ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วยหรือ


       การประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการย่อมคำนึงถึงผลกำรจากการประกอบกิจการเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดเป็นธรรมดาเพราะการประกอบธุรกิจผลกำไรเป็นวัตถุประสงค์ของการทำงานอยู่แล้ว แต่การประกอบธุรกิจโดยคำนึงแต่เพียงผลกำไรจนบางครั้งผู้ประกอบการไม่คำนึงถึงลกระทบที่ตามมาจากกิจการของตน หรือมองข้ามผลกระทบที่จะตาม อันจะส่งผลเสียแก่สังคมก็เป็นได้ ซึ่งข้าพเจ้าจะขออธิบายถึงผลกระทบในด้านสิทธิมนุษยชนที่ผู้ประกอบกิจการมักจะมองข้ามอยู่เสมอ

       การประกอบธุรกิจย่อมจะต้องควบคู่ไปกับการประชาสัมพันธ์อยู่เสมอ เพราะผลกำไรจะเกิดขึ้นได้ก็มาจากการที่ฐานการตลาดของสินค้านั้นกว้างขวางกว่าสินค้าในชนิดหรือประเภทเดียวกัน การโฆษณาประชาสัมพันธ์จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้สินค้าของผู้ประกอบธุรกิจเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ซึ่งการทำโฆษณาสินค้าในปัจจุบันมักจะต้องดึงจุดเด่นของสินค้าออกมานำเสนอให้ชัดเจนที่สุดเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสนใจและเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ ดังนั้นผู้ทำโฆษณาจึงต้องนำจุดเด่นมาเป็นหัวใจในการทำ หลายครั้งก่อให้เกิดปัญหากระทบสิทธิมนุษยชนทั้งอย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างในเรื่อง การโฆษณาแฝง เรื่องนี้อาจจะฟังดูตลกว่าเหตุใดการโฆษณาแฝงจึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง ก่อนอื่นข้าพเจ้าขออธิบายคร่าวๆว่า กสทช. ได้กำหนดโควต้าจำนวนเวลาเป็นนาทีให้แก่ สถานีโทรทัศน์แต่ละช่องว่าวันๆหนึ่งจะโฆษณาสินค้าโดยตรงได้ไม่เกินเวลากี่นาที ซึ่ง ปติแล้ว สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีทุกช่องจากการสำรวจมักจะใช้เวลาโฆษราโดยตรงเกินกว่าโควต้าที่กำหนดอยู่เสมอ ซึ่งกล่าวได้ว่า นอกจากจะเป็นการละเมิดต่อกฎหมายแล้วยังเป็นการละเมิดต่อสิทธิของประชาชนที่จะต้องได้รับชมรายการโทรทัศน์อย่างเติมเวลาโดยไม่ถูกเอาเปรียบจากการค้ากำไรโฆษณา ซึ่งในเรื่องของการละเมิดจากการโฆษณาโดยตรงเกินเวลา ยังไม่กระทบต่อสิทธิมากเท่าไร แต่สิ่งที่เป็นภัยร้ายต่อสิทธิมนุษยชนที่แท้จริงคือการโฆษณาแฝง

        การโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์หลายคนอาจสงสัยว่ามันคืออะไร การโฆษณาแฝงคือการแอบสอดแทรกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการโฆษณาให้ติดไปกับเนื้อหาของรายการโดยที่ผู้รับชมอาจไม่รู้ตัวว่าตนกำลังดูโฆษณาไปด้วยในขณะรับชมรายการโทรทัศน์ ยกตัวอย่างเช่นละครซิทคอม ที่มักจะมีการนำผลิตภัณฑ์นู้น ผลิตภัณฑ์นี้มาเข้าฉากในละครอยู่เสมอๆ โดยมักทำเป็นเหมือนว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว หรือแม้กระทั่งรายการข่าววาไรตี้ ข่าวเช้าที่มักจะมีแก้วกาแฟสกรีนลายซึ่งข้าพเจ้าไม่ขอระบุชื่อผลิตภัณฑ์ วางอยู่บนโต๊ะของนักข่าวเสมอ[1] ผู้รับชมจะเห็นผลิตภัณฑ์เหล่านี้จนชินตาในทุกๆครั้งที่ได้รับชม จนเกิดเป็นภาพติดตาซึ่งในทางวิทยาศาสตร์นั้นอธิบายว่าการโฆษณาแฝงก็คือการสะกดจิตคนอื่นอย่างหนึ่งนั้นเอง ให้ผู้รับชมเห็นภาพผลิตภัณฑ์ซ้ำๆๆ จนฝังใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นดูคุ้นตา นำไปสู่การตัดสินใจซื้อยี่ห้อนี้เพราะรู้จักมากกว่ายี่ห้ออื่น หรืออาจพูดได้ว่าคิดไปเองว่าผลิตภัณฑ์นี้มีชื่อเสียง ซึ่งในปัจจุบันช่องบางช่องมีค่าเฉลี่ยนโฆษณาแฝง สูงสุดถึง 85.8เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ในประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศอย่างสหรัฐอมเริกา และ อังกฤษมีการออกกฎหมายที่ควบคุมการโฆษณาแฝงอย่างจริงจังมากเป็นพิเศษ ต่างจากไทยที่ข้อบังคับมีเพียงแต่กำหนดว่า การโฆษณาแฝงของเพียงไม่กระทบกับเนื้อหาของรายการก็เพียงพอ จึงเป็นปัญหาที่ไทยยังไ่ม่อาจแก้ไขได้ด้วยกฎหมาย ทำได้เพียงผู้ประกอบกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ควรจะมีจรรยาบรรณ ในการรปะกอบกิจการโดยเห็นถึงสิทธิมนุษยชนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญ[2]

นายภัทรภณ  อุทัย


[1] http://bcp.nbtc.go.th/knowledge/detail/303

[2] http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1...

หมายเลขบันทึก: 566561เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2014 02:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 04:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ที่เห็นในเมืองไทยส่วนใหญ่จะเป็นขององค์กรขนาดใหญ่ที่เน้น CSR กันใช่ไหมครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท