สาเหตุที่คุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น


 ไม่แปลกเลย หากคุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเพราะชอบรับประทานอาหารที่มันๆในปริมาณมากๆ ของหวาน ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์หรือที่มีน้ำตาลสูง หรือเมื่อคุณได้รับพลังงานจากการทานเข้ามามากกว่าที่ได้เผาผลาญออกไป

แต่ถ้าหากคุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แม้จะได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมแล้วก็ตาม คุณหมอ Michelle May ผู้เขียนหนังสือ Am I Hungry? What to Do When Diets Don't Work ได้อธิบายไว้ว่า นั่นอาจเกิดจากสาเหตุหลายๆอย่างประกอบกัน ซึ่งมีดังต่อไปนี้คือ

การอดนอน- ร่างกายจะทำงานเป็นปกติหากได้พักผ่อนเพียงพอ การอดนอนจะทำให้ร่างกายเกิดความเครียดและอยากรับประทานเพื่อคลายเครียด และยังเริ่มสะสมไขมันมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้คุณรับประทานอาหารดึกเกินไปด้วย หากรู้สึกเพลียไม่มีแรง เผลอหลับบ่อย หงุดหงิด นั่นแปลว่าคุณอดนอน คุณควรพยายามนอนให้ได้คืนละ 8 ชั่วโมง ควรเพิ่มเวลานอนให้ได้มากขึ้นๆทีละน้อย โดยเพิ่มขึ้นครั้งละ 15 นาที แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนกว่าจะรู้สึกว่าได้นอนเพียงพอแล้ว การออกกำลังกายและนอนให้ตรงเวลาจะช่วยให้หลับได้ดีขึ้น

ความเครียด- เราอยู่ในสังคมที่ต้องทำงานมากๆ เพื่อให้มีทรัพย์สินมากๆ แม้ว่าความเครียดจะช่วยผลักดันเราให้ก้าวหน้าขึ้นก็ตาม แต่ก็ส่งผลเสียต่ออารมณ์และความรู้สึกของเราด้วยเช่นกัน ผลคือการตอบสนองของกลไกภายในร่างกายต่อความเครียดเหล่านี้โดยมีการเผาผลาญที่ช้าลงๆ สะสมไขมันมากขึ้นๆ โดยเฉพาะในบริเวณหน้าท้อง คุณ Susan Bowerman นักโภชนาการแห่งมหาวิทยาลัย UCLA ได้กล่าวถึงความอยากในการรับประทานเพื่อคลายเครียดว่ามักจะทำให้อยากรับประทานอาหารจำพวกแป้ง ซึ่งจะไปเพิ่มสารซีโรโทนินในสมองเพื่อคลายเครียดและทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งเธอได้แนะนำให้ออกกำลังกายและฝึกเทคนิคการผ่อนคลายแทนจะดีกว่า

ยา- ยาบางชนิดเช่น ยารักษาโรคซึมเศร้าและโรคประสาทต่างๆ โรคทางสมอง โรคปวดศีรษะ โรคความดันโลหิต และโรคเบาหวาน มีผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้มากถึง 10 ปอนด์(5 กก)ต่อเดือน หรือพวกฮอร์โมน สเตียรอยด์ และยาคุมกำเนิดก็ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี การทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นของยาแต่ละชนิดก็แตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคลและอาการเช่น ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเพราะทำให้อารมณ์ดีเลยอยากรับประทาน หรือทำให้ร่างกายสะสมน้ำมากขึ้น ดังนั้นเราจึงควรรับประทานอย่างมีสติและหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ

ฮอร์โมน- โรคของต่อมไทรอยด์ซึ่งผลิตฮอร์โมนน้อยเกินไป ทำให้ร่างกายไม่ค่อยจะเผาผลาญ โดยมักมีอาการอ่อนเพลีย ตัวบวม เป็นหวัดง่าย นอนมาก ปวดศีรษะ หรือเมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติโซลมากเกินไป ก็ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน

วัยทอง- เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยทอง ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนผิดปกติ ซึ่งทำให้หิวมากขึ้น นอนไม่หลับ มีอาการซึมเศร้า และเมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง จะทำให้ร่างกายโดยเฉพาะส่วนล่างสะสมไขมันมากขึ้นๆ วิธีป้องกันที่จำเป็นมากคือ การฝึกยกน้ำหนัก เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อและทำให้กระชับขึ้น โดยไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้ตัวล่ำหรือโตขึ้น การฝึกยกน้ำหนักจะช่วยทำให้ร่างกายเผาผลาญได้ดีขึ้นและยังลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนได้ด้วย
จาก www.webmd.com
ภาพ- google

หมายเลขบันทึก: 567537เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2014 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2014 09:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

I sleep religiously ;-) and currently practising 'walking around more than sitting around'.

In fact I am trying not to sit more than 1 hour at any sitting ;-) - I even give up going to movies!

(I am 175 cm and weigh 60kg - so I am not troubled with my BMI at the moment - but at my age ... ;-)

ขอบคุณสำหรับดอกไม้ที่งดงามจากทุกๆท่านโดยเฉพาะคุณครู tuknarak ซึ่งได้กรุณาเม้นท์ไปด้วย ครับผม

Always enjoy your comments, Khun sr.

However, presently, we are not concerned with BMI as much as before due to its approximation error depending upon body types and bone structures. But we are more concerned with abnormal metabolic rates. In short, please disregard bodyweight but keep a close watch on the belly instead.

Someone had told me there are many ways to measure metabolic rate and none of them are the type "you can't do it at home kiddo". I think we will need a firm definition on 'metabolic rate'.

It would be great if we have a simple measure like "waist-line" or waistline/length of main body (from shoulders to bums when sitting). This would show how cylinder (errh slender) we are ;-)

Fitness of body makes it easy to have fitness of mind. right?

Hahaha....Thanks to Khunsr for the comment and suggestion for a simple measure.

Under the guidelines of the International Diabetes Federation, a normal waist line for a woman is 32 inches or less, and for a man it is 38 inches or less. Many doctors are even more stringent, recommending a target of 30 inches or less for a woman and 35 inches for a man.

From a study, men with waists of 43 inches or more had a 50 percent higher risk of death than those with waists less than 35 inches. This equated to a three-year lower life expectancy after age 40, according to the study. Women with waists of 37 inches or more had an 80 percent higher risk of death than those with waists of 27 inches or less, which equated to a five-year lower life expectancy after age 40.

Please be reminded that these numbers applied to caucasians who are usually bigger than us asians.

Therefore, do not cheer just yet because yours is under the guidelines but aim for a lower number.

Another useful observation is that people with more stable bodyweights are healthier than others.

Good luck and good health to you all.

ขอบคุณมากกับข้อมูลความรู้ดี ๆ ที่มีให้ศึกษา มีคุณค่า จะติดตามทุก ๆ ตอนค่ะ

กลับมา ่านทบทวนความจำอีกครั้ง ขอบคุณคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท