กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

      ตามสุภาษิตที่ว่า “ubi societas, ibi ius” หรือ ที่ใดมีสังคมที่นั่นมีกฎหมาย สะท้อนให้เห็นว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่มีอยู่ควบคู่มนุษย์มาอย่างยาวนาน เพราะหากไม่มีกฎหมายเสียแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้เลยที่คนหมู่มากจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีระเบียบ ดังนั้นการลงโทษทางอาญาก็เช่นกันเป็นวิธีหนึ่งในการจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนสามารถอยู่ร่วมกันได้และ เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมเสียก่อนที่ จะมีแนวคิดเรื่อง สิทธิมนุษยชนเสียอีกด้วยซ้ำไป ตามที่ปรากฏมาช้านานในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ อย่างไรก็ดีในแต่ละยุคสมัยนั้น การลงโทษทางอาญาย่อมมีวัตถุประสงค์และความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไปตามข้อความคิด และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

      ในปัจจุบันการลงโทษทางอาญานั้น มีวัตถุประสงค์หลักๆสามประการด้วยกันนั่นคือ เพื่อแก้แค้นทดแทน เพื่อข่มขู่ยับยั้ง และ เพื่อแก้ไขฟื้นฟู ซึ่งการลงโทษทางอาญานั้น แม้จะเป็นวิธีการที่เบาที่สุดก็ตาม ก็ยังเป็นการพรากเอาสิทธิขั้นพื้นฐานที่บุคคลพึงมีไป แต่อย่างไรก็ดีเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อความสงบเรียบร้อยของบุคคลในสังคมส่วนรวม ดังนั้นการลงโทษทางอาญา จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องบรรลุวัตถุประสงค์ของการลงโทษ มิเช่นนั้นย่อมเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานโดยไม่จำเป็น

      สำหรับประเทศไทยนั้น มีโทษทางอาญา 5 สถานด้วยกันนั่นคือ ได้แก่ ริบทรัพย์ ปรับ กักขัง จำคุก และ ประหารชีวิต ซึ่งโทษทั้ง5สถานนั้น ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลผู้กระทำความผิด ทั้งในแง่ของ ทรัพย์สิน เสรีภาพ หรือชีวิต ซึ่งในที่นี้ขอหยิบยก สิทธิที่มีความสำคัญที่สุดเหนือบรรดาสิทธิอื่นใด ที่โดนกระทบโดยมาตรการลงโทษทางอาญา นั่นคือ “สิทธิในการมีชีวิต”

      ในปัจจุบันในยุคที่เรื่องราวของสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ผู้คนให้ความสำคัญมากนั้น ทำให้เกิดคำถามมากมายเกี่ยวเนื่องกับความเหมาะสมของโทษ “ประหารชีวิต” ว่ามีความเหมาะสมและก่อให้เกิดประโยชน์มากน้อยเพียงใด ในขณะที่ในปัจจุบัน 140ประเทศทั่วโลกได้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว แต่ก็ยังมีประเทศที่ยังคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิตอยู่58ประเทศ ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้น โดยนับตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนจากการลงโทษประหารชีวิตด้วยวิธีการตัดคอมาเป็นการยิงเป้า ในปี2478-2552 มีนักโทษถูกประหารชีวิต จำนวน319รายด้วยกัน โดยโทษประหารชีวิตนี้ นอกจากจะถูกโต้แย้งว่า เป็นการละเมิดสิทธิในการมีชีวิตอยู่แล้ว ยังสร้างความทรมานต่อร่างกายและจิตใจของนักโทษอย่างแสนสาหัส และ เมื่อพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้วโทษประหารชีวิตเป็นเพียงการกำจัดอาชญากรออกจากสังคม แต่ไม่ได้ทำให้อัตราอาชญากรรมลดลงแต่อย่างใด

      ดังที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นว่าการลงโทษทางอาญานั้นทำเพื่อสนองวัตถุประสงค์สามประการด้วยกัน ตามทฤษฎี ของการแก้แค้นทดแทน หรือการที่ให้ผู้กระทำความผิด ต้องชดใช้ในสิ่งที่ตนได้กระทำลง อาจกล่าวได้ว่าเป็นการแก้แค้นให้แก่ผู้ได้รับความเสียหาย อย่างยุติธรรม หรือ ทฤษฎีข่มขู่ยับยั้ง เพื่อให้บุคคลมีความเกรงกลัวต่อกฎหมาย หรือ ทฤษฎี แก้ไขฟื้นฟู เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดได้ทบทวนถึงการกระทำของตนเอง หากการลงโทษประหารชีวิตสามารถตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของการลงโทษได้ทั้งสามประการ ก็ถือได้ว่าเป็นวิธีการลงโทษที่มีประสิทธิภาพมากทีเดียว แต่อย่างไรก็ดี หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วน การลงโทษประหารชีวิตนั้น สามารถตอบโจทย์ในแง่ของการแก้แค้นทดแทนได้เท่านั้น อีกทั้งในแง่ของการ ข่มขู่ยับยั้งก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่ได้มีงานวิจัยในเรื่องนี้ออกมาแล้วหลายครั้ง เพราะนอกจากจะมีการกระทำความผิดที่มีโทษประหารชีวิตอย่างเช่นการค้ายาเสพติดอย่างแพร่หลายแล้ว ก็เป็นที่รู้กันในหมู่อาชญากรว่าโทษนี้มีโอกาศน้อยมากที่จะได้กระทำลงกับผู้กระทำความผิด จึงทำให้ความเกรงกลัวต่อโทษประหารชีวิตนั้นถดถอยลงไป เพราะการบังคับใช้ที่ไม่เด็ดขาด ส่วนในแง่ของการฟื้นฟูนั้นไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างแน่แท้

      ข้าพเจ้าเห็นว่าการ ลงโทษประหารชีวิตนั้นหากเทียบกับสิ่งที่ต้องเสียไปด้วยการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของราษฎรแล้ว อาจกล่าวได้ว่า “ไม่คุ้มค่า” กับการที่จะพรากชีวิตของบุคคลไปเนื่องมาจากการกระทำของเขา เพราะในคดีที่รัฐเป็นผู้เสียหายอย่างคดียาเสพติดนั้น การลงโทษประการชีวิตนั้น แม้จะมองว่าเป็นการแก้แค้นให้กับรัฐ แก้แค้นให้กับสังคม แต่ข้าพเจ้ามองว่าสังคมไม่ได้ต้องการการแก้แค้น สังคมต้องการบ้านเมืองที่ปลอดจากยากเสพติด ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงประโยชน์ของโทษประหารชีวิต ว่าสามารถตอบโจทย์ที่สังคมต้องการได้หรือไม่ ดังที่ได้กล่าวเอาไว้แล้วในข้างต้นว่า แทบจะไม่มีประโยชน์ในแง่ของการทำให้เกรงกลัวอันจะทำให้ อัตตราการค้าขายยาเสพติดลดลงเลย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การพรากสิทธิในชีวิตของนักโทษไปนั้น แทบไม่ได้ทำให้สังคมดีขึ้นมาแต่ประการใดเลย


อ้างอิง

นิยามของคำว่าสิทธิมนุษยชน แหล่งที่มา: http://www.l3nr.org/posts/465212 สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฦษภาคม 2557

ทฤษฎีการลงโทษ แหล่งที่มา: http://www.stou.ac.th/Schools/Slw/upload/41716_6.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฦษภาคม 2557

โทษประหารชีวิตความจำเป็นที่ต้องคงอยู่ หรือความรุนแรงที่ควรยกเลิก แหล่งที่มา:http://www.dailynews.co.th/Content/Article/127538/%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95+%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81!%3F

สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฦษภาคม 2557

ความรู้จากหนังสืออาญาภาคทั่วไป ของ ดร. ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐสืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฦษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568229เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 01:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 02:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท