ครอบครัวข้ามชาติ


ครอบครัวข้ามชาติ  ?

             คือ ครอบครัวที่มีสมาชิกข้ามชาติจากประเทศหนึ่งมายังอีกประเทศหนึ่งและสร้างครอบครัวขึ้นและต่อมาอาจมีบุตรทำให้ครอบครัวนี้เกี่ยวข้องกับหลายประเทศซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆได้

             ในปัจจุบันการข้ามพรมแดนในสมัยนี้เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าอดีต ดังนั้นครอบครัวข้ามชาติจึงเป็นปรากฎการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม พบว่าครอบครัวข้ามชาติในพื้นที่ ระหว่างชายแดนของสองประเทศจะมีความซับซ้อนยิ่งกว่าพื้นที่อื่นๆ

              โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว พบว่าในแต่ละหมู่บ้านชายแดนฝั่งไทยที่ตั้งอยู่ชิดริมแม่น้ำโขงมีครอบครัวข้ามชาติเฉลี่ย10-20ครอบครัวต่อหมู่บ้าน โดยรูปแบบครอบครัวข้ามชาติที่พบในชายแดนไทย-ลาวมีทั้งสิ้นสามรูปแบบด้วยกันสามรูปแบบ ได้แก่

-รูปแบบแรก ครอบครัวที่เกิดจากการแต่งงานข้ามชาติระหว่างชาวบ้านคนไทยอีสานกับชาวบ้านคนลาว พบครอบครัวข้ามชาติแบบนี้อยู่ถึงร้อยละ 76

-รูปแบบที่สอง ครอบครัวผู้ลี้ภัยชาวลาวที่อพยพเข้ามาในเมืองไทยช่วงลาวแตกระหว่างพ.ศ.2517-2519

-รูปแบบที่สาม ครอบครัวแรงงานข้ามชาติสัญชาติลาว ที่หนีความยากจนในประเทศมาทำมาหากินในหมู่บ้านฝั่งไทย

               ครอบครัวข้ามชาติเหล่านี้มีปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะแบบแผนของพวกเขาคือการทำไร่ ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ หาปลา รับจ้าง เนื่องจากไม่อาจเดินทางออกนอกพื้นที่ได้ และต้องพึ่งพาคู่สมรสที่เป็นคนไทยสูง

               นอกจากนั้นยังส่งผลต่อฝ่ายชายที่สูญเสียความเป็นผู้นำเนื่องจากให้ฝ่ายหญิงออกหน้า ผู้หญิงเองก็พึ่งพิงฝ่ายชายทางด้านเศรษฐกิจมากเป็นพิเศษ กลุ่มคนเหล่านี้ ประสบปัญหาการไม่เข้าถึงสิทธิพื้นฐานและบริการสาธารณะที่รัฐจัดเฉพาะกับคนไทย เช่นการรักษาพยาบาลสวัสดิการต่างๆ การถูกจำกัดสิทธิในการเดินทางและความรู้สึกด้อยค่าในความเป็นมนุษย์ รู้สึกไม่เท่าเทียม เนื่องจากมีสมาชิกจำนวนหนึ่งไม่ได้รับการรับรองสถานะว่าเป็นพลเมืองไทย ก่อเกิดความไร้สัญชาติ ไร้รัฐ

                จึงเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลไทยต้องเร่งดำเนินการ คือรับรองสถานะของบุคคลที่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวที่เกิดจากการแต่งงานข้ามชาตินี้ แม้ไม่รับรองในบัตรประจำตัวประชาชนชาวไทย แต่ควรรับรองในเอกสารสิทธิบางประการที่ทำให้กลุ่มคนกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงสิทธิที่ตนควรได้รับ หรือสิทธิที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับ คือสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานนั่นเอง



 ปัญหาของครอบครัวข้ามชาติในแง่ของสิทธิมนุษยชน คือ 

                ปัญหาเรื่องการได้สัญชาติของคนในครอบครัว เช่น บุตรที่เกิดจากครอบครัวดังกล่าว บุตรที่เกิดจากครอบครัวข้ามชาติ จะพบกับปัญหาการไม่ได้รับสัญชาติไทย แม้จะเกิดในดินแดนไทยก็ตาม หรือแม้พ่อแม่จะเป็นคนสัญชาติไทย แต่เป็นคนกลุ่มที่ตกสำรวจ เด็กก็จะไม่ได้รับสัญชาติไทยเช่นกัน

การจดทะเบียนคนอยู่ คือการบันทึกรายการบุคคลเข้าสู่ทะเบียนราษฎรหรือที่เรียกว่าทะเบียนบ้าน สำหรับคนที่มีสัญชาติของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าวเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตให้มีสิทธิอาศัยไม่ว่าจะได้รับสิทธิอาศัยถาวรหรือไม่ถาวรก็ตาม



ตัวอย่างการไร้สัญชาติที่เกิดขึ้นกับครอบครัวข้ามชาติ

กรณีศึกษาครอบครัวเจดีย์ทอง :

                 ครอบครัวเจดีย์ทองได้เริ่มต้นมาจากนายอาทิตย์ เจดีย์ทอง ชาวไทย และนางสาวแพทริเซีย ชาวมาเลเซีย เกิดพบรักกันขณะไปทำงานที่ไต้หวัน เมื่อต่างคนต่างกลับประเทศ แต่ด้วยความรัก นางสาวแพทริเซียได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพื่อมาเยี่ยมนายอาทิตย์และตัดสินใจอยู่กินกันฉันสามีภรรยากับนายอาทิตย์ที่ บ้านห้วยส้าน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จนมีบุตรสามคน แต่ละคนได้เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติไทย และมีเลขประจำตัวประชาชน13หลักตามปกติ

                 เมื่อนางสาวแพทริเซียตั้งใจอยู่กินกับนายอาทิตย์ฉันสามีภรรยา นางสาวแพทริเซียก็ไม่ได้สนใจว่าตนจะสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้นานเท่าใด นางสาวแพทริเซียจึงอยู่ในปรเะทศไทยเลยกำหนดที่ตนสามารถอยู่ได้ในการตรวจลงตราบนหนังสือเดินทาง

                นางสาวแพทริเซียต้องการจะอยู่ในประเทศไทยอย่างถาวร จึงไปแสดงตนกับเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นคนไร้รัฐ เมื่อนางสาวแพทริเซียได้เข้าไปแสดงตน เจ้าหน้าที่ก็ได้จัดการบันทึกให้นางสาวแพทริเซียเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน โดยใช้ชื่อ อัญชลี เจดีย์ทอง ทำให้นางสาวแพทริเซียมีสถานะ2สถานะคือ เป็นคนสัญชาติมาเลเซีย และเป็นบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน หรือเป็นบุคคลไร้รัฐนั่นเอง

                 หากนางสาวแพทริเซียได้ถือสถานะเป็นคนไร้รัฐอยู่ในประเทศไทย ก็จะเกิดปัญหาสิทธิมนุษยชนขึ้น คือ ถ้านางสาวแพทริเซียถือสัญชาติมาเลเซีย ได้ขอวีซ่าคู่สมรสหรือ Spouse Visa และจดทะเบียนสมรส ก็จะเป็นครอบครัวข้ามชาติตามกฎหมาย สิทธิของนางสาวแพทริเซียก็จะมีมากกว่าตอนที่ตนถือสถานะเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ดังนั้น ปัญหาสิทธิมนุษยชนของครอบครัวข้ามชาติครอบครัวนี้คือการเสียสิทธิบางประการของนางสาวแพทริเซียที่ถือสถานะไร้สัญชาติ แทนที่จะถือสัญชาติมาเลเซีย

                  นอกจากนี้แล้ว บุตรของนางสาวแพทริเซียกับนายอาทิตย์ทั้ง3คน อาจได้รับสองสัญชาติได้คือ ได้รับสัญชาติไทย ผ่านดินแดนที่เกิด คือประเทศไทย และผ่านสายโลหิตคือบิดาซึ่งก็คือนายอาทิตย์ เป็นคนไทย และอาจได้รับสัญชาติมาเลเซียผ่านหลักสืบสายโลหิตทางมารดา ซึ่งก็คือ นางสาวแพทริเซีย หากนางสาวแพทริเซียถือสัญชาติมาเลเซีย บุตรทั้ง3คนอาจได้รับสัญชาติมาเลเซียด้วย ถ้าบุตรทั้งสามคนได้รับสัญชาติมาเลเซีย ก็จะสามารถได้รับสิทธิบางประการที่คนชาติมาเลเซียได้ เช่น การประกอบอาชีพบางประการหรือการซื้อที่ดิน ดังนั้น ปัญหาสิทธิมนุษยชนของครอบครัวข้ามชาติครอบครัวนี้อีกประการหนึ่งคือการบุตรทั้งสามคนอาจเสียสิทธิบางประการในการไม่ได้ถือสัญชาติสองสัญชาติ


อ้างอิง

-http://www.l3nr.org/posts/535906

รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. 2557. กรณีศึกษาครอบครัวเจดีย์ทอง : บุตรที่เกิดในไทยจากชายสัญชาติไทยและ หญิงมาเลเซียมีสิทธิในสัญชาติไทยหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?.

-http://www.gotoknow.org/posts/566775...

-http://www.workpermitthai.com/visa-thai.htm

หมายเลขบันทึก: 568222เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 00:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 00:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท