ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


บทความที่ 15 เรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย : สิทธิในการได้รับการศึกษาของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย

        นิยามของสิทธิมนุษยชนตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2542[1] มาตรา 3 “สิทธิมนุษยชนหมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม”

        ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือ คือ การให้คุณค่าแก่ความเป็นมนุษย์ คนทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกัน การปฏิบัติต่อคนๆ นั้น ต้องเสมอกันในฐานะของความเป็นมนุษย์ ห้ามทำร้ายร่างกายทรมาน อย่างโหดร้ายหรือกระทำการใดๆที่ถือเป็นการเหยียดหยามความเป็นมนุษย์

         ดังนั้นการได้รับการปฏิบัติต่ออย่างเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิทธิมนุษยชนประเภทหนึ่งที่ไม่ว่าบุคคลคนนั้นจะเป็นคนของรัฐใดหรือแม้เป็นบุคคลที่ไร้รัฐไร้สัญชาติหรือเป็นคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายก็ต้องได้รับการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยเหตุที่ว่าเขาเหล่านั้นเป็นมนุษย์

         ดังในกรณีของน้องนิกหรือนายนิวัฒน์จันทร์คำ ที่แม้ว่าจะเป็นคนไร้รัฐโดยสิ้นเชิงเนื่องจากไม่ถูกบันทึกในทะเบียนราษฎรของรัฐใด ไร้สัญชาติ และอาจอยู่ในฐานะเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายเพราะบิดามารดาได้พาน้องเข้ามาในประเทศไทยโดยที่ไม่มีเอกสารแสดงตน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจะพบว่าในขณะที่น้องได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยนั้นเป็นการติดตามบิดามารดาเข้ามา ทั้งยังเป็นเด็กที่อายุเพียง3 ขวบไม่อาจถือได้ว่าน้องนิกมีเจตนาในการกระทำความผิดฐานเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ทำให้น้องมิได้เป็นบุคคลที่เข้าเมืองผิดกฎหมายแต่อย่างใด

        อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายหรือไม่ก็ตาม ก็มิได้ทำให้น้องนิก ต้องสูญเสียสิทธิหรือไม่ได้รับการปฏิบัติต่ออย่างเป็นมนุษย์ผู้มีสิทธิในการได้รับการพัฒนา ด้านการศึกษา ดังนั้นจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏจะพบว่าน้องนิกนั้นได้เคยเข้ารับการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6อันเป็นสิทธิในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักการอันปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 26(1) วางหลักว่า บุคคลมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาเป็นสิ่งที่ให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า อย่างน้อยที่สุดในระดับชั้นประถมศึกษาและชั้นพื้นฐาน และชั้นสูงเป็นชั้นที่เปิดโอกาสให้บุคคลเท่ากันตามความสามารถ

       นอกจากนี้ยังได้มีการยืนยันหลักการดังกล่าวใน[2]พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรค1 วางหลักว่า การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

       จากหลักกฎหมายทั้งสองหลักข้างต้นจะเห็นได้ว่าแม้ว่าน้องนิกจะมิได้เป็นบุคคลผู้ถือสัญชาติไทย หรืออาจถูกถือว่าเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายแต่น้องก็ย่อมมิสิทธิที่จะได้รับการศึกษาโดยไม่ถูกกีดกันจากรัฐ เนื่องจากสิทธิในการศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานมนุษย์ทุกคน

เขียนเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2557

 

เอกสารอ้างอิง

[1]พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2542

www.kodmhai.com/m4/m4-2/H66/H-66.html

[2]พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

http://www.kodmhai.com/m4/m4-1/Nthailaw-4-1/Nlaw/N1188/m1-40.html สืบค้นเมื่อวันที่ 16 พ.ค.2557

หมายเลขบันทึก: 568167เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท