ศาลสิทธิมนุษยชน


ศาลสิทธิมนุษยชน

ในปัจจุบันนี้สังคมโลกได้ให้ความสนใจกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยเห็นได้จากการที่มีการทำข้อตกลงเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ และมีประเทศเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีเข้าร่วมกันเป็นภาคีสมาชิกกันในหลากหลายอนุสัญญาซึ่งแต่ละอนุสัญญานั้น จะบ่งบอกถึงวัตถุประสงค์ของอนุสัญญานั้นๆอย่างชัดเจน ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศบนโลกที่เห็นถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนภายในรัฐจึงมีการลงนามเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกและตกลงให้สัตยาบันในอนุสัญญาหลายฉบับ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น

เมื่อแต่ละประเทศบนโลกให้ความสนใจในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแล้ว เพียงแค่การลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญาแต่ละฉบับ นั้นคงจะไม่เพียงพอต่อการที่จะการันทีได้ว่ารัฐที่เข้าลงนามในแต่ละอนุสัญญาจะยอมปฏิบัติตามหลักการภายในตัวอนุสัญญานั้นๆ เพราะวัตถุประสงค์ในอนุสัญญาหรือข้อตกลงในหลายฉบับมีวัตถุประสงค์ที่เอื้อประโยชน์ให้ประชาชนภายในรัฐซึ่งมักก่อให้เกิดภาระหน้าที่ต่อรัฐที่มากขึ้นหรือในบางอนุสัญญาถึงเป็นการจำกัดอำนาจของรัฐให้มีขอบเขตอำนาจน้อยลง ดังนั้นแล้วได้มีการตั้งองค์ขึ้นเพื่อเป็นองค์เฉพาะที่คอยตัดสิน ให้ความเป็นธรรมแก่กรณีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดหรืองดเว้นการกระทำตามอนุสัญญาเพื่อจะรักษาความมันคงในการใช้บังคับตัวอนุสัญญาให้สามารถบังคับได้จริงไม่ใช่เพียงแต่เป็นแค่ข้อตกลงที่ไร้ความหมายเท่านั้น

โดยองค์กรที่ถูกตั้งขึ้นให้มีหน้าที่ในการตัดสินข้อพิพาท หรือ การตัดสินการใช้ใช้บังคับของข้อตกลงหรืออนุสัญญานั้น ก็คือ องค์กรศาล โดยในบทความนี้จะกล่าวถึง ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ( The European Court Of Human Rights ) เป็นตัวอย่างในการศึกษา

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป เป็นสถาบันสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาค เป็นองค์กรในระดับระหว่างรัฐที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 1949 โดยสนธิสัญญากรุงลอนดอน ( Treaty of London 1949) มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และสร้างเสริมความเป็นประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐในทวีปยุโรป โดยศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมีสภาพบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ ความเป็นมาของศาลสิทธิมนุษยชน นั้น เริ่มต้นจากภายหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศยุโรปได้รับความเสียหายทางกายภาพและทางจิตใจเป็นอย่างมาก จึงต้องหาทางฟื้นฟูสภาพจิตใจของพลเมือง วิธีการนำมาใช้คือ จัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อความร่วมมือในทวีปยุโรป โดยผู้เสนอให้ก่อตั้งคือ เชอร์ วินสตัน เชอร์ชิล ซึ่งได้กล่าวไว้ในปี 1946 การปาฐกถาพิเศษ โดยเรียกร้องให้ฟื้นฟูยุโรปผ่านการรวมกลุ่มก่อตั้งคณะมนตรียุโรป โดยศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปนั้นตั้งอยู่ที่ Strasbourg แคว้น Alsace ประเทศฝรั่งเศส เพราะเสมือนเป็นศูนย์กลางของยุโรป โดยศาลสิทธิมนุษยชนนั้นมีประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกทั้งหมด 47 ประเทศ

โดยศาลสิทธิมนุษยชนได้ยกร่าง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรป 1950 ( European Conversation on Human Rights 1950 : ECHR ) โดยอนุสัญญาฉบับนี้มีโครงสร้าง เป็น Substantive law และ Institution โดยมีผลใช้บังคับเมื่อปี 1953 มีจำนวนสมาชิกเท่ากับCouncil of Europe คือ 47 ประเทศ โดยที่อนุสัญญาฉบับนี้รับรองสิทธิเสรีภาพที่คล้ายคลึงกับUDHR เช่นสิทธิในชีวิต สิทธิในเสรีภาพ และความปลอดภัย สิทธิที่จะไม่ได้รับการทรมาน สิทธิในการไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างทาส เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ความคิดและการนับถือศาสนา เป็นต้น[1]

การนำคดีขึ้นสู่ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปนั้น ปัจเจกชนคนธรรมดาก็สามารถที่จะดำเนินการฟ้องร้องเองได้ ซึ่งแม้ว่าคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนจะไม่มีผลเหนือศาลภายในประเทศหรือไม่มีผลเป็นการลบล้างคำพิพากษาของศาลภายในแต่ผลกระทบของคำพิพากษานั้นจะมีส่วนทำให้ประเทศสมาชิกได้ปรับบทกฎหมายภายในรัฐของตนให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว ซึ่งคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนนั้นย่อมเป็นบรรทัดฐานในการนิยามและกำหนดขอบเขตการคุ้มครองสิทธิต่างๆได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น [2] จึงเห็นได้ว่าผลของคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปแม้ว่าจะไม่ได้ถูกบังคับใช้โดยทันที่แต่ก็มีผลเป็นการใช้บังคับโดยปริยาย ซึ่งแตกต่างจากองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนเกี่ยวด้วยสิทธิมนุษยชน

องค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนเกี่ยวด้วยสิทธิมนุษยชน ( ASEAN Intergovernmental Commission Human Rights : AICHR ) เป็นองค์กรความร่วมมีของรัฐในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2009 ตามปฏิญญาชะอำ – หัวหิน ซึ่งต้องการที่จะให้บังคับการให้เป็นไปตาม กฎบัตรอาเซียน ( ASEAN Charter )ซึ่งมีใจความสำคัญในการสนับสนุนและคุ้มครองสอทธิมนุษยชนในอาเซียน ให้เป็นไปได้จริง[3] แต่ในทางปฏิบัตินั้น ไม่สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกับ ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเนื่องจากรัฐแต่ละรัฐก็มักจะทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนของรัฐตนเองเช่นเดียวกัน AICHR จึงมักไม่สามารถที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบข้อตกลงที่ได้กำหนดไว้ในกฎบัตรอาเซียนได้ และเมื่อแต่ละรัฐซึ่งเป็นองค์ที่อยู่ในAICHR ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ก็มักยินยอมต่อกัน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วนั้น แม้จะมีองค์กรความร่วมมือระหว่างอาเซียนเกี่ยวด้วยสิทธิมนุษยชน แต่ก็ไม่สามารถเป็นการรับรองสิทธิมนุษยชนภายในอาเซียนได้แต่อย่างใด แต่จะเสมือนเป็นองค์กรที่คอยเชื่อมโยงระหว่างรัฐภายในภูมิภาคอาเซียนมากกว่า

(เขียนบทความวันที่ 15 พฤษภาคม 2557)


[1] องค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนเกี่ยวด้วยสิทธิมนุษยชน แหล่งข้อมูล :เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา สิทธิมนุษยชน โดย อ.ดร. รัชนีกร ลาภวณิชชา ค้นข้อมูล : 15 พฤษภาคม 2557

[2]ผลของคำพิพากษาศาลสิทธิมนุษยชน แหล่งข้อมูล : http://www.l3nr.org/posts/465646 ค้นข้อมูล : 15 พฤษภาคม 2557

[3] ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป แหล่งข้อมูล :เอกสารประกอบคำบรรยายวิชา สิทธิมนุษยชน โดย อ.ดร. รัชนีกร ลาภวณิชชา ค้นข้อมูล : 15 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568157เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท