มนุษยชนที่ข้ามชาติ


    มนุษย์ที่ข้ามชาติหมายถึง บุคคลที่มีการกระทำในลักษณะที่ข้ามชาติ คือมีถิ่นที่อยู่หรือเคยอยู่อาศัยในประเทศประเทศหนึ่งอยู่แล้ว แต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่งไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม บุคคลเหล่านี้ได้แก่ นักท่องเที่ยว แรงงานข้ามชาติ นักลงทุนข้ามชาติ นักศึกษา เป็นต้น

      ประเทศไทยจะได้เข้าร่วมอนุสัญญาปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๐ แต่ก็ยังเกิดกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลในรัฐ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงกรณีเรื่องของเด็กข้ามชาติ

        จากกรณีศึกษาน้องดนัย ยื่อบ๊อ เกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2542 ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายอาบู กับนางหมี่ยื่ม ยื่อบ๊อ ซึ่งทั้งสองเป็นชาวอาข่าที่อพยพมาจากฝั่งเมียนมาร์ โดยบิดานายอาบูได้รับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยขึ้นต้นด้วยเลข 6 ซึ่งเป็นบัตรบุคคลบนพื้นที่สูง มารดาหมี่ยื่มมีบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข 5 และนางหมี่ยื่มได้รับสัญชาติไทยเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 ภายหลังน้องดนัยเกิด ทำให้สูติบัตรของน้องดนัยระบุว่าไม่ได้สัญชาติไทย

      กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเด็กที่ข้ามชาติโดยผิดกฎหมายประกอบไปด้วยกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในประเทศได้แก่

       พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘

มาตรา ๗  บุคคลดังต?อไปนี้ย?อมได?สัญชาติไทยโดยการเกิด

(๑) ผู?เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป?นผู?มีสัญชาติไทย ไม?ว?าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(๒) ผู?เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว?นบุคคลตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคหนึ่ง

มาตรา ๗ ทวิ

ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเปินคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู?นั้นเป?น

(๑) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเปนกรณีพิเศษเฉพาะราย

(๒) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ

(๓) ผู?ที่เข?ามาอยู?ในราชอาณาจักรไทยโดยไม?ได?รับอนุญาตตามกฎหมายว?าด?วยคนเข?าเมือง

จากข้อเท็จจริง น้องดนัยย่อมมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติไทย เนื่องจากน้องดนัยเกิดที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ตามพระราชบัญญัติสัญชาติมาตรา 7(2) ไม่ได้เป็นกรณีตามมาตรา 7(1) เนื่องจากขณะที่น้องดนัยเกิด นางหมี่ยื่อยังมิได้รับสัญชาติไทยแต่อย่างใดแม้ภายหลังจะได้รับสัญชาติไทยก็ตาม

แต่จากข้อเท็จจริงพบว่ารัฐได้ปฏิเสธการขึ้นทะเบียนสัญชาติให้แกน้องดนัย ส่งผลให้น้องดนัยกลายเป็นบุคคลที่ไม่มีสัญชาติ กลายเป็นเด็กข้ามชาติ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 15(1) มีหลักว่า ทุกคนมีสิทธิในสัญชาติหนึ่งและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อที่ 7 เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ

การปฏิเสธสิทธิที่เด็กข้ามชาติเหล่านี้มีอยู่ รัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาที่เป็นสาเหตุเหล่านี้ด้วย เพื่อให้แนวทางการปฏิบัติตามข้อเท็จจริงได้เป็นไปตามข้อกฎหมายภายในประเทศและระหว่างประเทศที่รัฐไทยเป็นภาคี ซึ่งนอกจากนี้แล้วยังเป็นการส่งเสริมความก้าวหน้าทางด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอีกด้วย

อ้างอิง

Universal Declaration of Human Rights. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/bo...15 พค 2557.

นิลวรรณ์ / ปาจรีย์ (5 มิ.ย. 46) พระราชบัญญัติว่าด้วยสัญชาติ พ.ศ. 2508 ค้นเมื่อ 15 พค 2557 แหล่งที่มา : http://www.thaigeneralkonsulat.de/th/consular/nationality1.pdf

หมายเลขบันทึก: 568250เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท