กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

การที่แนวคิดต่างๆในเรื่องของสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม เพื่อที่จะให้แนวคดเหล่านี้สามารถใช้บังคับได้อย่างเป็นรูปธรรมแล้วนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการบัญญัติแนวคิดเหล่านี้ ให้อยู่ในรูปแบบของกฎหมายซึ่งมีผลบังคับใช้ และเนื่องจากว่าหลักการต่างๆในเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้นมักปรากฏในรูปแบบของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนนั้นการที่กฎหมายระหว่างประเทศจะเข้ามามีผลบังคับใช้ระหว่างรัฐได้นั้น หัวใจสำคัญต้องเกิดจากความยิมยอมของรัฐทั้งสิ้น

ในเรื่องของกฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนั้น ประเทศไทยก็ได้มีการยอมรับและกระทำการให้เป็นไปตามอนุสัญญาระหว่างประเทศต่างๆหลายฉบับด้วยกัน ซึ่งในประเด็นนี้จะขออนุญาตหยิบยกอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีในอนุสัญญา ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 ซึ่งมีรายละเอียดต่างๆดังนี้

Convention on the Rights of Persons with Disabilities (CRPD)หรือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการนั้น มุ่งเน้นให้คนพิการได้รับการคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนขั้น

พื้นฐาน ความเสมอภาค และ ศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิดของคนพิการ และยังเป็นอนุสัญญาที่มีเนื้อหาครอบคลุม พลเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และครอบครัว ฉบับแรกด้วย

ประเทศไทยนั้นได้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามอนุสัญญาที่ได้ให้สัตยาบันไว้ในกฎหมายหลายฉบับด้วยกัน ทั้งรัฐธรรมนูญและพรบ.ต่างๆ เพื่อที่จะให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนพิการเป็นไปตามอนุสัญญา และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้คือการ กำหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบหลักเพื่อประสานงานส่วนต่างๆของภาครัฐ นอกจากนี้ยังต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามอนุสัญญา และต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนพิการ และองค์กรเกี่ยวกับคนพิการ ทั้งนี้ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และ เพื่อให้คนพิการสามารถมีศักยภาพในการพัฒนาตนเองจนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเต็มที่

แต่อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัตินั้นยังมีหลายกรณี ที่สิทธิของคนพิการยังคงถูกกดขี่ด้วยการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม เหตุเพียงเพราะความผิดปกติทางร่างกาย ทั้งในแง่ของการศึกษา การทำงาน การดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และศักศรีความเป็นมนุษย์ ตัวอย่างเช่น ในเรื่องของการศึกษาที่เด็กพิการควรจะได้มีโอกาสเข้าร่วมเรียนในชั้นเรียนร่วมกับเด็กปกติ เพื่อที่จะเป็นการฝึกให้เด็กสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนทั่วไปได้ แต่ทางสถานศึกษากลับอ้างว่าไม่มีความพร้อมในการรองรับเด็กพิการ ซึ่งเป็นการปิดกั้นโอกาสของคนพิการทางหนึ่ง หรือในแง่ของการทำงาน ตัวอย่างเช่นการที่ผู้พิการไม่สามารถสอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาได้ เพราะคณะกรรมการตุลาการมองว่ามีสภาพร่างกายและจิตใจที่ไม่พร้อมต่อการทำงาน ในตำแหน่งตุลาการ เป็นต้น

ทั้งนี้แม้ว่าในปัจจุบัน จะได้มีการพัฒนาทั้งในเรื่องของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

และการมีส่วนร่วมของคนพิการเพิ่มมากขึ้นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีหลายกรณีที่ยังคงต้องปรับปรุงเพื่อที่จะได้คุ้มครองสิทธิคนพิการมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เป้นไปตามหลักแห่งความเท่าเทียมของสิทธิมนุษยชน และ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ อย่างไรก็ดีข้าพเจ้าเห็นว่าแม้ว่าจะมีความพยายามอย่างมากในการ ให้ความเท่าเทียมแก่คนพิการ แต่ความพยายามเหล่านี้ไม่อาจสำเร็จหรือบรรลุผลไปได้ด้วยดี เนื่องจากการขาดความตื่นตัวในแง่ของสิทธิมนุษยชนของคนพิการของคนในสังคมนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องมีการส่งเสริมให้สังคมได้รู้และเข้าใจมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง

สรุปสาระสำคัญ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ แหล่งที่มา: http://www.braille-cet.in.th/Braille-new/?q=news-1286สืบค้นเมื่อวันที่ 12พฦษภาคม 2557

การเลือกปฏิบัติ แหล่งที่มา:http://www.fpps.or.th/news.php?detail=n1076356103.newsสืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฦษภาคม 2557

หลักการไม่เลือกปฏิบัติกับคนพิการ กับ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แหล่งที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/sakol/20120703/459592/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3:-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D.html

หมายเลขบันทึก: 568230เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 02:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 02:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท