ศาลสิทธิมนุษยชน


         การรับรองคุ้มครองสิทธิมนุษยชนนั้นนอกจากจะมีอนุสัญญาต่างๆที่เกียวกับสิทธิมนุษยชนแล้ว ก็ยังจะต้องมีศาลเพื่อบังคับให้เป็นไปตามอนุสัญญาต่างๆ ในยุโรปได้มีการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป

          ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European of Human Rights-ECtHR) ตั้งอยู่ที่เมืองสตราส์บูร์ก(Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส ตามหลักการในอนุสัญญายุโรปว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ปี 1950 (The European Convention on Human Rights) เพื่อดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญาของประเทศสมาชิก ซึ่งอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms) ซึ่งเป็นหนึ่งในอนุสัญญาที่สำคัญที่สุด ที่สภายุโรป (The Council of Europe) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป ทั้ง 47 ประเทศได้เข้าเป็นภาคีและรับหลักการของอนุสัญญาฯ หลักสำคัญของอนุสัญญาสรุปได้ดังต่อไปนี้

•สิทธิในการดำรงชีวิต

•สิทธิในการที่จะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมทั้งในทางแพ่งและอาญา

•สิทธิที่จะได้รับการคำนึงถึงชีวิตส่วนตัวและครอบครัวของบุคคล

•เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

•เสรีภาพทางความคิด จิตสำนึกและศาสนา

•สิทธิในการที่จะได้รับการเยียวยาที่ดี

•สิทธิในการครอบครองทรัพย์สินอย่างสุขสงบ

•สิทธิในการเลือกตั้งและการรับเลือกตั้ง

          การนำคดีขึ้นสู่ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป จะสามารถทำได้โดยรัฐบาลคู่กรณีหรือบุคคลธรรมดาเพื่อฟ้องร้องรัฐบาลของรัฐภาคีทั้ง 47 ประเทศหากเกิดการละเมิดในสิทธิมนุษยชนโดยรัฐ ทั้งนี้ คำพิพากษาของศาลมีผลผูกพันต่อรัฐคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาล และแนวทางการพิจารณาคดียึดถือตามคำพิพากษาที่ได้พิพากษาไปแล้วเป็นหลัก (Case law)[1]

          ในอาเซียนซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่นั้นยังไม่มีศาลสิทธิมนุษยชนอาเซียน มีเพียงปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยเนื้อหาของปฏิญญาฯ ประกอบด้วย๗ส่วน[2] ได้แก่

(๑) อารัมภบท

(๒) หลักการทั่วไป

(๓) สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

(๔) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

(๕) สิทธิในการพัฒนา

(๖) สิทธิในสันติภาพ

(๗) ความร่วมมือในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน

          ซึ่งในอนาคตอาจมีการจัดตั้งศาลอาเซียน รวมถึงศาลสิทธิมนุษยชนอาเซียน 

          การมีศาลมีข้อดีคือเป็นกลไกบังคับ/กำกับให้รัฐต้องเคารพข้อตกลงของอาเซียน และถ้ามีข้อพิพาทกันก็มีกลไกที่จะระงับข้อพิพาทนั้นก่อนที่จะลุกลามใหญ่โต ทำให้รัฐ สมาชิกมีที่พึ่งพิงที่เป็นกลไกแน่นอนหากถูกอีกรัฐละเมิดสิทธิ แต่ศาลอาเซียนจะเกิดขึ้น หรือไม่ขึ้นอยู่กับความพร้อมของประเทศสมาชิก[3]


[1] นางสาว ณัชชมล แสนเรือง. ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป VS เคท มิดเดิลตัน. l3nr. [Website] 2011 [cited 2014 May 16]. Available from: http://www.l3nr.org/posts/466240

[2] ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. [PDF] [cited 2014 May 16]. Available from: http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/13...

[3] อาเซียนจะไปไกลขนาดมีสภาอาเซียนหรือศาลอาเซียนหรือไม่. อาเซียน158. [Website] [cited 2014 May 16]. Available from: https://sites.google.com/site/xaseiyn158/frequentl...

หมายเลขบันทึก: 568177เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท