กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


          สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีโดยเสมอภาคกัน เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่าง มีศักดิ์ศรีมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่าง เต็มที่และสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิดและเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้น

เช่น    มาตรา ๔ บัญญัติว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง”

         การลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นมีอยู่ด้วย 5 ประเภท คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ซึ่งในประเด็นนี้ก็ได้มีนักวิชาการออกมาแสดงความคิดเห็น ซึ่งสามารถที่จะแบ่งเป็นสองความคิดเห็น คือ ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการมีโทษประหารชีวิตพร้อมต้องการให้ยกเลิกการประหารชีวิต และฝ่ายที่เห็นด้วยกับการคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิตและต่อต้านยกเลิกโทษประหารชีวิต

       ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่า การลงโทษประหารชีวิตเป็นการปฏิเสธสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จำเป็นที่สุดสำหรับบุคคล นั่นคือ เป็นการละเมิด “สิทธิในการมีชีวิต” ซึ่งได้รับการรับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โทษประหารชีวิตเป็นการสังหารบุคคลโดยรัฐเป็นผู้ลงมืออย่างเลือดเย็นและมีการไตร่ตรองไว้ล่วงหน้า และที่น่าหวาดหวั่นที่สุด คือ การลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม[2] และได้มีงานวิจัยที่จัดทำขึ้นสำหรับสหประชาชาติในปี 2531 และ 2545 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างโทษประหารชีวิตกับอัตราการฆาตกรรม พบว่า การคงไว้ซึ่งอัตราโทษประหารชีวิตไม่ได้ช่วยยับยั้งอัตราการฆาตกรรมมากไปกว่าอัตราโทษจำคุกตลอดชีวิต ดังนั้น ในความเป็นจริงการคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิตไม่สามารถยับยั้งหรือลดจำนวนการเกิดอาชญากรรมได้ กระบวนการยุติธรรมที่ไม่สมบูรณ์นั้นหลายครั้งนำไปสู่การลงโทษผู้บริสุทธิ์ ผู้ต้องหาหลายคนถูกจำคุกยาวนานหลายปีโดยไม่ได้ทำความผิด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงโทษด้วยการประหารชีวิตนั้นไม่สามารถย้อนกลับผลของการกระทำได้ ผู้ต้องหาหลายคนซึ่งโดยส่วนมากคือคนที่ไม่มีอิทธิพลใด หรือเป็นผู้ยากไร้ต้องกลายเป็นแพะรับบาป และเมื่อได้ถูกประหารชีวิตไปแล้ว การจะเรียกชีวิตกลับคืนเมื่อยืนยันความบริสุทธิ์ได้แล้วนั้นคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นแล้วทางแก้ปัญหาคือ การยกเลิกโทษประหารชีวิต [3]

        ส่วนฝ่ายที่เห็นด้วยกับการมีโทษประหารและต่อต้านการยกเลิกโทษประหารนั้น ให้เหตุผลว่าเพราะกลัวว่าหากไม่มีโทษประหาร อาชญากรรมจะเพิ่มสูงขึ้น และเพื่อก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมเนื่องจากสังคมมนุษย์ที่มีประชากรจำนวนมากจะมีความแตกต่างหลากหลายค่อนข้างสูง ทั้งลักษณะทางกายภาพ และความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจ โทษประหารชีวิตจึงเป็นเครื่องมือควบคุมให้ผู้ที่ก่อความเดือด ร้อนวุ่นวายต่อผู้อื่น และสังคมต้องได้รับการลงโทษ และเป็นเครื่องมือที่จะป้องกันมิให้เกิดการกระทำความผิดขึ้นเนื่องจากความเกรงกลัวในผลจากการกระทำความผิดต่อมา[4] และในปัจจุบันประเทศไทยก็ได้ใช้กฎหมายลงโทษประหารชีวิตในกรณีที่เป็นความผิดที่หนักหนา หากพิจารณาไปถึงความผิดของผู้จะต้องได้รับโทษประหารชีวิตแล้ว เขาหรือเธอก็สมควรได้รับโทษขั้นรุนแรง เพราะหากว่าความผิดที่ได้กระทำเป็นสิ่งที่มีความร้ายแรง และมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อผู้อื่นและสังคมส่วนรวม เป็นต้นว่าเขาหรือเธอไปทำลายชีวิตของบุคคลอื่น เมื่อมองในแง่นี้ สมควรแล้วที่เขาหรือเธอผู้นั้นจะต้องได้รับการตอบแทนในรูปแบบเดียวกัน น่าจะจัดได้ว่าเป็นความเท่าเทียมกัน

อ้างอิง

http://kittayaporn28.wordpress.com/%E0%B9%82%E0%B8...

http://th.wikipedia.org/w/index.php?t=Search&searc...

ค้นหาวันที่ 7 พค 2557 

หมายเลขบันทึก: 567592เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2014 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท