ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


         ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นแท้จริงแล้วเป็นสิทธิเสรีภาพอย่างหนึ่งคือสิทธิในชีวิตร่างกาย และเสรีภาพที่จะพัฒนาบุคคลิกภาพและศักยภาพของตนได้อย่างเต็มภูมิ โดยมนุษย์ทุกคนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกันไม่จำกัดเฉพาะสัญชาติหรือเขตแดนใดๆบนหลักการของความเสมอภาคเพราะเหตุว่ามนุษย์นั้นมีคุณสมบัติตอบสนองสิ่งแวดล้อมภายนอกอย่างเป็นนามธรรมได้ ต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นสิ่งที่มีจริงแท้ตามธรรมชาติไม่อาจปฏิเสธการมีอยู่หรือสละทิ้งได้ไม่ว่ากรณีใดๆ โดยมีกฎหมายที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองคุ้มครองไว้ให้ พร้อมๆกับการแบ่งแยกองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเพื่อเป็นหลักประกันไว้ว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นจะไม่ถูกล่วงละเมิด[1]

โดยรัฐธรรมนูญไทยได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐[2]

มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา ๒๖ การใช้อำนาจ โดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิและ
เสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

          กรณีศึกษาเด็กชายนิวัฒน์ จันทร์คำ หรือน้องนิค[3]

          บิดาของน้องนิคชื่อนายหนุ่มเป็นคนชาติพันธุ์ไทยลื้อ มารดาของน้องนิกชื่อนางจริง จันทร์คำเป็นคนชาติพันธุ์ไทยลื้อ ปัจจุบันถือสัญชาติเมียนมาร์ มีเอกสารประจำตัวที่ออกโดยรัฐเมียนมาร์ ปัจจุบันอาศัยอยู่ในเมียนมาร์

         ในปี 2552 น้องนิคอายุประมาณ3-4ปี บิดามารดาพาน้องนิคเดิอนทางเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่มีเอกสารแสดงคน มารดาพาน้องนิคมาฝากเลี้ยงไว้กับป้าจันทร์ ช่วงเวลาเหล่านี้น้องนิคไม่ได้ดำเนินการเพื่อรับการสำรวจและมีบัตรประชาชนใดๆ

น้องนิคเคยเข้าศึกษาประถมศึกษาปีที่1 ปี พ.ศ.2548 ระหว่างปีพ.ศ.2552-2555 น้องนิคศึกษาที่โรงเรียนสิเกาผดุงวิทย์ อำเภอสิเกา จังหวัด ขณะศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่1 น้องนิคเคยกรอกข้อมูลในแบบสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนสำหรับบุคคลซึ่งไม่มีสถานะทางทะเบียน เพื่อบันทึกชื่อในทะเบียนราษฎร ขณะที่น้องนิคมาศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่3 น้องนิคและป้าจันทร์ได้ไปติดต่อถึงความคืบหน้าเรื่องแบบสำรวจ แต่ทางอำเภอสิเกาไม่ไม่สามารถทำบัตรให้ได้ เพราะอำเภอสิเกาไม่มีชนกลุ่มน้อย

ต่อมาน้องนิคมาศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาปีที่4 ที่โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อหวังจะแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของตนเอง แต่คุณครูแจ้งว่าบัตรประจำตัวลักษณะนี้เปิดทำเป็นช่วงเวลาเท่านั้น

          วันที่ 8 ตุลาคม 2556 น้องนิคได้เจอกับมารดาคือนางจริง จันทร์คำที่พลัดพรากกัน และได้เดินทางข้ามไปพม่าเพื่อหังจะอาศัยอยู่กับมารดา ประมาณวันที่ 30 ตุลาคม 2556 น้องสาวของน้องนิคคือน้องสายพร ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎรเมียนมาร์ แต่น้องนิคได้เติบโตและเรียนหนังสือในประเทศไทยมาทั้ชีวิต จึงต้องการศึกษาต่อในประเทศไทย จึงกลับมาเรียนต่อในประเทศไทย แต่ก็ยังไม่ได้รับการขจัดปัญหาความไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร

         การที่น้องนิคต้องการศึกษาในประเทศไทยทั้งที่ยังเป็นบุคคลที่ไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร ก็อาจไม่ได้รับสิทธิต่างๆที่ควรจะได้รับ เพราะในบางสถาบันการศึกษายังไม่มีความเข้าใจเรื่องสิทธิในการศึกษาจึงอาจถูกปฏิเสธที่จะรับบุคคลที่ไม่มีหลักฐานเข้าเรียน ทั้งที่สิทธิในการศึกษานั้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ซึ่งได้มีการรับรองไว้ในอนุสัญญาระหว่างประเทศรวมถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วย

        ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน[4]

ข้อ 26 (1) ทุกคนมีสิทธิในศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในชั้นประถมศึกษาและการศึกษาชั้นหลักมูล การประถมศึกษาจะต้องเป็นการบังคับ การศึกษาทางเทคนิคและวิชาชีพ จะต้องเป็นอันเปิดโดยทั่วไป และการศึกษาชั้นสูงสุดขึ้นไป จะต้องเป็นอันเปิดสำหรับทุกคน เข้าได้ถึงโดยเสมอภาคตามมูลฐานแห่งคุณวุฒิ

(2) การศึกษาจะได้จัดไปในทางพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่และยังความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพหลักมูลให้มั่นคงแข็งแรง จะต้องส่งเสริมความเข้าใจ ขันติธรรม และมิตรภาพแห่งบรรดาประชาชาติ กลุ่มเชื้อชาติ หรือศาสนา และจะต้องส่งเสริมกิจกรรมของสหประชาชาติ เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ

(3) บิดามารดา มีสิทธิเบื้องแรกที่จะเลือกชนิดของการศึกษาอันจะให้แก่บุตรหลานของตน

         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐[5]

ส่วนที่ ๘ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา

มาตรา ๔๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น

การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ

มาตรา ๕๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ

การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน


[1] นายสรวิศ วงศ์บุญสิน. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คืออะไร?. l3nr. [Website] 2011 [cited 2014 May 16]. Available from: http://www.l3nr.org/posts/464776

[2] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐. [PDF] [cited 2014 May 16]. Available from: http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=8337

[3] นางสาวพวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์. กรณีศึกษาเด็กชายนิวัฒน์ จันทร์คำ (น้องนิค) : เอกสารประกอบการเรียนวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชน ,8 กุมภาพันธ์ 2557

[4] ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน. [PDF] [cited 2014 May16]. Available from: http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf

[5] อ้างแล้วในเชิงอรรถที่2

หมายเลขบันทึก: 568170เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท