ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย


มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจนมีการศึกษาหรือไม่มีการศึกษาไม่ว่าผิวพรรณจะขาวหรือดำล้วนเป็นผู้มีศักดิ์ศรีที่เราเรียกกันว่าศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์

ศักดิ์ศรีคือการยอมรับของบุคคลในสังคมในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ที่ได้รับการยอมรับของสังคมมนุษย์และเรื่องดังกล่าวต้องเป็นเรื่องดีงามเท่านั้นเรื่องไม่ดีไม่ให้รวมเรื่องศักดิ์ศรีแม้ว่าพฤติกรรมที่บุคคลกระทำนั้นหรือต้องการกระทำนั้นๆอาจจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ได้ถือว่าเป็นเรื่องดีงามสมควรยกย่องและต้องถือปฏิบัติเพื่อเป็นมติขององค์การการยอมรับขององค์กรต่างๆนั้นด้วยก็ได้สิทธิเสรีภาพหรืออำนาจและหน้าที่ก็ถือเป็นศักดิ์ศรีด้วยเช่นกัน

มนุษย์คือบุคคลทั่วไปไม่เลือกว่าจะเป็นชนชาติใดเผ่าศาสนาผิวสีภาษาและอื่นๆที่มีสภาพเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนของสังคมตลอดจนองค์กร / องค์การที่อาศัยมติเป็นข้อปฏิบัติไปตามประสงค์ขององค์การองค์การก็ให้ถือเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน[1]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาราจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ ดังเช่น มาตรา 4 “ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง ”


มาตรา 26 “ การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ “


มาตรา 28 “ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน “

พิจารณาความหมาย คนเข้าเมืองหมายถึงสถานะทางกฎหมายของผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวหรือถาวร [2] ซึ่งกล่าวได้ว่า คนต่างด้าวก็เป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน ดังนั้น คนต่างด้าวก็ย่อมไม่อาจถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้

พิจารณากรณีศึกษาของน้องนิค นิวัฒน์ จันทร์คำ ในประเด็นการรับรองสิทธิเสรีภาพให้กับคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายเพื่อให้เขามีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในที่นี้จากข้อเท็จจริงคือ น้องนิคเกิดที่ประเทศเมียนมาร์ปัจจุบันอายุ 19 ปีไม่มีหนังสือรับรองการเกิดและไม่ถูกบันทึกในทะเบียนราษฎรของรัฐไทยจึงไม่มีแม้แต่ทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติตกเป็นคนไร้รัฐและไร้สัญชาติ

น้องนิคเกิดจากพ่อแม่ชาวไทยลื้อไม่มีเอกสารแสดงตนพ่อแม่พาน้องนิคอายุ 3-4 ปีที่ไม่มีเอกสารแสดงตนเข้าประเทศไทยมาฝากป้าจันทร์ที่จังหวัดตรังและในขณะนั้นก็ไม่ได้มีการดำเนินการใดๆเพื่อรับการสำรวจและมีบัตรประจำตัวน้องนิคจึงตกเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 แต่อย่างไรก็ดีขณะนั้นน้องนิคยังเป็นเด็กอายุ 3 ขวบจึงยังไม่สามารถกำหนดเจตนาได้คือไม่มีเจตนาได้แต่เพียงติดสอยห้อยตามพ่อแม่ เมื่อน้องนิกอาศัยอยู่ได้ระยะหนึ่งคุณป้าจันทร์ก็ได้นำน้องนิกเข้าโรงเรียนในขณะนั้นคุณป้ากลัวว่าโรงเรียนจะไม่รับน้องนิกเข้าศึกษาจึงได้นำเอกสารประจำตัวของลูกชายของคุณป้ามาใช้แทนสุดท้ายน้องนิกก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียน

แต่แม้ว่าคุณป้าจะไม่ได้ใช้เอกสารของลูกชายของคุณป้าจันทร์แสดงตัวเป็นน้องนิกในการเข้าศึกษาแม้ว่าน้องนิกจะไม่มีเอกสารแสดงตัวใดๆเลยก็ตามน้องนิกผู้ซึ่งเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายก็ยังมีสิทธิในการศึกษาเพราะสิทธิในการได้รับการศึกษาเป็นสิทธิมนุษยชน ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 26 (1)[3] บัญญัติว่า

“ทุกคนมีสิทธิในการศึกษาการศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐานการศึกษาระดับประถมจะต้องเป็นภาคบังคับการศึกษาด้านวิชาการและวิชาชีพจะต้องเปิดเป็นการทั่วไปและการศึกษาระดับสูงขึ้นไปจะต้องเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคสําหรับทุกคนบนพื้นฐานของคุณสมบัติความเหมาะสม”

และยังมีกฎหมายภายในรับรองตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2552[4]

มาตรา 10 “การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ”

และมาตรา 49รัฐธรรมนูญไทยปี 2550 “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย”

อนึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นมีผู้ให้คำจำกัดความไว้หลากหลายแต่พอจะกล่าวได้ว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นเป็นคุณค่าที่มีลักษณะเฉพาะอันสืบเนื่องมาจากความเป็นมนุษย์และเป็นคุณค่าที่ผูกพันอยู่เฉพาะกับความเป็นมนุษย์เท่านั้นโดยไม่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่นใดทั้งสิ้นเช่นเชื้อชาติศาสนา ดังนั้นแม้ว่าจะเป็นคนต่างด้าวก็ย่อมไม่อาจถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ 


[1] ความหมายของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ http://www.ongkarn-leio.org/knonwlege.php

[2] คนเข้าเมืองhttp://stein-advisors.com/th/คนเข้าเมือง.html

[3] ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนhttp://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/udhrt.pdf.

[4] พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ http://www.wbtvonline.com/pdf/9-04-201409-25-55.pdf.

หมายเลขบันทึก: 568130เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท