ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


          หนึ่งในปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนนั้น ก็คือ ปัญหาของผู้ลี้ภัย ซึ่งเกิดจากการที่มนุษย์ถูกคุกคามสิทธิ เสรีภาพ ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ปัญหานี้จึงควรได้รับการแก้ไข

นิยามของคำว่า "ผู้ลี้ภัย"

ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหาร หรือได้รับการคุกคามต่อชีวิต

อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 ให้คำนิยาม และความหมายของสถานภาพผู้ลี้ภัยว่า ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง

ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างรวมไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ บ้านเรือน และแม้แต่ครอบครัว ผู้ลี้ภัย แตกต่างจากแรงงานต่างด้าวเพราะแรงงานต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศของตนโดยสมัครใจเพื่อหาโอกาสทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ ผู้ลี้ภัยไม่อาจพึ่งพาความคุ้มครองจากรัฐบาลของตนเอง พวกเขาถูกบังคับให้หนีจากประเทศของตนเอง จึงจำเป็นที่ประชาคมนานาชาติต้องให้ความช่วยเหลือ และให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยเหล่านั้น

นิยามของคไว่า "ผู้หนีภัยความตาย"

ผู้หนีภัยความตาย หมายถึง ผู้หนีภัยที่เกิดกับชีวิต ทั้งภัยโดยตรง และโดยอ้อม 

          -ภัยโดยตรง เช่น ภัยจากการสู้รบ

          -ภัยโดยอ้อม แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ 

                   1.ภัยความตายทางกายภาพ ซึ่งเกิดจากการคาดการณ์ได้ว่า ถ้าไม่หนีออกมาจากพื้นที่นั้นจะต้องตาย เช่น เมื่อรู้ข่าวว่ามีกองทหารกำลังจะเข้ามาที่หมู่บ้านและมีข้อมูลว่า หากทหารเข้ามาในหมู่บ้านแล้วจะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจนถึงขั้นเสียชีวิต ได้ จึง หนีออกมาก่อนที่ทหารจะมาถึง หรือ กรณีการหนีจากการบังคับเกณฑ์แรงงาน ซึ่งอันที่จริง การเกณฑ์แรงงานไม่ได้เป็นภัยความตายโดยตรง คือ ถ้าถูกยอมให้เกณฑ์แรงงานไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะไม่ถูกฆ่าตาย แต่ถ้าหากปฏิเสธไม่ยอมทำงาน ก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ หรือ หากถูกบังคับให้ทำงานแล้วหลบหนีออกมาก็มีข้อมูลว่าคนเหล่านี้จะถูกฆ่าตายได้ เช่นเดียวกับกรณีการถูกบังคับเก็บภาษี หรือการข่มขืน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้ นี่เป็นตัวอย่างของภัยความตายทางกายภาพที่เห็นได้ชัด 

                  2.ภัยความตายทางจิตใจ เช่น การข่มขืน เป็นต้น

สถานการณ์ผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

- ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิศาสตร์ที่มีประเทศเพื่อนบ้านล้อมรอบตลอดแนวชายแดนและเป็นจุดหมายของการโยกย้ายถิ่นฐานหลายรูปแบบ

- การย้ายถิ่นข้ามชาติรูปแบบหนึ่งที่ประเทศไทยต้องเผชิญมาโดยตลอด คือ การย้ายถิ่นแบบถูกบังคับ (non-refoulement)

- การรับรองสถานะผู้ลี้ภัย ต้องมีการประกาศให้ทราบว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ลี้ภัย อย่างไรก็ตาม บุคคลคนหนึ่งเป็นผู้ลี้ภัยได้ไม่ใช่เพราะการรับรอง แต่บุคคลนั้นได้รับการรับรอง เนื่องจากเขา/เธอเป็นผู้ลี้ภัย

          สาเหตุการอพยพ

          -กรณีผู้ลี้ภัยจากคองโก

สงครามและความรุนแรงอย่างต่อเนื่องที่กระทำโดยกลุ่มกองกำลังติดอาวุธกว่าสองทศวรรษทำให้มีผู้ลี้ภัยหลายหมื่นคนอพยพจากประเทศคองโก จำนวนหนึ่งลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทย

          -รณีผู้ลี้ภัยจากเกาหลีเหนือ

ผู้ลี้ภัยชาวเกาหลีเหนือหนีออกนอกประเทศของตนเนื่องจากความหิวโหย และการปกครองที่กดขี่ของรัฐบาลสังคมนิยมเข้ามาประเทศไทยโดยใช้เส้นทางบกผ่านจีนและลาว

          -กรณีผู้ลี้ภัยจากพม่า

การสู้รบระหว่างทั้งสองฝ่ายทำให้ชนเผ่าต่างๆ กะเหรี่ยง กะเรนนี ไทใหญ่หรือฉาน และอื่นๆต้องหลบหนีสงครามจากการประหัตประหารและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันโหดร้ายทารุณในชนเผ่าของประเทศพม่ามายังประเทศไทยเพื่อหนีตายและรักษาชีวิตของตนเอง

ผู้ลี้ภัย ก็เป็นมนุษย์ซึ่งมีสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันกับบุคคลคนอื่นๆซึ่งได้รับการคุ้มครองโดยรัฐในฐานะที่เป็นพลเมือง เพราะอย่างน้อยที่สุดมนุษย์ย่อมต้องได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิทธิที่ไม่สามารถพรากไปจากมนุษย์ได้

ที่มา

https://www.unhcr.or.th/th/refugee/about_refugee

http://salweennews.org/home/?p=986

http://www.l3nr.org/posts/367715

ธัญกาญจน์ ผดุงชีวิต

5301611215

หมายเลขบันทึก: 568317เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 17:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท