การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


จากกรณีศึกษาน้องผักกาด น้องผักกาดเป็นเด็กแรกเกิดที่ถูกบิดามารดาของตนซึ่งเป็นพม่าทอดทิ้งหลังจากที่คลอดน้องผักกาดไว้ที่โรงพยาบาล ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หน้าที่การแจ้งการเกิดของทารกนั้นเป็นของบุพพการี แต่จากข้อเท็จจริงนี้บุพพการีของน้องผักกาดนั้นทอดทิ้งไป ปัญหาจึงมีว่าเมื่อไม่มีบุพพการีใครจะเป็นผู้แจ้งการเกิดให้แก่น้องผักกาด เพื่อที่น้องผักกาดจะได้มีสัญชาติไทย

ตาม พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 19 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดพบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กไร้เดียงสาซึ่งถูกทอดทิ้ง ให้นำตัวเด็กไปส่งและแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งปฏิบัติงานในท้องที่ที่พบเด็กนั้นโดยเร็ว เมื่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รับตัวเด็กไว้แล้วให้บันทึกการรับตัวเด็กไว้ ในกรณีที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจรับเด็กไว้ ให้นำตัวเด็กพร้อมบันทึกการรับตัวเด็กส่งให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในเขตท้องที่ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวได้รับตัวเด็กไว้หรือได้รับตัวเด็กจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจแล้ว ให้แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งและให้นายทะเบียนออก ใบรับแจ้ง ทั้งนี้ ตามระเบียบและแบบพิมพ์ที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด

บันทึกการรับตัวเด็กตามวรรคหนึ่งให้ทำเป็นสองฉบับและเก็บไว้ที่เจ้าหน้าที่ผู้รับตัวเด็กหนึ่งฉบับและส่งมอบให้กับนายทะเบียนผู้รับแจ้งหนึ่งฉบับ โดยให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการบุคคลของผู้ที่พบเด็ก พฤติการณ์ สถานที่และวันเวลาที่พบเด็ก สภาพทางกายภาพโดยทั่วไปของเด็ก เอกสารที่ติดตัวมากับเด็ก และประวัติของเด็กเท่าที่ทราบ และในกรณีที่ไม่อาจทราบสัญชาติของเด็กให้บันทึกข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ด้วย” 

ดังนี้ผู้ที่พบเห็นน้องผักกาดจึงเป็นผู้มีหน้าที่แจ้งต่อเจ้าหนักงานฝ่ายปกครองเพื่อดำเนินการต่อไป

และดำเนินการมาตรา ๓๘ ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นจัดทำทะเบียนบ้านสำหรับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และบุตรของบุคคลดังกล่าวที่เกิดในราชอาณาจักร ในกรณีผู้มีรายการในทะเบียนบ้านพ้นจากการได้รับอนุญาตหรือผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักร ให้นายทะเบียนจำหน่ายรายการทะเบียนของผู้นั้นโดยเร็ว(1) โดยนายทะเบียนก็จัดทำทะเบียนบ้านสำหรับคนไม่มีสัญชาติให้ได้รับอนุญาตอยูอาศัยในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

 

แม้น้องผักกาดจะเป็นคนไร้สัญชาติ แต่ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 3 บุคคลมีสิทธิในการดำเนินชีวิต ในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย

และข้อ 6 ทุกๆคนมีสิทธิที่จะได้รับ การยอมรับว่าเป็นบุคคลในกฎหมาย ไม่ว่า ณ ที่ใดๆ(2)

น้องผักกาดก็จะเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบุคคลและมีสิทธิในการดำเนินชีวิต อย่างมีเสรี และมั่นคง จากข้อเท็จจริงที่บิดามราดาของน้องผักกาดเป็นชาวพม่า ในอนาคต น้องผักกาดอาจจะยื่นคำร้องต่อรัฐบาลพม่าเพื่อขอรับสัญชาติพม่าก็ได้.

ที่มา

(1)  http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=...

(2) http://www.baanjomyut.com/library/human/page1.html

หมายเลขบันทึก: 568335เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท