กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


         สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

          ในกฎหมายระหว่างประเทศ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยการรับรองของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สำหรับเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมรับรองปฏิญญาฉบับนี้ในปี 2491 จึงทำให้มีการรับรองสิทธิมนุษยชนไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย

          ส่วนในกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนนั้น ที่สำคัญที่สุดคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่น มาตรา4“ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง ” มาตรา28“บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และ เสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน“แสดงให้เห็นว่า และได้กำหนดถึงสิทธิอื่นๆ อีกด้วย เช่น สิทธิการแสดงความเห็น การนับถือศาสนา เป็นต้น ซึ่งจากการที่กฎหมายสูงสุดของประเทศได้บัญญัติถึง สิทธิ เสรีภาพ ที่มนุษย์ทุกคนมีเท่าเทียมกันนั้นในความเป็นจริง ในสังคมไทยยังมีปัญหาอย่างการค้าแรงงาน ทั้งแรงงานเด็ก และ แรงงานต่างด้าว อยู่เสมอ

          ในประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติเกี่ยวกับโทษที่จะลงกับผู้กระทำความผิดไว้ 5 ประการ โดย ม.18 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ได้บัญญัติว่า โทษสำหรับลงแก่ ผู้กระทำความผิด มีดังนี้

(๑) ประหารชีวิต
(๒) จำคุก
(๓) กักขัง
(๔) ปรับ
(๕) ริบทรัพย์สิน โทษประหารชีวิต และ โทษจำคุกตลอดชีวิต มิให้นำมาใช้ แก่ ผู้ซึ่ง กระทำความผิด ในขณะที่มีอายุ ต่ำกว่า สิบแปดปี
ในกรณี ผู้ซึ่ง กระทำความผิด ในขณะที่มีอายุ ต่ำกว่า สิบแปดปี ได้กระทำความผิด ที่มีระวางโทษ ประหารชีวิต หรือ จำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่า ระวางโทษดังกล่าว ได้เปลี่ยนเป็น ระวางโทษ จำคุก ห้าสิบปี

ซึ่งปัญหาในเรื่องของการประหารชีวิตนั้น ประเทศไทยและอีกหลายๆประเทศยังเป็นปัญหาถกเถีบงกันอยู่ว่าการประหารชีวิตนั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ โทษประหารชีวิตนั้นก็มีทั้งข้อดี และ ข้อเสีย ดังนี้

-ข้อดี คือ เป็นวิธีเดียวที่สามารถกำจัดอาชญากรที่เป็ยภัยออกจากสังคมได้โดยเด็ดขาด ทำให้คนเกรงกลัวจนไม่กล้าที่จะกระทำความผิด

-ข้อเสีย คือ อาจเกิดกรณีแพะรับบาป ที่ทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องรับโทษ

          การลงโทษด้วยการประหารชีวิตนั้น แม้ทั่วโลกจะมองว่าเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน เพราะไม่มีใครที่มีอำนาจพอที่จะตัดสินประหารชีวิตผู้อื่น แต่ข้าพเจ้าคิดว่าขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และความผิดที่ผู้นั้นได้กระทำลงไป หากเป็นความผิดที่ร้ายแรง และส่งผลกระทบในวงกว้าง หากปล่อยไว้คนเหล่านั้นก็อาจจะกลับมากระทำผิดซ้ำอีก วิธีประหารชีวิตจึงเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถกำจัดอาชญากร ไม่ให้กลับมากระทำผิดได้อีก

ที่มา

http://kittayaporn28.wordpress.com/

http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowl...

http://www.dailynews.co.th

http://elib.coj.go.th/Ebook/data/judge_report/jrp2...

หมายเลขบันทึก: 568331เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท