มนุษย์ที่ข้ามชาติ


     มนุษย์ที่ข้ามชาติ หมายถึง บุคคลที่มีการกระทำในลักษณะที่ข้ามชาติ คือ มีถิ่นที่อยู่หรือเคยอยู่อาศัยในประเทศประเทศหนึ่งอยู่แล้ว แต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม บุคคลเหล่านี้ได้แก่ นักท่องเที่ยว แรงงานข้ามชาติ นักลงทุนข้ามชาติ นักศึกษา และผู้หนีภัยความตาย เป็นต้น

มนุษย์ที่ข้ามชาติ ในกรณีศึกษานี้จะเป็นเรื่องของ "เด็กที่ข้ามชาติ" ซึ่งเด็กข้ามชาติเหล่านี้มีหลากหลายประเภท เพราะเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน และเด็กเหล่านี้ก็พบกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในหลายๆเรื่อง

     ประเภทของเด็กข้ามชาติในประเทศไทย

1. เด็กข้ามชาติที่ติดตามพ่อแม่ซึ่งเป็นคนข้ามชาติที่หลบหนีเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย หรือตัวเด็กเองหลบหนีเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย หรือถูกลักพาตัวเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมาย

2. เด็กข้ามชาติที่เกิดในประเทศไทยจากพ่อแม่ที่เป็นคนข้ามชาติ ซึ่งเด็กเหล่านี้สมควรจะได้รับการขึ้นทะเบียนจากรัฐ แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น โดยอาจเกิดจากความไม่รู้ของพ่อแม่ หรือการปฏิเสธการขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำให้ไม่อาจเข้าถึงสิทธิได้ และถูกถือเป็นเด็กข้ามชาติ

3. เด็กที่ข้ามชาติมาอย่างถูกกฎหมาย [1]

ที่มา : http://www.thaingo.org/story/nationless.htm

     ซึ่งปัญหาของมนุษย์ที่ข้ามชาติที่สำคัญนั้นสามารถพิจารณาได้ดังนี้

     ประการแรก : ปัญหาความไร้สัญชาติ หรือ Nationalityless กล่าวคือเป็นสภาพที่บุคคลไม่มีสัญชาติของประเทศใดในโลกเลยแม้แต่ประเทศเดียว ซึ่งหากจะว่ากันตามหลักกฎหมายเเล้วคนไร้สัญชาติมีสถานะเป็นคนต่างด้าวในทุกประเทศของโลก

     ประการที่ 2 : ปัญหาความไร้รัฐ หรือ Stateless กล่าวคือเป็นสภาพที่ปัญหาความไร้สัญชาติมีความรุนแรงมากขึ้น โดยบุคคลที่ประสบปัญหาไม่ได้รับการยอมรับให้มี "สิทธิในการอาศัย" อยู่ในรัฐใดก็ตามในโลก ซึ่งในทางผลทางกฎหมายบุคคลเหล่านี้จึงมีสถานะเป็น "คนต่างด้าวผิดกฎหมาย" ไม่สามารถอยู่ที่ใดได้เลยในโลกเพราะถือว่าผิดกฎหมายทุกที่จึงตกเป็น "บุคคลไร้รัฐ" [2]

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/626/62...

กรณีศึกษา "กรณีของน้องดนัย ยื้อบ๊อ"

     น้องดนัย ยื่อบ๊อ เกิดวันที่ 16 พฤษภาคม 2542 ที่โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มารดาชื่อนางหมี่ยื่ม ยื่อบ๊อ เป็นชาวอาข่าดั้งเดิม ได้รับสัญชาติไทยในวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 มีบิดาชื่อนายอาบู เป็นชาวอาข่าที่อพยพมาจากประเทศเมียนมาร์ เป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่มีหนังสือเดินทาง ไม่มีการตรวจลงตราแต่อย่างใด

     หากพิจารณาการได้มาซึ่งสัญชาติไทยของบุคคลเเล้วมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508

     มาตรา 7 บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(2) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคหนึ่ง

คำว่าบิดาตาม (1) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม

     มาตรา 7 ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น

(1) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง [3]

     กล่าวโดยสรุปเเล้ว การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด คือ เกิดโดยมีบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ส่วนการได้สัญชาติไทยตามหลักดินแดน คือ บุคคลใดก็ตามที่เกิดในราชอาณาจักรไทย บุคคลผู้นั้นย่อมได้สัญชาติไทย

     ดังนั้นจากกรณีนี้น้องดนัยย่อมมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติไทย เนื่องจากน้องดนัยเกิดที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ตามพระราชบัญญัติสัญชาติมาตรา 7(2) ไม่ได้เป็นกรณีตามมาตรา 7(1) เนื่องจากขณะที่น้องดนัยเกิด นางหมี่ยื่อยังมิได้รับสัญชาติไทยแต่อย่างใดแม้ภายหลังจะได้รับสัญชาติไทยก็ตาม

     แต่จากข้อเท็จจริงพบว่ารัฐได้ปฏิเสธการขึ้นทะเบียนสัญชาติให้แกน้องดนัย ส่งผลให้น้องดนัยกลายเป็นบุคคลที่ไม่มีสัญชาติ กลายเป็นเด็กข้ามชาติ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 15(1) มีหลักว่า ทุกคนมีสิทธิในสัญชาติหนึ่ง และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อที่ 7 เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ [4]จะเห็นได้ชัดเจนว่ารัฐได้ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนของน้องดนัยอย่างสิ้นเชิง โดยการละเมิดดังกล่าวนี้ยังส่งผลไปสู่การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ เช่น สิทธิในการศึกษา สิทธิในการรับบริการสาธารณสุข เป็นต้น


นางสาวชนากานต์ เฉยทุม

เขียนเมื่อ : วันที่ 27 เมษายน 2557


อ้างอิง

[1] “เด็กข้ามชาติ” มนุษย์ข้ามชาติที่มาจากหลากหลายสาเหตุ. แหล่งที่มา : http://www.l3nr.org/posts/535656 27 เมษายน 2557.

[2] ความเป็นคนไร้รัฐและคนไร้สัญชาติในประเทศไทย:คืออะไร ? และควรจัดการอย่างไร ?. 2557. แหล่งที่มา : http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=278&d_id=277 27 เมษายน 2557.

[3] พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508. แหล่งที่มา : http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538975889&Ntype=1927 เมษายน 2557.

[4] อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก. แหล่งที่มา : http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/crct.pdf27 เมษายน 2557.

หมายเลขบันทึก: 566902เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2014 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท