HR-LLB-TU-2556-TPC-ครอบครัวข้ามชาติ


เนื่องด้วยในสังคมที่เราอาศัยอยู่นั้นประกอบไปด้วยหลากหลายประเทศ หลายหลายเชื้อชาติ ดังนั้นมนุษย์ที่อยู่อาศัยนั้นก็ย่อมมีความหลากหลาย เนื่องด้วยความหลากหลายนี้เองเพื่อการจำแนกมนุษย์ให้ออกมามีลักษณะที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นข้าพเจ้าเห็นว่าจึงได้มีการเกิดขี้นของสัญชาติขึ้น ดังนั้นจึงเห็นว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่มนุษย์นั้นจะดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้โดยที่ไม่มีสัญชาติ ดังนี้จึงนำไปสู่คำถามที่ว่ามนุษย์แต่ละคนจะมีสัญชาติใดกันบ้าง ในประการแรกเนื่องด้วยทางชีววิทยานั้นบุตรที่เกิดขึ้นมาย่อมสืบสายโลหิตมาจากบิดาและมารดาดังนั้นสัญชาติก็ต้องได้รับสืบมาจากบิดาและมารดาเช่นเดียวกันเป็นสายทอดต่อๆกันไป ประการต่อมาคือแม้ว่าจะมีการสืบสัญชาติจากบิดามารดาแล้วแต่สถานที่หรืออาณาเขตที่มนุษย์ได้กำเนิดขึ้นก็มีความสำคัญมากเช่นกันอาจเนื่องด้วยหากไม่ทราบว่าบิดาหรือมารดามีสัญชาติอะไร สถานที่เกิดจึงเป็นแหล่งที่สามารถนำมาสันนิษฐานสัญชาติของบุคคลได้อย่างแน่นอนดังนั้นสถานที่เกิดจึงเป็นข้อบ่งชี้สัญชาติอีกประการหนึ่ง

และเนื่องด้วยตามหลักธรรมชาติของมนุษย์แล้วนั้นหน้าที่ประการสำคัญก็คือการสืบพันธุ์ให้มีการขยายเป็นสังคมที่ใหญ่ขึ้นทั้งนี้การขยายตัวขึ้นของสังคมนั้นก็ย่อมประกอบไปด้วยหน่วยของสังคมกล่าวคือครอบครัวหลากหลายครอบครัวประกอบกัน แต่ถึงกระนั้นก็มิได้มีการกำหนดให้บุคคลสัญชาติเดียวกันต้องสร้างครอบครัวร่วมกันแต่ประการใด ดังนั้นจึงพบเห็นหลากหลายครอบครัวที่ประกอบไปด้วยบุคคลต่างเชื้อชาติและนำไปสู่การมีบุตรที่คนโดยทั่วไปจะเรียกกันติดปากว่า ลูกครึ่ง โดยการประกอบกันขึ้นของบุคคลต่างสัญชาตินี้เองย่อมนำไปสู่ปัญหาต่างๆอันเนื่องมาจากเมื่อมีครอบครัวเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความสะดวกหรืออาจเป็นเพราะต้องการความมั่นคงในการดำรงชีวิต ครอบครัวส่วนมากได้มีการตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง อาจเป็นประเทศที่ให้สัญชาติของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจมีการเข้าไปอยู่ในประเทศใหม่ก็เป็นได้ ประกอบกับเมื่อบุคคลมีสัญชาติใดๆแล้วนั้นประเทศที่มาของสัญชาติก็ย่อมกำหนดให้บุคคลกังกล่าวมีสิทธิต่างๆตามที่กำหนดเอาไว้ ดังนั้นประเด็นอยู่ว่าการที่ครอบครัวนั้นประกอบไปด้วยบุคคลต่างสัญชาติกัน การย้ายไปประเทศใดประเทศหนึ่งนั้นก็ย่อมต้องมีบุคคลอย่างน้อย 1 คนที่จะเกิดปัญหาในการถือสัญชาติหรือปัญหาในการใช้สิทธิได้ ทั้งนี้ครอบครัวที่อาจมีความเสี่ยงที่เกิดสถานการณ์ดังกล่าวเรียกได้ว่า ครอบครัวข้ามชาติ

[1]ครอบครัวข้ามชาติที่ข้าพเจ้าจะนำเสนอต่อไปนี้เป็นประเด็นศึกษาของครอบครัวข้ามชาติได้เป็นอย่างดีกล่าวคือ ครอบครัวเจดีย์ทอง ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า นายอาทิตย์ เจดีย์ทอง สัญชาติไทย ได้พบรักกับนางสาวแพทริเซีย ซึ่งมีสัญชาติมาเลเซีย เนื่องจากทั้ง 2 นั้นได้ทำอาชีพเป็นแรงงานอยู่ที่ไต้หวัน เมื่อสัญญาจ้างแรงงานของทั้งคู่หมดลง ทั้ง 2 ก็ได้แยกย้ายกลับประเทศของตน โดยต่อมานั้นนางสาวแพทริเซียก็ได้เดินทางมาเยี่ยมนายอาทิตย์ที่ประเทศไทย ทางด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้บันทึกในการตรวจลงตราบนหนังสือเดินทางของเธอว่า สามารถอยู่อาศัยได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งระหว่างที่อยู่อาศัยนั้นทั้ง 2 ก็ได้ตกลงกันเพื่ออยู่กินกันฉันสามีภรรยา ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ประเทศไทย โดยประเด็นที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ที่การที่นางสาวแพทริเซียได้ไปแจ้งต่อทางอำเภอให้ตนนั้นอยู่ในสถานะของบุคคลที่ไม่มีสถานะบุคคลตามกฎหมายการทะเบียนราษฎร ทั้งๆที่ตนนั้นมีสัญชาติเป็นคนมาเลเซีย ทั้งนี้เมื่อมีการแจ้งสถานะดังกล่าวประกอบกับการขาดซึ่งประสิทธิภาพในการทำงานอย่างรอบคอบของเจ้าหน้าในอำเภอก็ส่งผลให้ นางสาวแพทริเซียตกอยู่ในสถานะเป็นทั้งบุคคลไร้สัญชาติในรัฐไทยและเป็นบุคคลสัญชาติมาเลเซียในคราวเดียวกัน โดยเมื่อเวลาผ่านไปหนังสือเดินทางที่กำหนดให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างจำกัดของนางสาวแพทริเซียก็ได้หมดลง

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า สำหรับนายอาทิตย์นั้นมีการถือบัตรประจำตัวประชาชนคนสัญชาติไทย และเมื่อมีการอยู่อาศัยในประเทศไทยตามปกติ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนายอาทิตย์ก็ย่อมไม่ปรากฎ สิทธิต่างๆที่รัฐไทยกำหนดให้แก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยนายอาทิตย์สามารถได้รับอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่สำหรับนางสาวแพทริเซียนั้นการที่ตนไปแสดงแก่เจ้าหน้าที่ว่าให้ถือว่าเป็นบุคคลไร้สัญชาตินั้นย่อมทำให้เกิดผลเสียอย่างมากเพราะเนื่องด้วยการที่มีข้อกำหนดของรัฐไทยในการจำกัดสิทธิบางประการให้แก่คนไร้สัญชาติอาทิเช่นสิทธิในการเดินทาง หรือสิทธิในการรักษาพยาบาล อีกทั้งสิทธิในการได้รับความคุ้มครองจากรัฐที่เป็นสัญชาติกล่าวคือมาเลเซียอีกด้วย ทั้งนี้ข้อเท็จจริงกล่าวต่อไปว่า ทั้ง 2 คนนั้นมีบุตรด้วยกันทั้งหมด 3 คน จากการที่พิจารณามาถึงจุดนี้สามารถกล่าวได้ว่าการที่นางแพทริเซียย้ายมาประเทศไทยเพื่อใช้ชีวิตและสร้างครอบครัวในประเทศไทยย่อมทำให้ครอบครัวดังกล่าวนับเป็นครอบครัวข้ามชาติไปโดยปริยาย ทั้งนี้บุตรทั้ง 3 ถือกำเนิดในประเทศไทย ดังนั้นตามหลักการที่ได้พิจารณามาในข้างต้นนั้น ด้วยสถานที่กำเนิดและด้วยการสืบสายโลหิตจากบิดาแล้ว การที่บุตรทั้ง 3 ได้รับการแจ้งเกิดและอยู่ในทะเบียนราษฎรของรัฐไทยกล่าวคือให้บุคคลทั้ง 3 นั้นมีสัญชาติไทยก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่ประการใด แต่ปัญหาคือบุตรทั้ง 3 นั้นไม่ได้มีการแจ้งในทะเบียนราษฎรของรัฐมาเลเซีย ดังนั้นบุตรทั้ง 3 จึงมีสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเท่านั้น

เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าแม้ว่าผลเสียที่เกิดขึ้นจากการถูกจำกัดสิทธิด้านต่างๆจะเกิดขึ้นต่อนางแพทริเซียเนื่องจากการเป็นบุคคลข้ามชาติแล้วนั้น บุตรที่เกิดขึ้นทั้ง 3 ก็ย่อมได้รับผลกระทบเช่นกันเนื่องจากในสภาพความเป็นจริงแล้วนั้นการที่นางสาวแพทริเซียมีสัญชาติมาเลเซียและจากการกล่าวมาในข้างต้นกรณีการได้รับสัญชาติมาจากการสบสายโลหิตแล้วนั้นย่อมส่งผลให้ตามหลักการแล้วนั้นบุตรทั้ง 3 จะต้องเป็นบุคคล 2 สัญชาติกล่าวคือมาเลเซียจากมารดาและไทยจากบิดา อีกทั้งการที่ประเทศไทยรวมถึงประเทศมาเลเซียมิได้ทีข้อจำกัดในการถือสัญชาติมากกว่า 1 สัญชาติดังนั้นการถือ 2 สัญชาติก็ย่อมมีได้ และจากการที่ข้าพเจ้ากล่าวว่าจากการเป็นบุคคลไร้สัญชาติของนางแพทริเซียทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุตรทั้ง 3 นั้นเห็นได้ว่าหากบุตรทั้ง3 มีสัญชาติมาเลเซียแล้ว การเดินทางไปอยู่อาศัยที่มาเลเซียรวมทั้งการใช้สิทธิต่างๆก็ย่อมไม่ถูกจำกัดแต่ประการใดๆ กล่าวคือสามารถใช้สิทธิเช่นคนมาเลเซียได้อย่างเต็มที่

สำหรับการแก้ปัญหานั้นข้าพเจ้าเห็นว่าเนื่องด้วยการเข้ากระทำการของนางแพทริเซียซึ่งถือเป็นการกระทำในแนวทางที่ผิดนั้นทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกมากมาย การแก้ไขควรเริ่มจากแก้ไขสถานะการไร้สัญชาติเป็นประการแรก กล่าวคือ อาจมีการรวบรวมเอกสารเพื่อแสดงสัญชาติว่าตนนั้นมีสัญชาติมาเลเซียต่อเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและให้มีการเปลี่ยนจากสถานะไร้สัญชาติเป็นสถานะผู้มีสัญชาติมาเลเซีย ประการต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนเป็นสัญชาติมาเลเซียแล้วนั้นก็ให้มีการแก้ปัญหาการจำกัดเวลาในการอยู่ในรัฐไทยกล่าวคือให้นางสาวแพทริเซียได้มีการทำวีซ่าคู่สมรส และให้มีการจดทะเบียนสมรส ดังนี้เมื่อมีการจดทะเบียนสมรสแล้วครอบครัวเจดีย์ทองจะมีสถานะเป็นครอบครัวข้ามชาติที่สมบูรณ์มากขึ้น และด้วยมีการแก้ปัญหาจากต้นตอของเหตุแล้ว การแก้ปัญหาควรมีการแก้จากวงนอกด้วยกล่าวคือการพัฒนาซึ่งศักยภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องให้มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดไม่เช่นนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นกับนางแพทริเซียในการเป็นบุคคลไร้สัญชาติและทำให้เกิดปัญหาการใช้สิทธิอีกทั้งปัญหาเกี่ยวกับบุตรที่ถือกำเนิดมาในเรื่องของสัญชาติรวมทั้งปัญหาการถูกจำกัดสิทธิที่ตนมีอำนาจชอบธรรมที่จะได้รับทั้งๆที่ตัวเด็กเองไม่ใช่บุคคลผู้รู้เห็นในเรื่องประการดังกล่าว ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือการแก้ไขปัญหา ส่งเสริม และพัฒนาให้บุคคลนั้นได้ทราบถึงข้อเสียที่จะได้รับกล่าวคือการถูกจำกัดสิทธิอย่างไม่ถูกต้อง เพื่อนำพาให้ครอบครัวข้ามชาตินั้นเป็นครอบครัวที่มีสถานะเหมือนเช่นครอบครัวปกติทั่วๆไป

แต่ถึงกระนั้นข้าพเจ้าจะขอเสริมกรณีการจำกัดสิทธิเนื่องจากเป็นบุคคลไร้สัญชาติ การจำกัดสิทธิต่างๆของรัฐไทยเนื่องด้วยเป็นบุคคลไร้สัญชาตินั้นจะเห็นว่ามีหลายประการที่เป็นการขัดต่อสิทธิมนุษยชนอย่างเห็นได้ชัด อาทิ สิทธิในการเดินทาง นับเป็นการขัดต่อสิทธิขั้นพื้นฐานตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน[2]ข้อ 13.กล่าวคือ เรามีสิทธิที่จะไปมาในที่ต่าง ๆ ภายในประเทศเราได้ตามต้องการ เรามีสิทธิเดินทางออกนอกประเทศไปยังประเทศอื่น และสามารถเดินทางกลับเข้าประเทศของเราได้ตามต้องการเช่นกัน หรือสิทธิในการทำงาน ในข้อ 23 กล่าวคือ เรามีสิทธิทำงาน มีอิสระในการเลือกงาน การได้รับเงินเดือน ซึ่งทำให้เราสามารถเลี้ยงดูครอบครัวของเราได้ ประชาชนชายและหญิงที่ทำงนเดียวกันควรต้องได้รายได้เท่ากัน ประชาชนทุกคนที่ทำงานมีสิทธิร่วมกันที่จะปกป้องผลประโยชน์ของตน ดังนั้นแม้ว่าจะเป็นคนไร้สัญชาติหรือมีสัญชาติ สิทธิมนุษยชนก็หมายถึงสิทธิที่ทุกคนบนโลกนั้นมีและจะต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง


[1] รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร. (2557). "กรณีศึกษาครอบครัวเจดีย์ทอง : บุตรของชายสัญชาติไทยและหญิงมาเลเซียที่มี ลักษณะการอาศัยอยู่แบบผิดกฎหมายไทยว่าด้วยคนเข้าเมืองตกอยู่ภายใต้มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๓ ใหม่ หรือไม่ ?" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.l3nr.org/posts/536193. สืบค้น 28 เมษายน 2557.

[2] คำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(Universal Declaration of Human Rights).” 2491.[ระบบออนไลน์].

แหล่งที่มาhttp://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf (28 เมษายน 2557).

หมายเลขบันทึก: 567366เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2014 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท