กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


          เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยการรับรองของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สำหรับเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติทางใดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ สถานะทางสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม และได้กลายเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ในการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในเวลาต่อมา ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมรับรองปฏิญญาฉบับนี้ในปี 2491 ท่ามกลางบรรยากาศหลังสงครามโลกครั้งที่สองที่เรียกร้องถึงสันติภาพ การเคารพสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของมนุษย์ เพื่อป้องกันมิให้เกิดโศกนาฏกรรมที่ทำลายล้างชีวิตของมนุษยชาตินับล้านคนขึ้นอีกในอนาคต โดยวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติรับรองปญิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนั้นจึงถือเป็นวันสิทธิมนุษยชนโลก

        60 ปี ภายหลังการรับรองปฏิญญาสากลฯ มีกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนได้รับการพัฒนาตามมาหลายฉบับ ซึ่งล้วนแต่แตกลูกออกมาจากข้อบทต่างๆ ในปฎิญาสากลฯ ทั้งสิ้น กฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญในปัจจุบัน ประกอบด้วยอนุสัญญาฯ หลัก 9 ฉบับ ได้แก่

(1) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

(International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR)

(2) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

(International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights-ICESCR)

(3) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบต่อสตรี

(Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women-CEDAW)

(4) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child-CRC)

(5) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ

(Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD)

(6) อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี

(Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment- CAT)

(7) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)

(8) อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ

(Convention on the Protection of All Persons from Enforced Disappearance - CED)

(9) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว

(Convention on the Protection of the Rights of Migrants Workers and Member of their Families ? MWC)

          ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญๆ 7 ฉบับ จากทั้งหมด 9 ฉบับ สำหรับอนุสัญญาหลักอีก 2 ฉบับที่ไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีคือ อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว

อนุสัญญาที่ไทยได้เข้าร่วมมีดังนี้

1. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women-CEDAW) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2528

2. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child-CRC) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 ประกอบด้วยบทบัญญัติ 54 ข้อ ได้แก่เรื่องเกี่ยวข้องกับสิทธิของเด็กโดยตรง

3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2539

4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights-ICESCR) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542

5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546

6. อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment-CAT) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550

7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551

การเป็นรัฐภาคีมีนัยว่ารัฐบาลประเทศนั้นตระหนักว่ามีการเลือกปฏิบัติต่อ คนพิการมิได้ จะต้องเคารพ คุ้มครองและสิทธิที่พึงมีแก่คนพิการเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป  

         นอกจากนี้ ไทยได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนหลัก 3 ฉบับ ดังนี้

1. พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Optional Protocol to the Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women) ซึ่งมีสาระสำคัญในการยอมรับอำนาจของคณะกรรมการประจำอนุสัญญาฯ ในการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนในกรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีภายใต้ อนุสัญญาฯ โดยผู้ร้องเรียนอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคลในนามผู้ถูกละเมิดสิทธิก็ได้ ทั้งนี้ ไทยได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543

2. พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กว่าด้วยการขายเด็กโสเภณีเด็กและสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the Sale of Children, Child Prostitution and Child Pornography) โดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2549

3. พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กว่าด้วยสภาวะความขัดแย้งที่มี การใช้อาวุธ (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the Involvement of Children in Armed Conflict) โดยการภาคยานุวัติเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2549

ที่มา

http://www.mfa.go.th/humanrights

http://www.l3nr.org/posts/467177

หมายเลขบันทึก: 568334เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท