คนต่างด้าวในประเทศไทย


ปัจจุบันความเป็นจริงที่ปฏิเสธมิได้ว่า มีคนต่างด้าวจำนวนไม่น้อยอาศัยอยู่ในประเทศไทย และเมื่อกล่าวถึงการประกอบอาชีพ ก็อาจกล่าวได้ว่าทุกคนมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ แต่การมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพก็อาจจะถูกจำกัดบางประการสำหรับคนต่างด้าว

ต่อมาพิจารณาว่าใครคือคนต่างด้าว คนต่างด้าว (aliens) หมายถึงบุคคลซึ่งพำนักอยู่ในรัฐที่ตนมิได้เป็นคนสัญชาตินั้นหรือเป็นพลเมืองของรัฐนั้นพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.2508 มาตรา 4 บัญญัติว่า "คนต่างด้าวหมายถึงผู้ซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย" โดยทั่วไปแล้วประชาชนที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินของรัฐหนึ่งรัฐใดย่อมประกอบไปด้วยบุคคลสองจำพวกคือพลเมืองของรัฐนั้นจำพวกหนึ่งกับอีกพวกหนึ่งคือพลเมืองของรัฐอื่นซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าวคนต่างด้าวที่เข้ามาอาศัยในดินแดนของรัฐใดย่อมอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายของรัฐเช่นเดียวกับพลเมืองของรัฐนั้นแต่โดยทั่วไปแล้วคนต่างด้าวจะถูกจำกัดสิทธิและหน้าที่บางประการซึ่งเรื่องนี้แยกออกพิจารณาได้ 2 ประการคือสิทธิตามกฎหมายเอกชนและสิทธิตามกฎหมายมหาชน [1]

เสรีภาพในการประกอบอาชีพได้ถูกรับรอง ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 23 บัญญัติว่า “(1) ทุกคนมีสิทธิในการทํางานในการเลือกงานโดยอิสระในเงื่อนไขที่ยุติธรรมและเอื้ออํานวยต่อการทำงานและในการคุ้มครองต่อการว่างงาน[2]

และประเทศไทยได้รับรองสิทธิในเสรีภาพในการประกอบอาชีพไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ม.43บัญญัติว่า[3]

“บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศการคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภคการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนการจัดระเบียบการประกอบอาชีพการคุ้มครองผู้บริโภคการผังเมืองการรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมสวัสดิภาพของประชาชนหรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน”

พิจารณากรณีศึกษา ครอบครัวหม่องภา ครอบครัวหม่องภาประกอบด้วยพ่อหม่องเป็นคนจากรัฐยะไข่ประเทศเมียนมาร์แม่ภาเป็นคนรัฐฉานประเทศเมียนมาร์น้องดวงตาและน้องจุลจกรเป็นบุตรของทั้งสองซึ่งเกิดในประเทศเมียนมาร์และอพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทยที่จังหวัดเชียงใหม่ ข้อเท็จจริงต่อมานายหม่องนางภาและบุตรทั้ง 2 เกิดที่ประเทศเมียนมาร์จึงไม่มีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทยโดยการเกิดจึงไม่อาจมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิดและยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าประเทศเมียนมาร์ได้บันทึกบุคคลทั้ง 4 ในทะเบียนราษฎรพวกเขาจึงตกเป็นคนไร้รัฐและไร้สัญชาติสมาชิกในครอบครัวหม่องภาจึงเป็นคนต่างด้าวตามกฎหมายไทยเนื่องจากไม่มีสัญชาติไทยและได้เข้ามาไทยโดยไม่มีหนังสือเดินทางที่ออกโดยเมียนมาร์เพราะไม่มีสถานะเป็นคนในรัฐจึงไม่อาจเป็นคนเข้าเมืองตามกฎหมายพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522 และมีสถานะเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายไม่มีสิทธิอาศัยในประเทศไทย

แต่พอมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานครอบครัวหม่องภาก็เป็นคนต่างด้าวที่มีความสัมพันธ์กับประเทศไทยเพราะว่าครอบครัวนี้อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 14 ปีพูดภาษาไทยได้ดีจ่ายภาษีทางอ้อมให้กับประเทศไทยตลอดมาทั้งหมดนี้ทำให้พ่อหม่องกับแม่ภาจากที่เป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติก็ได้ถูกบันทึกลงทร.38/1 เพื่อแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎรรวมทั้งมี Overseas Workers Identification Card ส่วนในเรื่องสัญชาติพ่อหม่องและแม่ภาได้รับการรับรองสถานะว่าเป็นคนสัญชาติเมียนมาร์แล้วและมีหนังสือเดินทางที่รัฐบาลเมียนมาร์ออกให้แล้วเช่นกัน

พิจารณาต่อมาในการประกอบอาชีพของบุคคลในครอบครัวหม่องภาที่แม้ทุกคนยังมีสถานะของคนต่างด้าวไม่มีสิทธิอาศัยนั้นแต่ก็ยังคงมีสิทธิในการประกอบอาชีพดังที่รับรองไว้ตามข้อ 23 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและมีสิทธิการเลือกงานโดยอิสระดังที่รัฐธรรมนูญไทยปี 2550 รับรองในมาตรา 43 แต่การที่คนต่างด้าวในประเทศไทยถูกจำกัดมิให้ประกอบอาชีพบางประเภทตาม

 โดยในปัจจุบันได้มีการกำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดในอาชีพและวีชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
พ.ศ. 2522 [4]มีทั้งสิ้น 39 อาชีพ ได้แก่

1. งานกรรมกร

2. งานกสิกรรรม งานเลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรืองานประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญ งานเฉพาะสาขา หรืองานงานควบคุมดูแลฟาร์ม

3. งานก่ออิฐ งานช่างไม้ หรืองานก่อสร้างอื่น


4. งานแกะสลักไม้

5. งานขับขี่ยานยนต์ หรืองานขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เครื่องจักรหรือเครื่องกล ยกเว้นงานขับขี่เครื่องบินระหว่างประเทศ

6. งานขายของหน้าร้าน

7. งานขายทอดตลาด

8. งานควบคุม ตรวจสอบหรือให้บริการบัญชี ยกเว้น งานตรวจสอบภายในชั่วคราว

9. งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย

10. งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย

11. งานทอผ้าด้วยมือ

12. งานทอเสื่อ หรืองานทำเครื่องใช้ด้วยกก หวาย ปอ ฟาง หรือเยื่อไม้ไผ่

13. งานทำกระดาษสาด้วยมือ

14. งานทำเครื่องเขิน
 15. งานทำเครื่องดนตรีไทย

16. งานทำเครื่องถม

17. งานทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก

18. งานทำเครื่องลงหิน

19. งานทำตุ๊กตาไทย

20. งานทำที่นอนผ้าห่มนวม

21. งานทำบัตร

22. งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ

23. งานทำพระพุทธรูป


24. งานทำมีด

25. งานทำร่มด้วยกระดาษหรือผ้า

26. งานทำรองเท้า


27. งานทำหมวก

28. งานนายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้น งานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

29. งานในวิชาชีพวิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ทั้งนี้ไม่รวมที่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ

30. งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบเขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ

31. งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย

32. งานปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา

33. งานมวนบุหรี่ด้วยมือ

34. งานมัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว

35. งานเร่ขายสินค้า

36. งานเรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ

37. งานสาวและบิดเกลียวไหมด้วยมือ

38. งานเสมียนพนักงานหรืองานเลขานุการ

39. งานให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี 


**หมายเหตุ ตามมติคณะรัฐมนตรี ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 3 สัญชาติ (พม่า ลาว และกัมพูชา) 
ทำงานได้ 2 อาชีพ คือ 1. งานกรรมกร และ 2. งานรับใช้ในบ้าน

การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดสิทธิในการประกอบอาชีพซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าวซึ่งแม้ประเทศไทยได้มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าวแต่เนื่องด้วยสถานะความเป็นคนต่างด้าวรัฐไทยจึงต้องมีเงื่อนไขในการใช้สิทธิบางประการภายในประเทศเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐจะเห็นได้ว่าเสรีภาพในการประกอบอาชีพเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่งเสรีภาพนี้สามารถจำกัดได้แต่การจำกัดเสรีภาพนี้โดยเฉพาะคนต่างด้าวนั้นก็อาจกลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ดังนั้นประเทศไทยก็ควรจะพิจารณากฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของต่างด้าว เพื่อรับรองสิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าวมากขึ้น


[1] ต่างชาติกับต่างด้าวแตกต่างกันอย่างไร?http://guru.sanook.com/21278/ต่างชาติ-กับ-ต่างด้าว-แตกต่างกันอย่างไร/

[2] ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน http://www.l3nr.org/posts/367668

[3] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. 2550 http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Consti...

[4] อาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ http://www.mol.go.th/employee/occupation%20_prohibited

หมายเลขบันทึก: 568126เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท