ครอบครัวข้ามชาติ


    ในปัจจุบันเนื่องจากการข้ามพรหมแดนในเป็นเรื่องง่ายกว่าสมัยก่อนและการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นก็ยังคงพบเห็นได้ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ด้อยพัฒนา ด้วยเหตุนี้ประชากรในประเทศดังกล่าวอาจหนีจากสภาวะดังกล่าวโดยข้ามพรหมแดนไปยังประเทศใกล้เคียง ส่งผลให้การข้ามไปมาระหว่างพรหมแดนของแต่ละประเทศนั้นเกิดขึ้นมากมาย และอาจก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวข้ามชาติตามมาซึ่งนับเป็นปัญหาสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง

            ครอบครัวข้ามชาติ หมายถึง ครอบครัวที่มีสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นบุคคลข้ามชาติเข้ามา แม้จะมีการสร้างครอบครัวหรือมีบุตรในภายหลังข้ามชาติมาเเล้ว ครอบครัวนั้นก็ยังถือเป็นครอบครัวข้ามชาติ

ปัญหาครอบครัวข้ามชาตินั้นถือเป็นปัญหาเกี่ยวกับกรณีบุคคลไร้สัญชาติ คือ การที่บุคคลไม่ได้รับรองสถานะความเป็นพลเมืองจากรัฐนั้นๆ เช่นนี้บุคคลดังกล่าวอาจถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรืออาจไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือสิทธิบางประการที่ตนควรได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวนับเป็นปัญหาที่เกิดอย่างมากมายไม่ว่าในสังคมไทยหรือสังคมทั่วโลก

         ตัวอย่างกรณีบุคคลข้ามชาติของครอบครัวเจดีย์ทอง[1]

       นายอาทิตย์ เจดีย์ทอง ได้รู้จักและพบรักกับนางสาวแพทริเซีย ในขณะที่เดินทางไปทำงาน ณ ไต้หวัน แต่ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๒ เมื่อสัญญาจ้างแรงงานของนายอาทิตย์หมดสิ้นสุด เขาจึงต้องเดินทางกลับมาประเทศไทย แต่นางสาวแพทริเซียยังคงทำงานต่อไปในไต้หวันจนกระทั่งสัญญาแรงงานสิ้นสุดลงในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๕๒

ในระหว่างเดินทางจากไต้หวันกลับประเทศมาเลเซีย นางสาวแพทริเซียได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพื่อเยี่ยมนายอาทิตย์ โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองบันทึกในการตรวจลงตราบนหนังสือเดินทางของเธอว่า เธอจึงอาจอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้จนถึงวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๖ในระหว่างที่นางสาวแพทริเซียได้พักอาศัย ณ บ้านของนายอาทิตย์ในประเทศไทย นายอาทิตย์และนางสาวแพทริเซียได้ตกลงกันที่จะอยู่กินฉันสามีภริยา ณ บ้านห้วยส้าน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และได้มีบุตรด้วยกัน 3 คน ซึ่งบุตรทั้งสามคนได้รับการแจ้งเกิดและอยู่ในทะเบียนราษฎรของรัฐไทย ต่อมา มีบุคคลที่นายอาทิตย์นับถือแนะนำให้นางสาวแพทริเซียไปร้องขอต่ออำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เพื่อรับการสำรวจในสถานะของ “บุคคลที่ไม่มีสถานะบุคคลตามกฎหมายการทะเบียนราษฎร” 

            เช่นนี้สรุปจากข้างต้นได้ว่านางสาวแพททริเซียนั้นอยู่ในประเทศไทยเกินกำหนดที่ได้รับอนณุญาติ และเมื่อต้องการอยู่ต่อเป็นการถาวรเพราะต้องการจะอยู่กินฉันสามีภรรยากับนายอาทิตย์ จึงไปแจ้งแก่รัฐไทยว่าเป็นบุคคลไร้รัฐเพื่อบันทึกให้เป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะตามกฎหมาย ทั้งที่จริงๆแล้วนาวสาวแพททริเซียมิใช่บุคคลไร้รัฐแต่อย่างใดแต่เป็นคนที่อยู่ในความรับรองของรัฐมาเลเซีย การกระทำดังกล่าวนั้นส่งผลให้นางสาวแพททริเซียเป็นบุคคลไม่มีสถานะหรือไร้รัฐตามกฎหมายไทยแต่ยังคงมีสัญชาติมาเลเซีย จึงกลายเป็นบุคคลสองสถานะ ส่งผลให้ลูกที่เกิดมาได้รับแต่สัญชาติไทยตามหลักดินแดนแต่ไม่ได้รับสัญชาติมาเลเซียเพราะสถานะทางทะเบียนในประเทศไทยของนางสาวแพททริเซีย เป็นบุคคลไร้รัฐ

              กรณีนี้นางสาวแพททริเซียจึงไม่ได้รับความคุ้มครองหรือได้รับสิทธิต่างๆเท่าที่ควรจากประเทศไทยเพราะไปแจ้งว่าเป็นบุคคลไร้รัฐ ซึ่งเป็นการทำผิดวิธีเพราะหากนางสาวแพททริเซียทำวีซ่าคู่สมรส จะทำให้ได้รับการคุ้มครองและรับรองสถานะตามกฎหมายไทยคือได้รับทั้งสัญชาติไทยและมาเลเซีย อีกทั้งบุตรทั้งสามก็ยังอาจได้รับสัญชาติมาเลเซียเพิ่มนอกจากสัญชาติไทยที่ได้รับตามหลักดินแดนเพราะ มารดาของตนมีสัญชาติมาเลเซีย

ดังนั้น ข้าพคิดว่าประเทศไทยนั้นควรจัดหน่วยงานให้ความรู้และแนะแนวทางในการขอสัญชาติหรือคดีเกี่ยวกับสัญชาติ และหามาตราการมารองรับและแก้ไขปัญหาในด้านบุคคลไร้สัญชาติโดยเฉพาะ  เพราะจากข้อเท็จจริงข้างต้นนั้นปัญหานั้นเกิดมาจากความไม่รู้และใช้กฎหมายในทางที่ไม่ถูกต้อง  ปัญหาคนไร้สัญชาติจะได้ลดลงจากรัฐไทย

แหล่งที่มาของข้อมูล

[1 ] กรณีบุคคลข้ามชาติของครอบครัวเจดีย์ทอง (ออนไลน์) http://www.gotoknow.org/posts/566779

หมายเลขบันทึก: 567953เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท