ปลูกพริกกันดีกว่าครับพี่น้อง......


พริกนั้นถือเป็นพืชที่อยู่คู่กับพี่น้องประชาชนคนไทยมาช้านาน แต่ว่ากันว่าการค้นพบพริกที่เกิดขึ้นครั้งแรกนั้นนานกว่าอายุของประเทศไทยเราอีกครับ เพราะได้มีผู้ที่พบหลักฐานของพริกตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์โน่นเลยครับ(ยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็คือยุคที่ยังไม่มีการบันทึกข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ คือก่อนยุคหินโน่นเลยล่ะครับ ..อ่า ก็ว่ากันไป ฮ่าๆ)

ใครจะรู้ครับว่าพริกนั้น มีวิตามินซีมากกว่า ส้ม ตั้งสองสามเท่า (คิดว่าวิตามินซีนั้นน่าจะพบมากในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเสียอีก) อีกทั้งท่านผู้อ่านพอทราบมั๊ยครับว่า พริกที่อยู่ในตระกูล โซลานาซีอี้ สกุลแคปซีคัม นั้นความเผ็ดที่สุดไม่ได้อยู่ที่เมล็ดนะครับ?!?!?แต่ดั๊นไปอยู่ที่รกของพริกเสียนี่ แปลกดีมั๊ยล่ะครับแล้วเจ้าความเผ็ด แคปไซซิน (capsaicin) นี่ยังสามารถละลายได้ดีในน้ำอุ่นอีกด้วย ฉะนั้นท่านที่รับประทานส้มตำเผ็ดแล้วอยากหายเผ็ดไวไว ก็รีบดื่มน้ำอุ่นนะครับ รับรองว่าแป๊ปเดียวก็หายเผ็ดแน่นอน...

เขาว่ากันว่าพริกหนี่งเมล็ดพริก 1 กรัมนั้นจะประกอบไปด้วยเมล็ดพริกทั้งหมดโดยเฉลี่ย 150-255 เมล็ดซึ่งเมื่อนำไปปลูกก็ถือว่าเยอะพอสมควร พื้นที่หนึ่งไร่นั้น ถ้าปลูกพริกระยะ 70 คูณ 70 เซนติเมตร ก็จะได้ต้นพริก 3,200 ต้นผลผลิตต่อไร่โดยประมาณ 3-5 ตัน ซึ่งถือว่าถ้าราคาประกันอยู่ที่ 15 -20 บาท ก็ถือว่าไม่ขี้เหร่ สามารถสร้างได้ให้แก่ตนเองได้ไร่ละ 45,000 – 60,000 บาท (ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท) ในระยะเวลาประมาณ 45 วันหลังจากที่ย้ายกล้าลงหลุม ถือว่าในภาวะปัญหาภัยแล้ง ข้าว อ้อย ยางพารา ปาล์ม ฯลฯ คือราคาผลผลิตภาคการเกษตรยังไม่ดีนัก พริกก็จัดเป็นพืชที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียวเชียวล่ะครับ

เมื่อจะทำการเพาะกล้าพริก ท่านผู้อ่านอย่าลืมนำไปแช่ในน้ำอุ่นสักนิดนะครับ (ส่วนจะคัดเลือกแบบที่ลอยน้ำหรือไม่ลอยน้ำเพื่อแยกแยะเมล็ดพริกคุณภาพดีนั้น ก็ต้องอาศัยประสบการณ์ให้มากพอสมควร มิฉะนั้นอาจจะเป็นการคัดเมล็ดพริกที่ดีทิ้งไปเสียหมด เพราะกูรูบางท่านก็ได้เคยเล่าว่า เมล็ดที่ลอยน้ำนั้น บางครั้งก็เป็นเมล็ดดี แต่การนำน้ำร้อนและน้ำอุ่นมาผสมกันอย่างละเท่าๆ กันนั้น จะช่วยทำให้เชื้อราโรคพืชที่ปนเปื้อนอาจจะลดจำนวนลงไปได้มาก ช่วยให้เมล็ดกล้าพริกไม่เน่าเสียหายเมื่อทำการเพาะการเตรียมวัสดุเพาะนั้นบางท่านก็อาจจะใช้พีทมอส บางท่านก็ใช้ขุยมะพร้าว บางท่านก็ใช้อินทรียวัตถุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบุคคลแล้วกันนะครับแต่ที่สำคัญควรนำมาหมักขยายกับเชื้อจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า ในอัตรา ไตรโคเดอร์ม่า 1 กิโลกรัม คลุกผสมกับ อินทรียวัตถุ (ดิน, ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก, พีทมอส ฯลฯ)50 ก.ก. คลุกเคล้าให้เข้ากัน หลังจากเติม พูมิชซัลเฟอร์อีก 5 กิโลกรัม พรมน้ำพอชื้นหมักทิ้งไว้ 3 วัน หลังจากนั้นจึงนำมาใส่วัสดุเพาะ จะช่วยทำให้กล้าพริกโตเร็ว แข็งแรง ต้านทานต่อโรคแมลงรบกวนได้ดี

หลังจากเพาะกล้าได้ประมาณเดือนหนึ่งก็ให้ทำการย้ายกล้าลงแปลง การเตรียมแปลงหรือหลุมปลูกนั้น ก็ควรจะใช้อินทรียวัตถุเป็นส่วนประกอบในการปลูกให้มากๆ จำแลงแปลงร่างไร่นาของเราให้กลายเป็นผืนดินจากป่าเขาลำเนาไพร ที่ชาวเขาชาวดอยถากถางป่าหยอดพริก หยอดผักกาด กะหล่ำ แล้วไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีหรือพ่นยาฆ่าแมลงแม้เม็ดหรือหยดเดียว พืชผักของเขาก็สามารถที่จะเจริญเติบโตนำไปจำหน่ายจ่ายแจกได้อย่างสบาย

การเติมอินทรียวัตถุอยู่บ่อยๆ จนสามารถสะสมอยู่ในดินได้มากถึง 5 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำ อากาศอย่างละ 25 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งมีอนินทรีย์หินแร่มากถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ในอนาคตดินแบบนี้ ก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีให้สิ้นเปลืองเงินอีกต่อไป แต่ในปัจจุบันเราปลูกพืชเชิงเดียวกันมาเป็นระยะเวลานาน แร่ธาตุและสารอาหารก็ถูกพืชดูดกินมาอย่างยาวนาน (เรานำผลผลิตออกจากแปลงเรือกสวนไร่นาไปเป็นตันๆ แต่เราใส่ปุ๋ยคืนกลับครั้งละไม่กี่กิโลกรัม) จึงทำให้ความสมดุลใส่แง่ความอุดมสมบูรณ์ของดินขัดแย้งกัน

อย่างไรก็ตามในช่วงเริ่มแรกปลูกนั้นควรที่จะให้อาหารแก่กล้าพริกให้มากเพียงพอครับ นอกจากใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกแล้วขอแนะนำแร่ธาตุอาหารธรรมชาติจากหินแร่ภูเขาไฟ ที่ชื่อว่า พูมิชซัลเฟอร์ นั้น (ประกอบด้วย ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม นิกเกิล และซิลิก้าที่ละลายน้ำได้) ขาดแต่เพียงไนโตรเจนเท่านั้น ท่านจะใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) เสริมเติมลงไปบ้างเล็กน้อยก็จะช่วยทำให้ต้นพริกระยะเล็กนี้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและแข็งแรง....อย่าลืมนะครับ พริกจะต้องได้รับแร่ธาตุสารอาหารที่ครบถ้วนทั้งธาตุหลัก รอง เสริมและธาตุพิเศษ ในกรณีที่ปลูกเพื่อขาย ถ้าปลูกไว้ทานเองก็จะเลี้ยงดูตามมีตามเกิดก็ไม่เป็นไรครับ

หลังจากต้นพริกเริ่มตั้งตัวได้ อาจจะเสริมด้วยปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 ในช่วงอายุ 15 -20 วันอีกครั้งหนึ่งขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาด้วยนะครับ ก่อนที่จะไปถึงเรื่องการใส่ปุ๋ยในระยะบำรุงผลของพริกก่อนเก็บเกี่ยว ผมอยากจะแนะนำให้ทำปุ๋ยละลายไว้หน่อยก็ดีเพราะปุ๋ยในบ้านเรานั้นจะถูกออกแบบมาให้เคยชินกับผู้ใช้คือต้องการอะไรที่ละลายเร็ว จนทำให้พืชนั้นกินไม่ทัน กินจริงๆ ได้เพียง 20 -30 % ส่วนที่เหลือเสียหายไปกับอากาศ สายลม แสงแดด ส่วนหนึ่งจมลึกลงไปใต้ดินเกินกว่าระดับรากพืชจะดูดกินได้

หลักการที่จะทำให้ปุ๋ยกลายเป็นปุ๋ยละลายช้าก็ทำง่ายๆ ครับ เพียงแค่นำปุ๋ยเคมีสูตรที่ต้องการ (ได้ทุกสูตร ไม่ว่าจะเป็น 46-0-0, 15-15-15, 16-16-16, 8-24-24 ฯลฯ) ในอัตรา 100 กิโลกรัม พรมน้ำพอชื้นหรืออาจจะพรมด้วยน้ำจุลินทรีย์ขี้ควาย หรือจุลินทรีย์หน่อกล้วย หรือจุลินทรีย์) โรยทับลงไปและคลุกเคล้าให้เข้ากัน จนความชื้นแห้งหายไป แล้วสามารถนำไปเก็บใส่กระสอบไว้ได้เหมือนเดิมเก็บไว้นานเป็นปีโดยไม่เสื่อมคุณภาพนะครับ

ส่วนระยะเวลาการใส่ปุ๋ยก็อาจจะสังเกตจากลักษณะต้นเป็นหลัก (ความจริงควรเป็นเช่นนี้) เพื่อที่จะได้ไม่สิ้นเปลืองเงินซื้อปุ๋ยไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่ถ้ายังเป็นมือใหม่ก็อาจจะแบ่งใส่เป็นช่วงๆ ไปก็ได้ครับ เช่น หลังจากปลูกไป 1 – 2 สัปดาห์ (ยูเรีย 46-0-0 +สูตรเสมอ 15-15-15) และช่วงอายุ 30-35 วัน สัปดาห์ (ยูเรีย 46-0-0 +สูตรเสมอ 15-15-15)หรือ สูตร (สูตรเสมอ 15-15-15 + 8-24-24)ก็ใส่อีกครั้งหนึ่ง และไปใส่อีกทีก่อนเก็บช่วงอายุพริก 45 – 50 วัน (สูตร 13-13-21 หรือ 8-24-24)

ในระหว่างนี้การให้ปุ๋ยทางดินอย่างเดียวก็อาจจะได้แต่เพียงธาตุอาหารหลัก และต้องสังเกตุธาตุอาหารรองและอาหารเสริมจากพูมิชซัลเฟอร์มีเพียงพอไหม (ใช้หลักการสังเกตที่สีของผิวใบ) ถ้าไม่พออาจจะเพิ่ม พูมิชซัลเฟอร์ทางดินช่วงอายุ 25 -30 วัน หรืออาจจะต้องฉีดพ่น ซิลิโคเทรซ 10 กรัม ร่วมกับ ไคโตซานMT 10 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงให้พริกมีความอุดมสมบูรณ์อย่างเต็ม ไม่ควรก่อสร้างกังวลหรือสร้างความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตหรือความอุดมสมบูรณ์ของพริกโดยเด็ดขาด เพราะอุตส่าห์เฝ้าทะนุถนอมมาตั้งหลายวัน แต่พอติดดอกออกผลแล้วกลับสลัดดอก สลัดผลทิ้งหมดจากความอ่อนแอของต้นแม่ ถ้าปลูกเพื่อการค้าแนะนำควรบำรุงให้เต็มที่นะครับทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริมและธาตุพิเศษ ซิลิสิค, ไคโตซาน (คำว่าพิเศษในที่นี้มิได้หมายถึงความพิเศษมหรรศจรรย์ใดๆทั้งสิ้นนะครับ พิเศษในที่นี้หมายถึง พืชจะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีก็จะช่วยเร่งการเจริญเติบโต สร้างความแข็งแกร่ง สร้างภูมิต้านทานให้แก่ผนังเซลล์)

ในระหว่างที่บำรุงดูแลอยู่ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องโรคแมลงก็สามารถใช้จุลินทรีย์ทริปโตฝาจ ร่วมกับสมุนไพรไทเกอร์เฮิร์บ เพื่อป้องกันการเข้าวางไข่ของแมลงศัตรูพืช ป้องกันเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งหรือหนอนแบบไม่หนักหนาสาหัสมากนัก, ส่วนมีปัญหาเรื่องรากเน่าโคนเน่าก็เสริมเติมด้วยไตรโคเดอร์ม่า (สามารถแก้ได้ทั้งทางใบและทางราก) ในบางครั้งเชื้อโรคก็มีความหลากหลายไตรโคเดอร์ม่าอย่างเดียวอาจจะไม่ตอบสนองหรือไม่ตรงกับชนิดของเชื้อราศัตรูพืช ไม่เป็นไรครับทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษเขาก็มี บีเอสพลายแก้ว กองหนุนมาช่วยเสริมอีกแรงหนึ่ง เจ้าตัวนี้เขายังมีความสามารถในการปราบโรคกุ้งแห้งหรือโรคแอนแทรกโนส (เกิดจากเชื้อราคอลเล็คโตรตริคุ่ม) ทำให้เกิดวงแผลเป็นวงขยายทั้งใบและเม็ดพริก บางครั้งทำให้เกิดการบิดเบี้ยวหงิกงอเหมือนกุ้งแห้ง ใช้ตัวนี้รับรองว่าโรคนี้จะไม่มารบกวนอีกอย่างแน่แท้ครับ

ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับหนอนโดยตรง ก็สามารถที่จะหมักขยายเชื้อบีทีชีวภาพในอัตรา 5 กรัมต่อมะพร้าวอ่อนเฉาะฝาแง้มหนึ่งผล หมักทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง แล้วนำไปผสมกับน้ำ 20 ลิตร หรืออาจจะใช้สูตรนมยูเฮชที, นมพาสเจอร์ไรส์ หรือน้ำเต้าหู้ หนึ่งกล่องหรอ 250 ซี.ซี. แทนมะพร้าวก็ได้ครับ หรือบางคนที่อาจจะไม่ได้ทำการเพาะปลูกเป็นจำนวนมาก ก็สามารถใช้แบบผงสปอร์สำเร็จรูป 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทันทีก็ได้ไม่กันมีหลากวิธีให้เลือกครับ

ยิ่งเล่าก็ยิ่งยาวครับท่านผู้อ่าน อย่างไรก็ตามถ้าอ่านไม่หมดจดไม่ทัน อยากรู้ในสิ่งที่ยังไม่ได้เล่าในบทความนี้ก็สามารถโทรศัพท์มาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทีมงานชมรมเกษตรปลอดสารพิษกันได้นะครับ 0-2-986-1680-2 หรือ 081-313-7559 ครับ

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 566756เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2014 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2014 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท