สภาวะการเกษตรเปลี่ยนแปลง เกษตรกรต้องปรับตัว


สถานการณ์รับจำนำข้าวในขณะนี้ พี่น้องชาวไร่ชาวนาเริ่มมีความไม่พอใจเพิ่มมากขึ้น จากนโยบายรับจำนำข้าวที่รัฐบาลยังไม่ได้จ่ายเงินมายังพี่น้องเกษตรกร เนื่องด้วยในขณะนี้ติดขัดปัญหาในหลายๆด้าน ทั้งงบประมาณที่จะกู้ยืมมาจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือธนาคารออมสิน หรือธนาคารกรุงไทย ก็ติดขัดที่กลุ่ม กปปส. ได้เข้ามากดดันเจ้าหน้าที่มิให้ดำเนินกิจกรรม อีกทั้งในส่วนของงบประมาณที่อนุมัติไปเมื่อปลายปีที่แล้ว คือวันที่ 3 กันยายน 2556 นั้น ก็ยังไม่ได้ผ่านการอนุมัติจาก กกต. จึงทำให้เงินยังไม่ไปถึงมือประชาชนชาวไร่ชาวนา ซึ่งแตกต่างจากค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าเทอม ค่าปุ๋ยค่ายา มิได้มารอตามเงินรับจำนำข้าวไปด้วย จึงส่งผลทำให้ชาวนาเดือดร้อนจากผลกระทบนี้เป็นอย่างมาก แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาแก้ข่าวต่างๆ นานา อย่างไร ก็ยังไม่ได้สร้างความพึงพอใจให้ได้มากนัก

สถานการณ์ในขณะนี้จึงส่งผลกระทบต่อตัวพี่น้องเกษตรกรโดยตรง บวกกับสถานการณ์น้ำที่มีข่าวมาจาก รองอธิบดีกรมชลประทานว่าอาจจะมีไม่เพียงพอต่อผู้ที่ปลูกข้าวรอบใหม่ คือมีให้ใช้เพียงพอเฉพาะผู้ที่ปลูกไปแล้ว ส่วนผู้ที่ปลูกหลังจากฤดูกาลก่อนหน้านี้นั้น จะไม่มีน้ำส่งไปช่วยแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ทางหน่วยงานของกรมชลประทานจึงแนะนำให้ปลูกพืชระยะสั้นทดแทน แต่ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นพืชอะไร ราคาดีไหม? อนาคตจะเป็นอย่างไร จะช่วยให้ลืมตาอ้าปากได้ หรือเป็นการกระหน่ำซ้ำเติมให้สถานการณ์ยุ่งยากเลวร้ายเพิ่มขึ้น เนื่องด้วยเกษตรกรอาจจะขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดความชำนาญในการเพาะปลูก เมื่อเทียบกับข้าวที่มีประสบการณ์ที่ยาวนานมากกว่า

ถึงอย่างไรก็ตามพี่น้องเกษตรกรชาวไร่ชาวนา ก็ควรต้องคิดพึ่งพาตนเองให้เป็นสำคัญเพื่อที่จะได้ดำรงคงไว้ซึ่งอาชีพชาวนาให้สามารถมีความก้าวหน้าและมีศักยภาพในการแข่งขันกับพี่น้องชาวอาเซียนที่จะเปิดเต็มตัวในห้วงช่วงปี 2558 เป็นต้นไป การดูแลปรับปรุงบำรุงดินให้มีค่าความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของอยู่ตลอดเวลา คือหมั่นตรวจวัดสภาพความเป็นกรด ด่างของดินทุกๆ ปี ให้อยู่ระหว่าง 5.8 – 6.3 (สภาพกรดอ่อนๆ) และหมั่นเติมอินทรียวัตถุเพื่อให้โครงสร้างดินมีความแข็งแรง เรียกไส้เดือน จุลินทรีย์ดีมีประโยชน์นานาชนิดให้มาอยู่อาศัยสร้างกิจกรรม แลกเปลี่ยนสารอาหารกับระบบราก ทำให้ประหยัดการใช้ปุ๋ย ทำให้โครงสร้างดินมีอายุที่ยาวนานเหมือนป่าเขาลำเนาไพร อีกทั้งควรใช้ หินแร่ภูเขาไฟ (พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์, ไคลน็อพติโลไลท์ ฯลฯ) มาช่วยเสริมความสมบูรณ์ (เนื่องด้วยส่วนใหญ่เรายังปลูกพืชเชิงเดียว ยังมีสภาพแวดล้อมไม่ใกล้เคียงกับดินในผืนป่า)มาช่วงสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ผนังเซลล์ เพื่อที่จะได้ลดการใช้ยาฆ่าแมลง สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องด้วยพืชจะมีความแข็งแรงมาก จนไม่มีโรค แมลง เพลี้ย หนอน รา ไร เข้ามารบกวนการดูแลปัจจัยพื้นฐานในการปลูกพืช ทั้งด้าน ดิน น้ำ อากาศ แสง ฯลฯ นั้นถือเป็นการสร้างพื้นฐานให้มั่นคง เมื่อมีปัญหากระทบที่ปลายเหตุก็สามารถที่จะดูแลแก้ไขได้ไม่ยากนัก

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 566746เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2014 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2014 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท