ภัยน้ำท่วม ภัยหนาว ภัยแล้ง มิได้เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี


ปัญหาภัยธรรมชาตินั้นยังคงย่างกรายทายท้ามนุษยชาติไม่เว้นไปในแต่ละปี ในรูปแบบที่ผิดแผกแตกต่างกันไปบ้างก็เพียงเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นฝนตก น้ำท่วม สึนามิ แผ่นดินไหว ภัยหนาว ความแห้งแล้ง มีผลกระทบต่อผู้คนชนบนโลกในรูปแบบที่แตกต่างกันไป บ้างก็พออกพอใจ บ้างก็อกสั่นขวัญหายไปกับการสูญเสียจากผลกระทบที่ได้รับ บางครั้งก็ถึงแก่ชีวิต บางครั้งก็เกิดการพลัดพราก บางครั้งก็นำความสุขสบายมาในรูปแบบอากาศที่เย็นฉ่ำโดยเฉพาะในตัวเมืองที่มีฝุ่นควัน ไอเสีย ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากๆ เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว จึงทำให้อากาศในโซนดังกล่าวนั้นก็จะมีความรู้สึกที่พอเหมาะพอดี โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร

อย่างไรก็ตามภัยธรรมชาตินั้นก็มีหนักหน่วง รุนแรง และบางเบาแตกต่างกันไป และสร้างผลกระทบต่อผู้คนไม่เหมือนกันในแต่ละพื้นที่ก็ต้องดัดแปลงแก้ไขให้มีความสามารถที่จะดำรงคงอยู่ให้ได้ในโลกใบนี้ โดยเฉพาะผู้คนชนเกษตรกรรมนั้นมักจะต้องมีความเกี่ยวข้องผูกพันกับธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นโอกาส หรืออุปสรรคที่เข้ามาล้วนจะต้องมีความรู้สึกที่ฉับไวกว่าผู้คนชนโรงงานและออฟฟิศ ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นไม่ต้องกังวลกับเรื่องสภาพภูมิอากาศมากเหมือนกับอาชีพเกษตรกร เนื่องด้วยไม่ว่าจะหนาว ร้อน หรือฝน (ยกเว้นน้ำท่วม) เขาเหล่านั้นก็ยังคงจะสามารถทำงานกันได้ภายใต้อาคารหรือสถานที่ที่กำหนดไว้แตกต่างจากผืนนาผืนไร่เรือกสวนไร่นาที่ตากแดดตากลมห่มฟ้าอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

จึงไม่พ้นที่จะต้องได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติโดยตรงไม่ว่าในกรณีใดๆ จะมีอยู่บ้างที่อาชีพเกษตรกรรมจะได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติเล็กน้อยก็จะเป็นกลุ่มที่ปลูกแบบทดลอง วิจัย ปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ ปลูกแบบคนเมือง ซึ่งก็เป็นส่วนน้อยนักเมื่อเทียบกับบรรพชนคนไทยทั้งประเทศที่มีพื้นฐานการทำอาชีพเกษตรกรรมทำหรือผลิตอาหารมาป้อนคนเมือง และผู้คนชนทั่วโลก

จากฝน พ้นหนาว บ้านเมืองเราขณะนี้ก็กำลังย่างก้าวเข้าสู่ภัยแล้งอีกแล้วล่ะครับท่านผู้อ่าน งานที่สำคัญด้านการเกษตรในระยะนี้เห็นทีจะไม่พ้นการเตรียมแหล่งกักเก็บน้ำประจำไร่นา จะต้องดูแลรักษาให้มีคุณภาพในการดำรงคงอยู่ของน้ำไว้ให้มากที่สุด มิให้หลุดลอดรั่วไหลออกไปโดยไม่จำเป็นให้มากเกินไปนัก เกษตรกรที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำแหล่งชลประทานและยังมิได้เตรียมการเรื่องบ่อ เรื่องสระน้ำประจำไร่นาก็ควรรีบเตรียมการจะขุดจะกักแล้วรีบนำน้ำเข้ามาสำรองเตรียมไว้ใช้ อาจจะขุดเจาะบ่อบาดาล หรือบ่อโยกบ่อสาว เพื่อให้ได้มีน้ำไว้ใช้ในการเกษตรก็รีบทำอนึ่งพื้นบ่อที่อยู่ในพื้นที่ดินทรายมีประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำไม่ค่อยจะดีนัก ก็ควรจะใช้ สารอุดบ่อ (กลุ่มของคาร์โบฮัยเดรท ในรูปโพลิเอคริลาไมด์) ในอัตรา 2 กิโลกรัม คลุกผสมกับ เบนโธไนท์ หรือ สเม็คโตไทต์ ในอัตรา100 กิโลกรัม คลุกผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปหว่านกระจายให้ทั่วพื้นบ่อหรือริมผนังกั้นบ่อให้ทั่ว สารอุดบ่อจะทำปฏิกิริยา สเม็คโตไทต์ ทำหน้าที่คล้ายดินเหนียวและสารอุดบ่อจะพองขยายขนาดอุดรูรั่วรอยโหว่ที่จะทำให้น้ำนั้นรั่วซึมออกไปบางคนอาจจะเตรียมการหลังขุดบ่อใหม่ๆ ด้วยการใช้รดแทรกเตอร์บด อัด พื้นบ่อให้แน่น ด้วยกรวดหยาบ กรวดละเอียด แล้วจึงโรยด้วยสารอุดบ่อตามสูตรที่ได้แนะนำไป จึงค่อยปล่อยน้ำ สารอุดบ่อจะช่วยทำให้เกิดเมือก (คล้ายนิทานเรื่องไอ้ขี้มูกมาก ที่สั่งขี้มูกอุดรูรั่วของเรือ) ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำรั่วซึมในสระน้ำประจำไร่นา ช่วยให้พีน้องเกษตรกรสามารถมีแหล่งกักเก็บน้ำไว้ทำการเกษตรกรรมประจำปี เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีและต้นทุนของเมืองนอกเมืองนาที่จะต้องใช้เงินตรามากกว่าแสนบาทต่อไร่ หรือบางครั้งเป็นล้านบาทต่อไร่ ใช้วิธีการทำแบบไทยๆ ใช้สารอุดบ่อ ใช้เมือกธรรมชาติต้นทุนประมาณ 1,500 บาทต่อไร่ใช้กักเก็บน้ำได้เป็นแรมปี สนใจก็ติดต่อสอบถามข้อมูลไปยังชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทรศัพท์ 0-2986-1680 -2 หรือเว็บไซด์ www.thaigreenagro.com

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 566751เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2014 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2014 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท