กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


      สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนมีลักษณะเป็นสนธิสัญญาพหุภาคี กล่าวคือ เป็นสนธิสัญญาที่มีรัฐมากกว่าสองรัฐขึ้นไปเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งกระบวนการในการทำสนธิสัญญามีหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การเจรจา การให้ความยินยอมของรัฐเพื่อผู้พันตามสนธิสัญญาโดยการลงนาม การให้สัตยาบัน การภาคยานุวัติ และบางรัฐอาจตั้งข้อสงวน หรือตีความสนธิสัญญา และเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำสัญญาครบถ้วนแล้ว ภาคีก็มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่อไป การเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาก่อให้เกิดพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง กับสนธิสัญญา มิฉะนั้นอาจต้องรับผิดในทางระหว่างประเทศ ดังนั้น เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยก็ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาดังกล่าว พันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของไทย
      ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งสหประชาชาติถือเป็น สนธิสัญญาหลัก จำนวน 7 ฉบับได้แก่

  1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC)
  2. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Woman - CEDAW)
  3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covernant on Civil and Political Rights - ICCPR)
  4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covernant on Economics, Social and Cultural Rights - ICESCR)
  5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination - CERD)
  6. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT)
  7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)

     ในที่นี้ผู้เขียนขอนำเสนอเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ

     อนุสัญญานี้ เป็นฉบับแรกและฉบับเดียวที่ครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง ไม่เฉพาะด้านพลเมืองและการเมืองเท่านั้นแต่รวมถึงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และชีวิตครอบครัวด้วย

     การเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงหมายถึง การแบ่งแยก การกีดกัน หรือ การจำกัดใดๆ ด้วยเหตุแห่งเพศ ซึ่งมีเจตนาหรือเป็นเหตุให้เกิดความไม่เป็นธรรม หรือทำให้ผู้หญิงไม่ได้รับการยอมรับ ไม่มีสิทธิ ไม่ได้ใช้สิทธิมนุษยชน และ เสรีภาพขั้นพื้นฐานทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม และพลเมืองที่พึงมีอย่างเสมอภาคกับชาย

   ซึ่งในปัจจุบันกับพบว่า ในสังคมไทยยังมีการกระทำที่ขัดกับอนุสัญญาดังกล่าว เช่น

-ผู้หญิงถูกจำกัดและเลือกปฏิบัติในการจ้างงานบางประเภท ผู้หญิงส่วนใหญ่ยังคงต้องทำงานที่จัดว่าเป็นงานที่ไม่ใช้ทักษะ ความชำนาญและวิชาชีพชั้นสูง

-ค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม ผู้หญิงส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าผู้ชาย แม้ว่าจะทำงานประเภทเดียวกัน แต่ผู้หญิงก็ต้องยอมรับสภาพดังกล่าว เนื่องจากมีภาระครอบครัว และขาดคุณสมบัติ หรือทักษะในงานที่มีค่าตอบแทนสูงในตลาดแรงงาน ทำให้มีโอกาสในการจ้างงานต่ำ

-ความก้าวหน้าในการทำงาน การเข้าสู่ตำแหน่งระดับสูง สัดส่วนของผู้หญิงที่จะได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นระดับสูงค่อนข้างต่ำ และบางครั้งก็ถูกกีดกันการเลื่อนตำแหน่งเพราะทัศนะของนายจ้างที่มองว่า ผู้หญิงขาดคุณสมบัติและความพร้อมที่จะรับภาระงานที่มากขึ้น

-การถูกจำกัดและกีดกันการทำงานอันเนื่องมาจากภาวะอนามัยการเจริญพันธุ์ ผู้หญิงจำนวนมากยังถูกจำกัดสิทธิและล่วงละเมิดสิทธิ เช่น การห้ามตั้งครรภ์ระหว่างการทำงาน จำนวนวันลาคลอด การต้องทำงานที่ไม่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์

 ซึ่งจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะพบว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบข้อ 11 สิทธิและโอกาสที่จะได้รับการจ้างงานชนิดเดียวกัน เพราะเป็นการเลือกปฏิบัติ ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาค ซึ่งเป็นการขัดต่ออนุสัญญาดังกล่าว ดังนั้นผู้เขียนเห็นว่าควรเคารพสิทธิเสรีภาพของบุคคล ให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายต่างก็ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน จะเลือกปฏิบัติไม่ได้ และการให้สิทธิ โอกาส และการปฏิบัติต่างๆจะให้กับผู้หญิงหรือผู้ชาย ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างไม่เท่าเทียมกันนั้นจะกระทำไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะกฎหมายได้บัญญัติไว้ว่า ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายจะต้องได้รับสิทธิ โอกาส การปฏิบัติ และการบริการต่างๆอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดความสมดุลในสังคม 

อ้างอิง

http://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/print_content.php...

http://www.owf.go.th/km/site/index.php?page=knowle...

http://prachatai.com/journal/2014/03/52226

หมายเลขบันทึก: 566905เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2014 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท