สิทธิในเสรีภาพของคนต่างด้าว


คนต่างด้าว หมายถึง ผู้ซึ่งมิได้มีสัญชาติไทยตามกฎหมายไทยว่าด้วยสัญชาติ โดยการจำแนกคนต่างด้าวในประเทศไทยนั้นอาจใช้หลักเกณฑ์ในการแบ่งได้หลาย ประการ อาทิการแบ่งโดยเกณฑ์ในการเข้าประเทศโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือแบ่งโดยเกณฑ์สิทธิอาศัยอยู่

ซึ่งคนต่างด้าวนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น ๕ ลักษณะดังนี้ [1]

๑.คนต่างด้าวที่เดินทางเข้าประเทศไทยและอยู่ชั่วคราว

๒.คนต่างด้าวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทย

๓.คนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย

๔.นักเรียนนักศึกษาที่ไม่มีสัญชาติไทย

๕.คนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมือง

การเนรเทศ หมายความว่า การเคลื่อนย้ายคนต่างด้าวให้ออกจากประเทศ โดยอาศัยมาตรการหรือคำสั่งจากฝ่ายปกครองด้วยเหตุผลเพราะว่าการพำนักอาศัยของ คนต่างด้าวจะขัดต่อสันติภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิการสาธารณะของรัฐ ซึ่งการจะเนรเทศคนต่างด้าวได้ต้องอาศัยกฎหมายเนรเทศ มิใช่กฎหมายคนเข้าเมือง นานาประเทศจะมีกฎหมายสองฉบับนี้เพื่อใช้ควบคุมการเข้าเมืองของคนต่างด้าว การบังคับให้คนต่างด้าวออกนอกราชอาณาจักรได้สิ้นสุดลงเพราะคนต่างด้าวผู้ นั้นได้มีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความมั่นคงหรือความสงบเรียบร้อยของรัฐ แต่ การให้คนต่างด้าวออกนอกราชอาณาจักรโดยอาศัยกฎหมายคนเข้าเมืองนั้นเกิดจาก กรณีที่คนต่างด้าวผู้นั้นเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายคือเป็นผู้ลักลอบหลบหนีเข้า เมืองซึ่งทำให้คนต่างด้าวผู้นั้นไม่มีสิทธิอยู่อาศัยในราชอาณาจักรมาตั้งแต่ ต้น

เมื่อพูดถึงคนต่างด้าวนั้น ย่อมต้องนึกถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนรวมทั้งสิทธิในด้านอื่นๆของคนต่างด้าว เช่นสิทธิในทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงออก และอื่นๆอีกมากมาย นั้นว่า คนต่างด้าวนั้นจะมีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับคนที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ หรือคนต่างด้าวนั้นสามารถใช้สิทธินั้นได้มากน้อยเพียงใด

กรณีตัวอย่าง "ศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) มีคำสั่งเนรเทศ สาธิต เซกัล ประธานหอการค้าไทย-อินเดีย และประธานกลุ่มนักธุรกิจสีลมออกจากประเทศไทยหลัง จากที่ สาธิต เซกัล มีชื่อเป็นแกนนำ กปปส. และขึ้นเวทีคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็น ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เพื่อขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" [2]

กล่าวคือนายสาธิต เซกัล ที่โดนคำสั่งเนรเทศออกจากประเทศไทย เพราะ มีชื่อเป็นแกนนำกปปส.และได้เข้าร่วมขึ้นปราศรัย แสดงความคิดเห็นบนเวทีของกลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาล คำสั่งดังกล่าวนี้เป็นคำสั่งที่สามารถทำได้หรือไม่ และเป็นการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน คือ สิทธิในเสรีภาพของนายสาธิตหรือไม่

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499 [3]

มาตรา ๕ เมื่อปรากฏว่ามีความจําเป็น เพื่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ให้รัฐมนตรีมีอํานาจออกคําสั่งให้เนรเทศคนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักรมี กําหนดเวลาตามที่จะเห็นสมควร อนึ่งเมื่อพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป รัฐมนตรีจะเพิกถอนคําสั่งเนรเทศเสียก็ได้

ความในวรรคแรกมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่เคยได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน[4]

ข้อ 19 บัญญัติว่า "ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก ทั้งนี้สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพที่จะถือเอาความเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง และที่จะแสวงหา รับและส่งข้อมูลข่าวสารและข้อคิดผ่านสื่อใดและโดยไม่คํานึงถึงพรมแดน"

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง[5]

ข้อ 19 บัญญัติว่า “บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง”

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย[6]

มาตรา 45 บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน"

เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริง นายสาธิตนั้นเกิดที่ประเทศอินเดีย และเป็นชาวไทยเชื้อสายอินเดีย และถือสัญชาติอินเดียเช่นนี้ เมื่อพิจารณาตาม พระราชบัญญัติการเนรเทศ มาตรา 5 บุคคลที่สามารถเนรเทศได้ต้องเป็นบุคคลต่างด้าว เมื่อนายสาธิตไม่ได้เป็นคนสัญชาติไทย จึงเป็นต่างด้าวจึงถือเป็นบุคคลที่สามารถเนรเทศได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามการเนรเทศต้องพิจารณาจากหลายๆองค์ประกอบรวมกัน

ประเด็นต่อมานายสาธิตได้ขึ้นเป็นแกนนำในการชุมนุมบนเวทีกปปส เพื่อแสดงความคิดเห็นในการทำงานของรัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ซึ่งถือเป็นการแสดงความคิดเห็นซึ่งสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อพิจารณาตามปฎิญญาสากล ข้อ 19 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองข้อ 19 นั้นย่อมเห็นได้ว่ามนุษย์ทุกคนย่อมมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่จำเป็น ต้องมีสัญชาติ กล่าวคือนายสาธิตซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เพราะเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งที่มีกฎหมายรับรองไว้ และการแสดงความคิดเห็นของนายสาธิตมิได้ส่งผลเสียต่อความมั่นคงของรัฐ หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด หรือการกระทำในลักษณะที่รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยจำกัดสิทธิไว้ ตามมาตรา 45 รัฐไทยจึงไม่สามารถนำข้ออ้างงดังกล่าวมาเนรเทศนายสาธิตได้ต ามพระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499

จากที่กล่ามาข้างต้น สรุปได้ว่ารัฐไทยไม่สามารถเนรเทศนายสาธิต ตาพระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ.2499 ได้

อย่างไรก็ตามนายสาธิตนั้นได้ ถูกเพิกถอนการอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นการพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยพรก. ฉุกเฉินบัญญัติให้ใช้กฎหมายคนเข้าเมืองโดยอนุโลมโดยในชั้นการพิจารณาของคณะ กรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายว่า ด้วยคนเข้าเมือง หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า นายสาธิต กระทำผิดกฎหมายจริง โดยคณะกรรมการมีมติเห็นควรเพิกถอนการอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ของนายสาธิต ตามมาตรา 53, 54 ประกอบกับมาตรา 12 (7) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522"ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นการ “ส่งคนต่างด้าวออกนอกราชอาณาจักรไทย” โดยผลของการเพิกถอนการอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรซึ่งโดยหลักแล้ว การเนรเทศบุคคลออกจากประเทศ ต้องใช้กฎหมายในเรื่องนั้นโยตรงมิใช่ใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งอย่างใน กรณีนี้ ตามความคิดเห็นของข้าพเจ้านั้น เมื่อนาสาธิตมิได้เป็นบุคคลที่ถูกเนรเทศได้ตาม พระราชบัญญัติการเนรเทศ การที่รัฐไทยใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งไปขับไล่ให้นายสาธิตออกจาก ประเทศ ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธมนุษยชนของนาสาธิต

ดังนั้นบุคคลทุกคนนั้นแม้จะเป็นบุคคลต่าด้าวแต่ก็ต่างได้รับสิทธิเช่นเดียว กับคนที่มีสัญชาติในรัฐนั้น จะเห็นได้จากตัวอย่างนายสาธิตซึ่งป็นคนต่างด้าวนั้นต่างก็ได้รับสิทธิและ เสรีภาพเช่นเดียวกับคนที่ถือสัญชาติไทย เช่นนี้นายสาธิตจึงมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดรัฐไทยไม่สามารถเนรเทศนาย สาธิตออกจากประเทศเพราะเหตุดังกล่าวได้

แหล่งที่มาของข้อมูล

[1]ประเภทคนต่างด้าว (ออนไลน์) http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=75&d_id=75

[2]กรณีตัวอย่างนายสาธิต เซกัล (ออนไลน์) http://news.mthai.com/headline-news/316978.html

[3] พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499(ออนไลน์) http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=...

[4]ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ออนไลน์) http://www.baanjomyut.com/library/human/page1.html

[5]กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ออนไลน์) http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/ic...

[6] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ออนไลน์) http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=...

หมายเลขบันทึก: 568321เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 17:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท