ศาลสิทธิมนุษยชน


ศาลสิทธิมนุษยชน : ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป

       จากการที่ได้ศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมาแล้วนั้น จะเห็นว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนต้องได้รับการรับรอง ไม่อาจถูกละเมิดได้ มีการตรากฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในมารับรองสิทธิมนุษยชน เพื่อให้มีสภาพบังคับได้จริงและเพื่อเป็นสิ่งที่รับประกันได้ว่าบุคคลจะไม่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนย่อมจึงต้องมีมาตรการในการลงโทษผู้ที่ทำการละเมิดกฎหมายหรือละเมิดสิทธิดังกล่าวโดยกระทำได้ผ่านกระบวนการศาล ซึ่งก็คือศาลสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้มีการตั้งศาลสิทธิมนุษยชนขึ้นในหลายภูมิภาค เช่น ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งอัฟริกา และ ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งทวีปอเมริกา

       ในที่นี้จะขอกล่าวถึงศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป เป็นองค์กรตุลาการขององค์การสภาแห่งยุโรป (Council of Europe)ซึ่งมี 47 ประเทศ จัดตั้งขึ้นภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานยุโรป(European Convention on Human Rights หรือ ECHR) ซึ่งมีผลบังคับใช้ใน ค.ศ. 1959 ตั้งอยู่ที่เมืองสตราสบูร์ก (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอันเป็นการรับรองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่ในการตีความข้อกฎหมายและพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนตามอนุสัญญา ECHR

      ผู้ที่สามารถฟ้อง คือ ปัจเจกชน (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) รวมถึง Non-Governmental Organization (NGO) และรัฐที่เป็นสมาชิกใน ECHR ซึ่งปัจเจกชนไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติของรัฐสมาชิกก็ได้ ส่วนผู้ที่จะตกเป็นจำเลยได้ คือรัฐสมาชิก ปัจเจกชน และองค์กรเอกชนไม่สามารถตกเป็นจำเลยได้

       ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปประกอบด้วยผู้พิพากษาเท่ากับจำนวนรัฐภาคีสมาชิกอนุสัญญา ECHR ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยที่ประชุมสมาชิกรัฐสภายุโรป (Parliamentary Assembly) ประเทศละหนึ่งคน ในการดำเนินคดีจำนวนผู้พิพากษาขององค์คณะจะขึ้นอยู่กับประเภท ความยากง่ายและความสำคัญของคดี ขั้นตอนในการที่จะยื่นคำร้องให้ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปพิจารณาคดีนั้น ผู้ร้องที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจะต้องฟังคำพิพากษา ที่ศาลภายในประเทศพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และต่อมาต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ เมื่อเสร็จสิ้นแล้วผลยังไม่เป็นที่น่าพอใจ จึงยื่นให้ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ศาลภายในของแต่ละประเทศจะต้องนำอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรปมา ใช้บังคับ หากรัฐสมาชิกไม่ปฏิบัติตามอนุสัญญาดังกล่าว รัฐต้องรับผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ นั่นคือตกเป็นจำเลยในการฟ้องร้องคดีนั่นเอง ตามมาตรา 33 และ 34 ของอนุสัญญาฯ คำพิพากษาของศาล ผูกพันรัฐภาคีให้ต้องปฏิบัติตามโดยรัฐจะต้องชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่พบว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่คำพิพากษาจะไม่มีผลลบล้างคำพิพากษาของศาลภายในรัฐภาคี และไม่มีผลเปลี่ยนแปลงกฎหมายของรัฐภาคี

       จะเห็นได้ว่าในยุโรปนั้นมีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ความช่วยเหลือหรือคุ้มครองสิทธิบนพื้นฐานของหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ศาลสิทธิมนุษยชนจึงเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญ และนอกจากนั้นศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปอาจเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างศาลสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอื่นๆต่อไปอีกด้วย

อ้างอิงข้อมูล

ภาณุพงศ์ เพชรบูรณ์. ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ;ECHR model Human Rights of ASEAN. เข้าถึงได้จาก: http://www.l3nr.org/posts/535929 [ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 14 พฤษภาคม 2557

EUROPEAN COURT OF HUMAN RIGHTS. เข้าถึงได้จาก: http://www.library.nhrc.or.th/Dictionary/search_dic.php?Search=E&page=2 [ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 14 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 567950เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท