ครอบครัวข้ามชาติ


ครอบครัวข้ามชาติ

    เผ่าพันธุ์มนุษย์จะดำรงอยู่ได้จำเป็นจะต้องมีการสืบทอดโดยมนุษย์รุ่นหลัง จึงเป็นสิ่งจำเป็นตามธรรมชาติที่มนุษย์จะต้องมีการสร้างครอบครัว และเนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเดินทางที่สะดวกกว่าเมื่อก่อนมาก การหนีภัยความตายจากการสู้รบ หรือความต้องการเรื่องแรงงาน ส่งผลให้คนจำนวนมากต้องโยกย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยจากรัฐหนึ่งไปอีกรัฐหนึ่ง มีทั้งการเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมาย และไม่ถูกกฎหมาย ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นมนุษย์ที่ข้ามชาติ

    การสร้างครอบครัวของมนุษย์ที่ข้ามชาติจากที่ได้ศึกษากรณีศึกษาครอบครัวเจดีย์ทอง เป็นเรื่องของนางสาวแพทริเซียซึ่งมีสัญชาติมาเลเซียเดินทางเข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย และต่อมาได้อยู่กินกันฉันสามีภรรยากับนายอาทิตย์ซึ่งสัญชาติไทย ที่ประเทศไทย นางสาวแพทริเซียได้รับการบันทึกในทะเบียนประวัติประเภท ท.ร.๓๘ ก และได้รับบัตรประจำตัวบุคคลซึ่งไม่มีสถานะทางทะเบียน และอนุญาตให้ทำงานในสถานะคนไร้สัญชาติ ซึ่งการเป็นคนไร้สัญชาตินั้นไม่สามารถระบุได้ว่ามีสถานะเป็นสมาชิกของประเทศใด ไม่มีรัฐใดให้การรับรองว่าเป็นพลเมืองของรัฐนั้น ทั้งๆที่ในความเป็นจริง นางสาวแพทริเซียถือสัญชาติมาเลเซีย ไม่ใช่ผู้ที่มีสถานะคนไร้สัญชาติเช่นที่รัฐไทยรับรอง จึงเป็นการที่บุคคลคนหนึ่งมี 2 สถานะที่ขัดแย้งกัน นายอาทิตย์และนางสาวแพทริเซียมีบุตร 3 คน โดยบุตรทั้งสามได้รับการรับรองในทะเบียนราษฎรของไทยและมีสัญชาติไทย แต่ไม่ได้รับการแจ้งเกิดในทะเบียนราษฎรของมาเลเซีย ทั้งนี้ปัจจุบันการได้สัญชาติโดยการเกิดได้แก่การได้สัญชาติตามหลักสืบสายโลหิตและตามหลักดินแดน กล่าวคือเด็กทั้งสามสามารถถือสัญชาติมาเลเซียได้ด้วย เนื่องจากแม่เป็นคนสัญชาติมาเลเซียตามหลักสืบสายโลหิต หากได้รับสัญชาติมาเลเซียก็จะสามารถเดินทางเข้าไปอยู่ในมาเลเซียได้เช่นเดียวกับคนมาเลเซีย และไม่ถูกจำกัดสิทธิการเดินทาง ข้าพเจ้าคิดว่านางสาวแพทริเซียและนายอาทิตย์ควรจะขอวีซ่าคู่สมรส นางสาวแพทริเซียมีสัญชาติมาเลเซียไม่ใช่คนไร้สัญชาติ ซึ่งการขอวีซ่าคู่สมรสจะทำให้สามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ อย่างถูกกฎหมาย

อ้างอิงข้อมูล

คนไร้สัญชาติ. เข้าถึงได้จาก:  http://www.oknation.net/blog/dektirimkhong/2009/06/09/entry-1 [ออนไลน์]. สืบค้นข้อมูลวันที่ 28 เมษายน 2557

หมายเลขบันทึก: 567015เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2014 17:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท