ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 4


ระบบเสียงภาษาที่สองและความคล้ายคลึงกันทางการรับรู้เสียงภาษาอังกฤษโดยผู้เรียนภาษาอังกฤษชาวญี่ปุ่น

ผู้เขียน เอเดรียน เวกเน่อร์

เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่ผู้วิจัยทางด้านการรับรู้เสียงในภาษา โดยมีทฤษฎีที่สนับสนุนความแตกต่างทางความคิดเหล่านั้น อาทิ การมี การไม่มี และความหายาก โดยทฤษฎีต่าง ๆ ทางด้านการออกเสียง อาจทับซ้อน ขัดแย้ง และอาจเกิดขึ้นพร้อมกัน Abrahammson และ Hyktenstam เชื่อในปัจจัยสำคัญ กล่าวคือ การถ่ายโอน (transfer) ของภาษาแม่ไปยังภาษาเป้าหมาย

Carey สนับสนุนแนวคิดการถ่ายโอนของภาษา หรือภาษาที่หนึ่งที่มีอิทธิพลต่อภาษาที่สอง โดยเขากล่าวว่า ผู้เรียนภาษาที่สองจะตีความเสียงของภาษาที่สองโดยตระหนักถึงระบบเสียงของภาษาที่หนี่งก่อน ดังนั้นเขาจึงชี้ให้เห็นว่าการเรียนภาษาที่สองนั้น ผู้เรียนควรแยกระบบต่าง ๆ ออกจากกัน

ความผิดพลาดในการอกเสียงภาษาอังกฤษของชาวญี่ปุ่นคือ เสียงสระ และความยากของเสียงสระและพยัญชนะ นอกจากนี้เสียงพยัญชนะควบกล้ำ (consonant cluster) ยังพบว่าเป็นปัญหาของชาวญี่ปุ่นอีกด้วย

ทฤษฎีเด่น ๆ ในการศึกษาระบบเสียงภาษาที่สอง

Lenneberg เชื่อในทฤษฎี Critical Period Hypothesis โดยเชื่อว่าการพัฒนาของภาษานั้นมีระยะเวลาในการพัฒนา และ Hakuta, Bialystok, และ Hakuta กล่าวว่า ผู้เรียนวัยเด็กมีแนวโน้มความสำเร็จทางภาษาที่มากกว่าวัยผู้ใหญ่ Lenneberg กล่าวสรุปในทฏฤษฎีว่า อายุระหว่างการเริ่มพัฒนาทางภาษาระหว่างวัยทารก (infancy) และการเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ของหน้าที่ของสมองระหว่างวัยเจริญพันธุ์ ชี้ให้เห็นช่องโหว่ของการได้มาซึ่งภาษาที่หนึ่งทฤษฎีของLenneberg ยังกล่าวถึง เรื่องของประสาทวิทยาในวัยเด็กซึ่งจะหายไปในวัยผู้ใหญ่

Flege กล่าวไว้ว่าการพัฒนาการเรียนรู้เรียนเสียงในภาษาที่สอง ต้องมีการสอนและฝึกฝนในมุมมองอื่น ๆ ของภาษา โดยมีงานวิจัยของเขาเอง (ทำการวิจัยภาษาที่ 1 ของชาวเกาหลี) ที่กล่าวสนับสนุนไว้ว่าการเรียนการสอนและการใช้ภาษาที่ 2 ส่งอิทธิพลต่อการพัฒนาวากยสัมพันธ์มากกว่าการออกเสียง

Flege ยังแสดง Speech Learning Model (SLM) โดยมีความคิดที่ว่า ความบกพร่องที่การออกเสียงมิได้เกิดจากการเจริญเติบโตเต็มที่ของประสาท แต่เกิดจากการรับรู้ทางจิต (Pychoperceptual) ทั้งนี้เองเขาได้ชี้ให้เห็นได้ว่า ในช่วงวัยใด ๆ ก็ตาม ผู้เรียนมีความสามารถพัฒนาความถูกต้องทางการออกเสียงได้ ไม่จำกัดว่าเด็กหรือผู้ใหญ่

นอกจากนี้การรับรู้ภาษาต่างประเทศ โดยที่ไม่สามารถหาความคล้ายคลึงระหว่างภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สองได้นั้น อาจก่อให้เกิดปัญหาได้

Flege ได้พัฒนาหลักการออกเสียงโดยเรียกว่า equivalence classification กล่าวคือ เสียงภาษาต่างประเทศจะถูกทำให้คล้ายคลึงกับภาษาที่หนึ่งที่มีความคล้ายคลึงมากที่สุด

Best คือผู้วิจัยอีกหนึ่งท่าน ที่สร้างทฤษฎีทางการออกเสียง กล่าวคือ Perceptual Assimilation Model (PAM) จาก model นี้ ภาษาจะถูกแบ่งจำพวกเหมือน และต่างออกจากกัน ประโยชน์ของ model นี้คือ เพื่อให้รูปแบบของการรับรู้ทีถูกต้องและไม่ถูกต้องของเสียงภาษาที่สอง เมื่อเสียงถูกได้ยิน จะถูกแบ่งออกเป็นประเภทดังนี้

1. คล้ายคลึงกับภาษาแม่

2. คล้ายคลึงในฐานะเสียงพูดที่ไม่รู้จัก (ต่างจากภาษาแม่)

3. ไม่คล้ายคลึงกับเสียงใด ๆ

นอกจากนี้ Best ยังพัฒนา model ที่แบ่งแยกความสำเร็จ และความไม่สำเร็จของเสียงพูดภาษาต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น หน่วยเสียง /t/ และ /d/ ถูกทำให้คล้ายคลึงและแยกแยะได้โดยผู้เรียนชาวญี่ปุ่น เนื่องจากในภาษาญี่ปุ่นมีหน่วยเสียงที่คล้ายกับหน่วยเสียงดังกล่าว จึงทำให้การแยกแยะละสร้างหน่วยเสียงนี้ได้

อย่างไรก็ตามเสียง /ɹ/ และ /l/ มีความใกล้เคียงในการออกเสียง (ฐานกรณ์เดียวกัน: ปุ่มเงือก) แต่ /l/ เป็นเสียงที่ลมออกข้างลิ้น (lateral) ผู้เรียนภาษาชาวญี่ปุ่นกลับไม่สามารถแยกแยะการผลิตหน่วยเสียงทั้ง 2 ได้ กลับผลิตเสียงเป็น /ɽ/ (alveolar flap)

ผู้เขียนยังกล่าวสรุปว่า SLM และ Critical Period Hypothesis นั้นขัดแย้งกันทางด้านแนวความคิดกล่าวคือทางด้าน อายุของผู้เรียน ผู้เขียนยังสรุปว่า PAM และ SLM มีข้อดีกว่า

ในงานวิจัยการรับรู้ของผู้เรียนชาวญี่ปุ่น คำถามวิจัยที่กล่าวถึงในการรายงานครั้งนี้คือ ผู้ฟังชาวญี่ปุ่นสร้างความคล้ายคลึงจากเสียงสระญี่ปุ่นในเสียงสระอเมริกันอย่างไร ผู้เข้าร่วมวิจัยมีทั้งสิ้น 24 คน (เพศหญิง 13 เพศชาย 11) อายุเฉลี่ย 20 ปี ทั้งหมดเป็นนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย (ปริญญาตรี) การเก็บข้อมูลทำโดยให้ผู้เข้าร่วมวิจัยฟังเสียงที่ได้ยิน (เสียงถูกบันทึกจากชาวอเมริกัน) จากนั้นเลือกเสียง 18 เสียงที่แทนเสียงด้วยตัวอักษร คะตะกะนะ (ตัวอักษรญี่ปุ่นที่เขียนแทนเสียงด้วยอักษรภาษาอังกฤษ) ทุก ๆ เสียงนั้นถูกนำหน้าด้วยเสียงพยัญชนะ /h/ โดยเสียงที่จะได้ยินนั้นมาในรูปแบบของคำสองพยางค์ และประโยค

ผลการวิจัยกล่าวว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถรับรู้เสียงที่ใกล้เคียงกันกับเสียงสระที่พบได้ในระบบเสียงภาษาญี่ปุ่น

ประเด็นที่น่าสนใจคือ /i/และ /ɪ/ ในภาอังกฤษนั้น ไม่ได้ต่างกันทางด้านความยาวของเสียง (length) มากนัก แต่ปัจจัยที่จะส่งผลให้เสียงสระนั้นยาวขึ้น (lengthen) คืออิทธิพลของตัวสะกด ตัวสะกดที่เป็นเสียงโฆษะ (voiced consonant) จะส่งผลให้เสียงสระนั้นยาวขึ้น กลับกันตัวสะกดที่เป็นเสียงอโฆษะ (voiceless consonant) จะไม่ส่งผลให้เสียงสระนั้นยาว

ผู้วิจัยยังกล่าวสรุปในประเด็นเดิมที่ว่า การถ่ายโอนของภาษาที่หนึ่งนั้นมีปัจจัยที่ทำให้การรับรู้เสียงของภาษาเป้าหมายที่มีความใกล้เคียงกันกับภาษาแม่นั้นเกิดขึ้นอย่างมีระบบ และยังเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างเสียงพูดในภาษาต่างประเทศ ทั้งนี้เองงานวิจัยในอนาคต ผู้วิจัยอาจทำการวิจัยในระยะยาว (longitudinal study) และการศึกษาภาษาต่าง ๆ หลากหลายภาษาอาจก่อให้เกิดความเข้าใจในแขนงที่กว้างขวางขึ้นของศาสตร์การได้มาซึ่งภาษาที่สอง 

หมายเลขบันทึก: 567255เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2014 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2014 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นิสิตคิดว่า สำหรับผู้เรียนชาวไทยแล้ว การออกเสียงภาษาอังกฤษจะเป็นปัญหาในลกษณะใดคะ เสียงสระ หรือพยัญชนะ หรือ เสียงstress แล้วเรามีวิธีแก้ไขอย่างไร

ปัญหาของผู้เรียนชาวไทยที่เห็นเด่นชัดคือเสียงตัวสะกดท้ายคำรวมไปถึงเสียงสระทั้งเดี่ยวและประสมค่ะ 2 ปัจจัยนี้ส่งผลต่อความเข้าใจของผู้ฟังได้ค่ะ วิธีการแก้ปัญหา คือ การให้ input ที่ถูกต้อง ในเสียงสระเองมีแนวโน้มที่เป็นปัญหามาก เนื่องจากมีผู้ใช้ภาษาอังกฤษในฐานะเจ้าของภาษาที่หลากหลายอาทิ AmE, BrE, CnE, AuE ผู้สอนอาจยิบยกการเสียงที่ใดเสียงหนึ่ง แล้วชี้ให้เห็นความแตกต่าง ที่ชัดเจนและมีความต่างน้อยกว่าเสียงสระ คือ เสียงตัวสะกด เมื่อผู้พูดชาวไทยละเลยการออกเสียงตัวสะกดภาษาอังกฤษบางเสียง จะส่งผลทางความหมาย ความหมายอาจผิดเพี้ยน หรือ ไม่สื่อความเลยก็ได้ ผู้สอนชาวไทยอาจให้ input โดยการสร้างสื่อเรื่องเสียง พยัญชนะ ให้ผู้เรียนสามารถออกเสียงให้ถูกต้องก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นลองให้ประสมคำ โดยเปรียบเทียบคู่เทียบเสียง เริ่มจากพยัญชนะในตำแหน่งพยัญชนะต้นก่อน จากนั้นให้ผู้เรียนเปรียบเทียบคู่เทียบ (minimal pair) แล้วผู้สอนอธิบายความแตกต่างทั้งการออกเสียง และความหมาย 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท