาย Diallo ออกจากประเทศ โดยให้เหตุว่า การอยู่ในประเทศของนาย Diallo เป็นอันตรายต่อความสงบเรียบร้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสียหายต่อเศรษฐกิจและการเงิน โดยศาลโลกตัดสินว่า กระบวนการเนรเทศนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายของ Congo เพราะ ก่อนออกคำสั่งเนรเทศมิได้ปรึกษาหารือจาก National Immigration Board ก่อน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายของ Congo และ คำสั่งเนรเทศมิได้ให้เหตุผลในการเนรเทศหรือไม่ได้อ้างเหตุในการเนรเทศ ศาลโลกเห็นว่าคำสั่งเนรเทศใช้ถ้อยคำกว้างๆ โดยคำสั่งเนรเทศ้องระบุการกระทำด้วยว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยอย่างไร

 

ในกรณีของคุณ สาธิต เซกัลก็เช่นกัน หากรัฐบาลไทยมีความต้องการที่จะเนรเทศคุณสาธิตออกจากประเทศ รัฐบาลไทยก็ต้องปฏิบัติตาม กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในข้อที่ 13 และรัฐธรรมนูญของไทยเองในมาตรา 9 และ มาตรา 31 โดยต้องมีการให้เหตุผลในการเนรเทศโดยอธิบายว่าทำไมการอยู่อาศัยในประเทศไทยของนายสาธิตนั้นกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศอย่างไร และห้ามใช้คำกว้างๆ แนะต้องให้นายสาธิตมีสิทธิคัดค้านคำสั่งเช่นนั้น ตลอดจนพิสูจน์ว่าตนเองเป็นคนสัญชาติไทยอีกด้วย

ที่มา เอกสารประกอบการสอนวิชา น.369

หมายเลขบันทึก: 568342เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท