เศรษฐกิจพอเพียงแบบคุณแม่ที่ผมได้เรียนรู้


สำหรับปุ๋ยก็ใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ทำจากเศษผัก น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมีก็ใช้บ้างแต่น้อยมาก ที่ต้องซื้อมากก็คือเมล็ดพันธ์ของผักต่างๆ หลายอย่างทำเองไม่ได้เก็บเมล็ดพันธ์รุ่นที่ 2 แล้วผลผลิตไม่ดี อาจจะเป็นเพราะเมล็ดพันธ์พื้นเมืองกำลังหายไป ความหลากหลายของสายพันธ์ดั้งเดิมลดลง เรื่องนี้มีอนาคตน่าเป็นห่วงมาก ๆ

                     วันเสาร์ - อาทิตย์ ถ้าว่างจากการอยู่เวรที่สถานีอนามัยผมกับครอบครัวมักจะกลับไปเยี่ยมบ้านที่ในเมืองพัทลุงเวลาส่วนใหญ่จะไปขลุกอยู่ที่สวนที่นา เพราะตอนเด็กเมื่อประมาณสามสิบปีที่ผ่านมา คุณพ่อคุณแม่ ผมและน้องได้ช่วยกันขุดดินแปลงที่นา 4  ไร่ ยกร่องด้วยเสียม เป็นแปลงผัก รอบๆ ก็ปลูกมะพร้าว ไม้ยืนต้นจำพวกมะม่วงเบา(ไม่แน่ใจว่าจะเป็นมะม่วงสามฤดูของภาคกลางหรือเปล่า)  ทำมาจนผมและน้องๆเรียนจบ เรียกได้ว่านอกจากทำนาแล้วก็มีรายได้มากพอการที่เอามาจุนเจือครอบครัว ปัจจุบันพ่อกับแม่ก็ยังทำนาปลูกผักอยู่แต่ก็อาจเปลี่ยนวิธีปลูกวิธีดูแล วิธีผลิตที่ปลอดภัยขึ้น

                      พื้นที่แบ่งเป็นแปลงผักกินใบจำพวกคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาว มีแปลงปลูกบัวบก ถั่วผักยาว  แตงกวา  ผักหวาน มีนาผักบุ้ง   มีบ่อปลาขนาดย่อมๆ บนคันบ่อปลาก็ปลูกส้มแป้นหัวจุก มังคุด เงาะ มะพร้าว  มะม่วง ส้มโชกุน  มะนาว รอบๆต้นไม้เกือบทุกต้นจะมีพริกขี้หนูสวน มะเขือเปาะ มะเขือยาว   โดยเฉพาะพริกขี้หนูสวนนั้น ผมเห็นการเติบโตที่เลื้อยขึ้นไปแทรกตามกิ่งส้มที่สูงเกือบ 2 เมตร ดอกพริกก็เต็มไปหมดเก็บมาเกือบ  2 ปีแล้วต้นยังไม่โทรมเลย โคนต้นก็โตแข็งแรง   ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี ไม่ต้องมีระบบให้น้ำแบบสปริงเกอร์ ไม่ต้องปูพลาสติก     ยังมีเล้าเลี้ยงเป็ดไข่อีก  12 ตัว สำหรับเป็ดก็กินเศษอาหารจากบ้าน  ข้าวเปลือกจากนา เศษผัก และก็หอยขม หอยข้าว หอยเชอรี่ ปูนา ก็หาเอาแถวๆนั้น เป็ดกินอาหารสมบูรณ์ ได้ไข่วันละ 11-12 ฟองทุกวัน  สำหรับบ่อปลาก็เป็นลักษณะบ่อล่อ ปลาธรรมชาติจำพวกปลาดุก ปลาช่อน ปลาแก้มช้ำ ปลาขี้ขม ปลาหมอ ฯ เข้ามาเองจากลำเหมืองที่อยู่ติดกับสวน เข้ามาได้ออกกลับไปไม่ได้ ให้กินเศษผักเศษอาหาร และอยู่กันตามธรรมชาติ จับกินกันพอมื้อ ด้วยเบ็ด บ้างแหบ้าง หรือลอบดักปลา 

                    สำหรับปุ๋ยก็ใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ทำจากเศษผัก น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมีก็ใช้บ้างแต่น้อยมาก ที่ต้องซื้อมากก็คือเมล็ดพันธ์ของผักต่างๆ หลายอย่างทำเองไม่ได้เก็บเมล็ดพันธ์รุ่นที่ 2 แล้วผลผลิตไม่ดี อาจจะเป็นสิ่งที่กำหนดจากการปรับปรุงพันธ์ของบริษัทผลิตเมล็ดพันธ์ก็เป็นได้  และเมล็ดพันธ์พื้นเมืองกำลังหายไป ความหลากหลายของสายพันธ์ดั้งเดิมลดลง เรื่องนี้มีอนาคตน่าเป็นห่วงมาก ๆ

                     การเก็บขายก็ขายตั้งโต๊ะที่สวนเลยเพราะติดถนน ออกมาจาตัวเมืองพัทลุงมาประมาณ 2 กิโลเมตร นอกจากคนในละแวกบ้านญาติพี่น้องแล้วก็มีข้าราชการที่เดินทางกลับมาจากทำงานซื้อกลับบ้าน ขายได้ วันละ ประมาณ 400-500 บาท เกือบทุกวัน ต่อหนึ่งเดือนก็ได้เงินเยอะเหมือนกัน

                    เวลาผมกลับมาบ้านที่ตะโหมด ผมขนมาทุกอย่าง ไข่เป็ดเอย  ผักบุ้ง แตงกวา ปลา ฯลฯ ยกเว้นเงิน (แม่ไม่ให้....ฮา) เรียกได้ว่าเป็นชีวิตประจำวันของคุณพ่อคุณแม่ที่น่าอิจฉา แม่แซวผมว่า ได้มากกว่าเงินเดือนผมเสียอีก ที่สำคัญคือ ท่านได้ออกกำลังกาย ได้ผัก ได้ปลา ได้ไข่ที่ปลอดสารพิษ ไม่ต้องซื้อ ได้เงินเก็บ ไม่ต้องไปเร่ขาย ให้เหนื่อย และแม่ได้ความสุขมากๆ    ผมคิดว่าเป็นความพอเพียงที่ครอบครัวชาวนาของผมได้เดินเส้นทางนี้มาร่วม 30 ปี เพื่อเล่าเพื่อถ่ายทอด เพื่อแลกเปลียนเรียนรู้กันกับหลายๆพื้นที่ในบ้านเมืองเรา

หมายเลขบันทึก: 56827เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2006 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ผมมีเพื่อนคนตะโหมด  คนหนึ่ง  นามสกุล  "ชนะสิทธิ์"   ไม่รู้คุณหรอย  คุ้นๆ มั่งหม่าย?

เคยเลี้ยงกุ้งมาด้วยกัน 1 ปี  และก้อลาออกมาเรียนต่อที่เดียวกันอีก 2 ปี    แต่ไม่ได้เจอกันนานแล้ว

ขอบคุณครับ  คุณThawat

             นามสกุลชนะสิทธิ์ ถ้าอยู่ ในตะโหมดผมรู้จักเกือบทุกคนครับ  เพราะเป็นนามสกุลดั้งเดิมของตะโหมด ขออนุญาตคุณถามชื่อเพื่อนคุณThawat ครับ จะได้ถามไถ่ให้ครับ

เจริญสิงห์  ชนะสิทธิ์  ครับ

ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก

เรียน  คุณพี่ไชยยงค์

          ครับผมเห็นด้วย อนาคต....ผมจะลาออกมาทำนา มีอะไรให้พี่ไชยยงค์ ชี้แนะด้วย  ครับ

    เรียนคุณ  Thawat

  ผมเจอคุณเจริญสิงห์  ชนะสิทธิ์  วันนี้เองครับ สนิทกัน  ได้ถามไถ่ แลกเปลี่ยนกันคุยถึงคุณThawat   ผู้ใหญ่สิงห์ ได้ฝากเบอร์โทร เบอร์นี้นะครับ 09-4630297 

คุณอนุกูล เป็นศิษย์เก่าวัดเจ็นตกรุ่นไหนละ....ขอคุุณสำหรับความรู้ที่เผยแพร่ผ่าน gotoKnow

ปัจจุบันผมเป็นครูอยูู่ร้อยเอ็ด......

อยากไปเที่ยวสวนบ้านแม่พี่จังเลย

 

  • แวะมาชื่นชมค่ะ
  • สมัยก่อน พ่อแม่มีเวลาเลี้ยงลูกและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกในการ อยู่อย่างพอเพียงและเลี้ยงตนเองได้
  • แต่พ่อแม่รุ่นใหม่ที่อยู่ในสังคมเมือง ยากที่จะปลูกฝังแนวคิดดีๆแบบนี้ได้นะคะ
เรียน....คุณจรัญ จิตวงศ์ ผมเป็นเด็กวัดเจ็นตก รุ่นเดียวกับ สาโรจน์ จิตวงศ์ ยินดีครับที่ได้ ลปรร.กัน

เรียน.....คุณต้นน้ำ

         ยินดีครับ  แต่คุ้นๆว่าคุณเคยไปมาแล้ว

                                           

เรียน     คุณนารี

ขอบคุณครับที่แวะมาชื่นชม

ความพอเพียงที่อยู่อย่างเพียงพอ คือรากฐานของชีวิตและของชาติครับ

เรียน คุณนุกูล สาโรจน์ เป็นน้องชายผมเอง แต่ว่าเขาเสียชีวิตแล้ว

ตั้งแต่ ปี 30 ขอบคุณที่เผยแพร่ข้อมูล ตอนนี้ที่อีสานอากาศหนาวแล้ว

ลมแรง อากาศ แห้ง ไม่ค่อยสบายเหมือนพัท...ลุงบ้าเรา

ปันปรือมั่ง...ทางนี้ฝนตกหนักมั้ย...

สวัสดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท