HR-LLB-TU-2556-กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


                   

การประหารชีวิต     อดีต - ปัจจุบัน

การลงโทษประหารชีวิต     เป็นการลงโทษที่รุนแรงที่สุดที่พึงใช้ต่อผู้กระทำความผิด ถือได้ว่าเป็น การลง
    โทษที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งดำเนินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายของการประหารชีวิตคือ     การกำจัดผู้กระทำ
ผิดให้พ้นไปจากสังคมด้วยวิธีการฆ่า ในสมัยโบราณการลงโทษประหาร เรียกว่า      "กุดหัว" โดยใช้ดาบฟันคอ
    นักโทษเด็ดขาด ดาบที่ใช้ในการประหารมีรูปร่างต่างๆ กัน ครูเพชฌฆาตเป็น ผู้จัดทำดาบขึ้น     มีดาบปลาย
    แหลม ดาบปลายตัด และดาบหัวปลาไหล การประหารชีวิตครั้งใดจะใช้ดาบชนิดใด ให้อยู่ในดุลพินิจของครู
    เพชฌฆาต

             ต่อมาการลงโทษประหารชีวิตผู้กระทำผิดได้เปลี่ยนจากการประหารชีวิตด้วยดาบมาเป็นการ
    ประหารชีวิตด้วยปืน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477     เป็นต้นมา เรียกว่า การยิงเป้า วิธีการประหารชีวิตจะเริ่มขึ้นโดยเจ้า
    หน้าที่อ่านคำสั่งศาลและฎีกาทูลเกล้าซึ่งพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานฯ คืนมาให้ผู้ต้องโทษฟังและลงชื่อรับ
    ทราบ ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบหลักฐานทางทะเบียนประวัติให้ถูกต้องและอนุญาตให้
    ผู้ต้องโทษจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการจำเป็นอื่นใดเป็นลายลักษณ์อักษร     แล้วจึงให้ผู้ต้องโทษฟัง
    เทศน์จากพระภิกษุสงฆ์หรือนักพรตในนิกายศาสนาที่ผู้ต้องโทษเลื่อมใสแล้วให้รับประทานอาหารเป็นมื้อ
    สุดท้าย จากนั้นนำผู้ต้องโทษเข้าสู่หลักประหาร

จนมาถึงยุดปัจุบันที่ได้เปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตมาเป็นการใช้สารเคมีฉีดเข้าร่างกายของผู้ที่ต้องโทษจนเสียชีวิต 

โดยได้มีการเผยว่าไทยนั่นเป็น1 ใน54ประเทศที่ยังคงมีโทษการประหารชีวิตอยู่ จึงได้มีการเสนอให้มีการทบทวน

ถึงเรื่องดังกล่าวว่าประเทศไทยยังควรจะใช้โทษประหารชีวิตอยู่หรือไม่  ซึ่งหากพิจารณาตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนแล้วนั้นจะพบว่ามนุษย์ทุกคนย่อมที่จะมีสิทธิในชีวิตและร่างกายของตน  โดยได้มรการรับรองสิทธิในชีวิตไว้ในกฎหมายต่างๆอาทิ  ปฏิญาณสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  หรือจะเป็นการรับรองสิทธิไว้ในรัฐธรรมนูญแห้งราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน 

        ซึ่งจากการที่แนวความคิดได้แตกออกเป็นสองฝ่ายโดยฝ่ายที่เห็นด้วยกับการมีโทษประหารชีวิตนั้นเห็นว่า  การลงโทษประหารชีวิตที่เป็นโทษที่รุนแรงนั้นจะช่วยทำให้ผู้กระทำความผิดเกิดความยำเกรงและจะสามารถลดปัญหาการกระทำความผิดได้  แต่อีกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยในการใช้การประหารชีวิตนั้นกลับมองว่า  การประหารชีวิตนั้นเป็นโทษที่รุนแรง มีความโหดร้ายและทารุณ  เกินไป  และยังไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาการกระทำความผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

      จากการพิจารณาดังกล่าวจึงยังไม่อาจหาข้อสรุปได้ว่าโทษประหารชีวิตนั้นควรที่จะมีอยู่ต่อไปหรือไม่  หรือการใช้การประหารชีวิตนั้นเป็นการลงโทษที่มีประสิทธิภาพเพียงใด  เราจึงต้องคิดและทบทวนกันต่อไปโดยพิจารณาความเหมาะสม  ข้อดีและข้อเสียต่างๆในการประหารชีวิตว่าคุ้มต่อการที่จะต้องละเมิดสิทธิมนุษชยหรือไม่

 

อ้างอิง

http://www.correct.go.th/mu/index4.html

หมายเลขบันทึก: 568164เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท