ปลูกอ้อยภาคอีสานได้น้ำหนัก เพิ่มความหวาน ไม่เสียงานเสียเวลา


พื้นที่ภาคอีสานบ้านเฮานั้น ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากอดีตในห้องช่วง20 กว่าปีมานี้ อีสานแล้ง น้ำแห้ง ขาดแคลนอาหารการกิน ปัจจุบันนั้นแทบจะหาภาพแบบนี้ไม่ได้อีกแล้ว เนื่องด้วยโครงการต่างๆ นานาที่ลงไปช่วยเหลือ พืชไร่ไม้ผลเศรษฐกิจต่างๆ นานาก็สรรหานำมาปลูกกันจนพื้นที่เขียวขจีไม่แตกต่างจากพื้นที่ภาคอื่นๆของประเทศไทย มิหนำซ้ำยังจะมีมากกว่าเสียด้วยซ้ำ เพราะยางพารา มันสำปะหลัง พริก และในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะมีอ้อยเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ชำเลืองมองไปด้วยความไม่ตั้งใจก็จะเห็นเต็มท้องทุ่งอย่างแน่นอน เนื่องด้วยภาคอีสานปัจจุบันนั้นมีโรงงานน้ำตาลทั้งยักษ์ใหญ่ยักษ์เล็กลงไปสร้างโรงงานกันมากกว่า 10 หรือ 20 แห่ง เพื่อรองรับกับความต้องการของตลาดโลก ตลาดอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ และอาหารสำหรับเครื่องจักร ที่นำอ้อยไปพัฒนาเป็นพืชพลังงาน ทำเอทานอลทำแก๊สโซฮอล์ ฯลฯ

อย่างไรก็ตามพื้นที่ภาคอีสานส่วนใหญ่นั้นยังคงเป็นพื้นที่ดินทราย ซึ่งไม่มีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำ กักเก็บแร่ธาตุสารอาหารให้แก่พืชได้ดีมากเท่าใดนัก กอรปกับอ้อยนั้นเป็นพืชที่ต้องการแร่ธาตุและสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งธาตุหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ธาตุรอง แคลเซียมแมกนีเซียมกำมะถันและธาตเสริม(จุลธาตุ) เหล็ก ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โบรอน โมลิบดินั่ม นิกเกิ้ล คลอรีน อีกทั้งธาตุพิเศษ อย่างซิลิสิค, ไคโตซาน (พืชจะมีหรือไม่มีก็ได้) ซึ่งคุณสมบัติของดินทรายจะขาดแคลนแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ เหล่านี้ในการที่จะนำไปให้อ้อยใช้ในการสร้างการเจริญเติบโตจึงมักขาดแคลน อีกทั้งพื้นที่เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจมีการเผาตอซังฟางข้าว เผาเศษไม้ใบหญ้า หรือไม่มีการปลูกพืชสดอย่าง ปอเทือง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง (พืชตระกูลถั่ว) ซึ่งมีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศแล้วนำมาเก็บไว้ในปมที่รากของต้นถั่วเมื่อทำการไถกลบ ไถหมักก็จะทำให้ได้รับแร่ธาตุสารอาหารลงไปสู่ดินอีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากจะใช้หลักการตามธรรมชาติซึ่งอาศัยอินทรียวัตถุจากปุ๋ยพืชสด หรือเศษไม้ใบหญ้าแล้ว เกษตรกรยังสามารถใช้คุณสมบัติจากหินแร่ภูเขาไฟ (พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์) ช่วยในการทำให้ดินนั้นมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำอุ้มปุ๋ย อีกทั้งปลดปล่อยย่อยสลายตัวเองออกมาให้ปุ๋ยกับดินและต้นไม้ได้อย่างมากมายมหาศาล เพราะตัวของหินแร่ภูเขาไฟนั้น เป็นหินแร่ที่ผ่านความร้อนหลอมละลายกับหินและแร่ชนิดต่างๆ ในระดับอุณหภูมิที่มากกว่า 980 – 1,200 องศาเซลเซียส เมื่อโผล่พ้นจากใต้พื้นภิภพเจอกับสภาพบรรยากาศที่บางเบาเหนือพื้นโลกเพียงหนึ่งชั้นบรรยากาศก็เกิดการระเบิด พองตัว เกิดการระเหยของก๊าซออกจากหินแร่ เกิดรูพรุนมหาศาล ทำให้มีคุณสมบัติที่มีรูพรุนเหมือนฟองน้ำ มีคุณสมบัติเป็นหินสุก (เหมือนข้าวโพดคั่ว (Popcorn) พร้อมที่จะละลายน้ำ ย่อยสลายตัวเองออกมาเป็นอาหารให้แก่พืช เพราะตัวเขาเองนั้นมีแร่ธาตุและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชครบครัน จะน้อยหน่อยก็คือ ไนโตรเจน ถ้ามีการเติมอินทรียวัตถุ เติมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก พื้นที่นั้นก็แทบจะไม่ต้องใส่ปุ๋ยได้เลยในอนาคต และที่สำคัญตัวของหินแร่ภูเขาไฟ จะมีแร่ธาตุซิลิก้า (sio2) ที่พร้อมแตกตัวละลายน้ำได้กลายเป็น ซิลิคอน (H4Sio4) ช่วยให้พืชมีผนังเซลล์ที่แข็งแกร่งได้มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ด้วย พื้นที่ที่มีการเติมหินแร่ภูเขาไฟ (พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์) ลงไปในอัตรา 20 – 40 กิโลกรัมต่อไร่จะช่วยทำให้อ้อยมีการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มความหวาน (เพราะจะค่อยๆปลดปล่อยไนโตรเจนออกไปสู่อ้อยในปริมาณที่พอเหมาะพอดี) ในระยะยาวก็จะมีสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินคล้ายป่าเปิดใหม่ ช่วยเติมเต็มแร่ธาตุสารอาหารโดยเฉพาะดินในพื้นที่ภาคอีสานซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ดินทราย ก็จะช่วยเพิ่มน้ำหนัก เพิ่มความหวาน (เพราะจะค่อยๆปลดปล่อยไนโตรเจนออกไปสู่อ้อยในปริมาณที่พอเหมาะพอดี ไม่โอเวอร์ไนโตรเจน) ในระยะยาวก็จะมีสภาพคล้ายเกาะบาหลี คล้ายภูเขาไฟฟูจิ คล้ายภูเขาไฟอิตาลี และคล้ายๆ แหล่งพื้นที่ภูเขาไฟเก่าอีกหลายๆ ลูกในโลกนี้ ที่มักจะเป็นแหล่งเพาะปลูกของเกษตรกร เนื่องด้วยมีความอุดมสมบูรณ์มากจนไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเกษตรเชิงธรรมชาติโด่งดังไปทั่วโลก มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจไปมาหาสู่ไม่เว้นแต่ละปี

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 566750เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2014 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2014 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท