ข้อคิดที่ได้จากภาพยนตร์เรื่อง Amazing Grace


                                                             

         ผมได้มีโอกาสดูภาพยนต์เรื่อง Amazing Grace เมื่อผมได้ดูเสร็จทำให้ผมมีมุมมองถึงความสำคัญของสิ่งที่เราเห็นกันได้ทุกวันคือ ความเท่าเทียมของมนุษย์ทุกๆคนที่ได้มาอย่างยากลำบาก เพราะส่วนตัว ผมเองไม่ค่อยทราบถึงเรื่องประวัติศาสตร์การเลิกทาสของจักรวรรดิอังกฤษเท่าไหร่นัก

          William Willberforce เป็นบุคคลที่น่ายกย่องากเห็นถึงความอดทนและความมุ่งมั่นอันแรงกล้าของเขาที่ต้องการเลิกทาส ไม่แพ้กับคนสำคัญอื่นๆในโลกที่ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนเลย เขาเริ่มต่อสู้ตั้งแต่ปี 1780s จนกระทั่งกฏหมายเลิกทาสอย่างเป็นทางการ The Slave Trade Act ในปี 1807 เขาต่อสู้และอุทิศแทบทั้งชีวิตของเขาให้กับเพื่อนมนุษย์ นับเป็นบุคคลที่น่านับถือและเอาอย่างยิ่งนัก

         เริ่มต้นของการนำไปสู่การเลิกทาสในอังกฤษ กลับกลายเป็นการออกกฏหมายเพื่อห้ามมิให้เรือของอังกฤษเปลี่ยนธงชาติเป็นธงอเมริกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เรืออังกฤษไปค้าขายกับฝรั่งเศสที่กำลังทำสงครามกันอยู่ ซึ่งรวมไปถึงอาณานิคมของฝรั่งเศสด้วย ซึ่งอาณานิคมฝรั่งเศสส่วนใหญ่นั้น ก็คือแอฟริกานั่นเอง และสินค้าที่เรืออังกฤษค้าขายก็รวมไปถึงทาส ซึ่งทาสทั้งหลายที่อยู่ในอังกฤษนั้นล้วนแต่มาจากแหล่งที่มานี้เป็นส่วนใหญ่ เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อมทำให้นายทาสนำทาสมาไม่ได้อันนำไปสู้ความล้มเหลวในการค้าทาส และเป็นจุดเริ่มต้นในการนำไปสู่การเลิกทาสในที่สุด ซึ่งกฏหมายฉบับนี้ถือเป็นกลอุบายที่แยบคายเป็นอย่างยิ่งของฝ่ายต่อต้านการค้าทาสที่ลงมือในจุดที่ฝ่ายตรงข้ามคาดไม่ถึง ทำให้กฏกหมายฉบับนี้ผ่านสภาในปี 1806 ก่อนที่การเลิกทาสอย่างจริงจังจะเกิดขึ้นเพียงปีเดียวเป็นการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกฏหมายนี้ที่เป้นจุดเริ่มของกรเลิกทาสในอังกฤษนั่นเอง

             ทาสในสังคมปัจจุบันจะมีอยู่หรือไม่นั้น สำหรับผม ผมคิดว่ามันยังมีอยู่ทั้งในกรณีที่เป็นทาสจริงๆจากการเกิดขึ้นอย่างผิดกฏหมายซึ่ง จากการเรียนวิชาอาชญวิทยา(เรียนกับท่านอาจารย์ณรงค์ ใจหาญ)ในวันเดียวกันนี้ทำให้ผมทราบว่า ในประเทศไทยของเรานั้นถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีการค้ามนุษย์กันอย่างล้นหลาม จากสถิติอาจสูงถึง 1 ล้านรายต่อปี และไทยมีความล้มเหลวมากในการปราบปรามอาชญากรรมดังกล่าว ซึ่งการค้ามนุษย์นี้ไม่ต่างอะไรไปจากการค้าทาสในสมัยก่อน เพราะการค้าทาสคือการค้ามนุษย์โดยเห็นว่ามนุษย์เป็นเพียงสิ่งของ ใช่แรงงานทาสอย่างทารุณและไม่มีค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น ในกรณีของประเทศไทยการค้ามนุษย์มักใช้งานในส่วนของเด็ก ให้ทำงานในโรงงานที่เรียกกันว่า"โรงงานนรก"นั่นเอง ดังนั้นแม้ รัชกาลที่ 5 จะมีการเลิกทาสไปแล้วอย่างเป็นทางการเมื่อหลายทศวรรตก่อน แต่ทาสก็ไม่เคยหายไปจากสังคมไทยและยังมีอยู่จนทุกวันที่เราอยู่นี้ก็ยังมีการใช้แรงงานทาสอยู่ อีกทั้งรวมไปถึงในปัจจุบันยังอาจมีเรื่องทาสที่สมัครใจ

            ส่วนในกรณีเรื่องแรงงานต่างด้าว ผมคืดว่าเกิดจากระบบทุนนิยมทำให้คนละเมิดสิทธิมนุษยชน จะเกิดลักษณะของนายทุนและแรงงานขึ้นซึ่งแรงงานยอมทำทุกอย่างเพื่อเงิน เสมือนเกิดชนชั้นขึ้นอีกซึ่งจะคล้ายกับทาสแม้จะดีกว่าหน่อย ซึ่งแม้นี่จะไม่ใช่เรื่องของทาสแต่และเป็นเรื่องความไม่เท่าเทียมทั่วๆไปในสังคมปัจจุบันซึ่งไม่ได้เลวร้ายอะไรแต่ถ้ามีความเหลื่อมล้ำมากเกินไปอาจจะแย่กว่านี้ได้ ในอนาคตคนจะเพิ่มขึ้นมากการแข่งขันสูงขึ้น ในอนาคตคนจนระดับล่างสุดอาจไม่ต่างอะไรกับทาสสมัยก่อนก็ได้อาจได้รับค่าตอบแทนเพียงเล็กน้อยจนไม่เพียงพอต่อความต้องการก็เป็นได้ ซึ่งทำให้ในยุโรปมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงคือรัฐค่อนไปทางรัฐสวัสดิการมากขึ้นในปัจจุบันด้วย ทำให้ผมคิดว่าเรื่องสิทธิมนุษย์และสวัสดิการเป็นเรื่องสำคัญ และไม่ควรละเลย แม้ว่าปัจจุบันจะไม่ปรากฏรูปแบบของการค้าทาสดังเช่นในอดีต ที่มีการล่ามโซ่ตรวน แต่ยังสามารถพบเห็นได้ในรูปแบบการค้าทาสโดยใช้กลอุบายดังที่ปรากฏในข่าวปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การหลอกให้ไปทำงานในต่างประเทศโดยหลอกลวงผู้เสียหายว่ามีรายได้ดี แต่เมื่อไปถึงแล้ว มักจะพบว่า ชีวิตในต่างประเทศมีแต่ความทุกข์ยาก บางก็ถูกหลอกไปใช้แรงงาน บางก็ถูกนำไปทาสรับใช้ หรือไม่ก็นำไปค้าประเวณี

หมายเลขบันทึก: 567485เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2014 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2014 11:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท