aungor
นางสาว บุญศิริ ศิริสวัสดิ์

การตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศ (VOCs)


         

สารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศ (VOCs)

           สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds, VOCs) สาร VOCs เป็นกลุ่มสารประกอบเคมีอินทรีย์ซึ่งปกติจะมีสถานะเป็นก๊าซหรือไอที่อุณหภูมิห้อง หรือ อาจกล่าวได้ว่า สาร VOCs เป็นกลุ่มสารประกอบเคมีอินทรีย์ที่ระเหยเป็นไอได้ในสภาวะที่อุณหภูมิและความดันปกติ สามารถระเหยกลายเป็นไอได้ที่อุณหภูมิห้อง โมเลกุลส่วนใหญ่ ประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนและไฮโดรเจน อาจมี ออกซิเจนหรือคลอรีนร่วมด้วยการระเหยได้ง่ายที่อุณหภูมิห้อง ทำให้สามารถเกิดการฟุ้งกระจาย และ รั่วซึม (Fugitive Emission)ทั้งจากกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมการใช้เชื้อเพลิงในภาคคมนาคมขนส่งหรือ การใช้สารตัวทำละลาย (solvents) ในกิจการต่าง ๆสาร VOCs สามารถตรวจพบได้ทั้งในพื้นที่ชุมชนเมือง และ พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม เช่น กรุงเทพมหานคร และ มาบตาพุด โดยอาจมี ความแตกต่างกันของแหล่งกำเนิดหลักในแต่ละพื้นที่

สาเหตุในการควบคุมสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

           สาร VOCs เป็นสารตั้งต้นของปฏิกิริยา photochemical smog และทำปฏิกิริยากับ NOx ทำให้เกิดก๊าซโอโซนและสารอื่นซึ่งเป็นสารมลพิษทางอากาศทุติยภูมิสาร VOCs ในรู ปของเหลวหรือสารละลาย ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำน้ำใต้ดิน และดิน

ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย

          สาร VOCs บางกลุ่มเป็นสารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยโดยเป็นสารก่อมะเร็ง หรือ มีแนวโน้มว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ตัวอย่างเช่น Benzene, Vinyl chloride การได้รับสัมผัสที่ความเข้มข้นต่ำอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองตา จมูก คอ มี อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน สาร VOCs ที่สะสมในอาคารสิ่งก่อสร้าง อาจเป็นสาเหตุ ของ sick building syndrome

การเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ VOCs

- ความถี่ : อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

- ช่วงเวลาการเก็บตัวอย่าง: แบบต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง

-กรณีที่ตัวอย่างอากาศที่เก็บมาไม่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ ให้เก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์

-ใหม่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เก็บตัวอย่างที่ไม่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้

                                                              

เทคนิคการเก็บตัวอย่าง VOCs

-ควรปล่อยให้หลอดสัมผัสอุณหภูมิบริเวณสถานที่ติดตั้ง ก่อนเปิดปลายหลอดและเปลี่ยนเป็นฝาปิดสําหรับเก็บอากาศ (diffusive cap)

-ไม่เปิดฝาด้านที่ไม่ใช้ เก็บตัวอย่าง

-ใช้ถุงมือทุกครั้งที่สัมผัสหลอดเก็บตัวอย่าง

-ควรมี field blank, duplicate tube

-ปิดปลายหลอดให้แน่นก่อนส่งวิเคราะห์

        

 

การดำเนินการติดตามตรวจสอบ VOCs ในบรรยากาศของกรมควบคุมมลพิษ

กรมควบคุมมลพิษ ได้ดำเนินการพัฒนางานด้านการติดตามตรวจสอบสารพิษในอากาศ (Air Toxics)โดยเฉพาะสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)ซึ่งเริ่มเก็บตัวอย่างในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล3แห่งและพื้นที่อ้างอิง 1แห่งปี 2546 ดำเนินการติดตามตรวจสอบกลุ่มสารประกอบคาร์บอนิล(Carbonyl compounds) ได้แก่Formaldehyde, Acetaldehydeและ Acrolein ปี 2547 เพิ่มจุดเก็บตัวอย่าง และเพิ่มเติมการตรวจวัดกลุ่มสารประกอบอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Aromatic hydrocarbon compounds) ได้ แก่ Benzene, Toluene, Ethylbenzene และ Xyleneปี 2548 กรมควบคุมมลพิษดำเนินโครงการ Development of Environmental

and Emission Standards of VOCs (Volatile Organic Compounds) in the Kingdom of Thailand โดยได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากรัฐบาลญี่ปุ่น(JICA) ระยะเวลา 2 ปี : มีนาคม 2549 – กุมภาพันธ์ 2551 โดยกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญได้แก่ การพัฒนาศักยภาพระบบการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศใน บรรยากาศในเรื่อง VOCs

การพัฒนาศักยภาพการติดตามตรวจสอบ VOCs ภายใต้ JICA Program

เกณฑ์การพิจารณากำหนดจุดเก็บตัวอย่างที่เหมาะสม

-พื้นที่ริมถนน

-พื้นที่พักอาศัย

-พื้นที่ใกล้เคียงอุตสาหกรรม (รวมทั้งสถานีบริการน้ำมันและ แหล่งกำเนิดแบบ (fugitive source)

การพัฒนาการเก็บและการวิเคราะห์ตัวอย่าง

-ศักยภาพของห้องปฏิบัติการในการวิเคราะห์ ตัวอย่างอากาศ

-วิธีการวิเคราะห์ อ้างอิงตาม USEPA TO-14 TO-15

-ก๊าซมาตรฐานฯ

ระยะเวลาการเก็บตัวอย่าง

-จุดเก็บตัวอย่าง 1 แห่ง เก็บทุกเดือน ตัวอย่างละ 24 ชั่วโมง

แผนการควบคุมและประกันคุณภาพการเก็บและการวิเคราะห์ตัวอย่าง - QA/QC

เกณฑ์การพิจารณากำหนดจุดเก็บตัวอย่าง

-พื้นที่ริมถนน (Roadside Area) ขึ้นกับความหนาแน่นของยานพาหนะ โดยจุด เก็บตัวอย่าง จะต้องห่างจากขอบถนนหลักประมาณ 1.5 เมตร

-พื้นที่ พักอาศัย (Residential Area) ตั้งอยู่ บริเวณที่ มี ประชากรพักอาศัยโดยจุดเก็บตัวอย่าง ต้องห่างจากขอบถนนหลักไม่น้อยกว่า 15 เมตร โดยความสูง

ของสิ่งกีดขวางที่ ล้อมรอบจุดเก็บตัวอย่าง ต้องทามุมไม่ เกิน 30 องศาเมื่อวัดจากแนวระดับ

-พื้นที่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรม (Near Industrial Area) ตั้งอยู่บริเวณที่มีประชากร ใกล้แหล่งอุตสาหกรรม และอยู่ในที่โล่ง หรือคาดว่าจะเป็นจุดที่มี ความเข้มข้นสูง

การดำเนินการติดตามตรวจสอบ VOCs ในบรรยากาศของกรมควบคุมมลพิษ

- ปี 2550 กรมควบคุมมลพิษ โดยสานักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง ได้ปรับแผนการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวัง VOCs ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จังหวัดระยอง และจังหวัดเชียงใหม่โดยแบ่งประเภทการติดตาม

ตรวจสอบเป็น 2 กลุ่ม

        -กลุ่มสารประกอบคาร์บอนิล (Carbonyl compounds) ได้แก่ Formaldehyde, Acetaldehyde, Acrolein, Acetone และ Propionaldehyde

        -กลุ่มสารอินทรีย์ระเหยง่าย จำนวน 9 ชนิด ตามมาตรฐานค่าสารอินทรีย์ระเหยง่ายใน บรรยากาศโดยทั่วไปในเวลา    1ปี    (ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่30 (พ.ศ. 2550))

-ปี 2551 ปรับแผนโดยเพิ่มจุดเก็บตัวอย่างเพื่อขยายการเฝ้าระวังในพื้นที่จังหวัดระยอง ปัจจุบัน เก็บตัวอย่างเป็นประจำทุกเดือน ใน 9 พื้นที่

-ปี 2552 เพิ่มพื้นที่เก็บตัวอย่างในจังหวัดสงขลา และจังหวัดขอนแก่น

 

ถังเก็บอากาศ (canister)

                            

หมายเลขบันทึก: 567589เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2014 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2014 11:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท