ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วยหรือ


โฆษณานี้ปล่อยออกมาเมื่อต้นเดือนสิงหาคมปี 2012 เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ “โดนัทชาโคล” โฆษณานี้เผยแพร่ผ่านทางโปสเตอร์ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ต่างๆ เนื้อหาของโฆษณาได้ถ่ายทอดภาพหญิงสาวคนหนึ่งที่ทาหน้าด้วยสีดำและยิ้มแย้มด้วยริมฝีปากสีชมพูสดใส และทำผมทรงรวงผึ้งแบบในยุค 1950 กำลังถือโดนัทที่เธอเพิ่งกัด ตลอดจนสโลแกน “ฉีกทุกกฎของความอร่อย”

และเพียงไม่นาน ภาพโฆษณาดังกล่าวได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในกลุ่มชาวอเมริกัน โดยเฉพาะกลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชน ที่ถึงกับช็อกเมื่อได้เห็นภาพโฆษณาที่แปลกและสื่อถึงการเหยียดสีผิวเช่นนี้ ปรากฏบนโฆษณาสินค้าแบรนด์อเมริกัน ชาวอเมริกันมองว่าการแต่งหน้าให้ดำและทาปากสีแดง เป็นการสะท้อนการแต่งหน้าแบบ “ Black Face” ซึ่งแสดงว่าคนผิวดำในภาพเป็นพวกผิวดำชนชั้นต่ำในยุค 1990s นั่นเอง

ในสมัยหนึ่ง ที่ฝรั่งผิวขาวยังไม่อนุญาตให้คนผิวสี หรือผิวดำมาเล่นละครเวทีการที่จะมีใครสักคนรับบทคนผิวดำ ซึ่งเป็นบททาสหรือแรงงานอพยพ ก็จะต้องใช้คนผิวขาวมาทาหน้าดำและทาปากสีแดงๆ ต่อมาภายหลังถึงยุคสงครามการเมือง และการปลดปล่อยทาส ทำให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นคนผิวขาวหรือผิวดำ ปัจจุบันการเหยียดสีผิวจึงหมดไปแต่เมื่อไรก็ตามที่มีการแต่งหน้าดำทาปากแดงแบบ Black Face & Red Lips ก็เป็นที่รู้กันว่าเป็น “การเหยียดสีผิว”

อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น ทางดังกิ้นโดนัท สำนักงานใหญ่ก็ได้รีบออกมาขออภัยต่อสาธารณชนในทันที พร้อมทั้งบอกว่าได้ดำเนินการมายังสาขาที่ประเทศไทย ให้ถอนโฆษณาตัวดังกล่าวในทันทีแล้ว และดังกิ้นโดนัทเองก็ทราบถึงความอ่อนไหวที่มีต่อโฆษณาชิ้นนี้ดี

สำหรับประเทศไทยเองแล้ว โฆษณานี้ไม่ได้ทำให้คนจำนวนมากในประเทศไทยรู้สึกไม่พอใจอะไร เนื่องจากประเทศไทยเองไม่เคยมีปัญหาความรุนแรงด้านการเหยียดสีผิว และมองว่าเป็นเรื่องปกติของการโฆษณา ที่จะใช้สีดำหรือคนผิวสีมาสื่อถึงความลึกลับในตัวสินค้าประเภทต่าง ๆแต่ในขณะเดียวกัน ในสังคมอเมริกัน ที่มีปัญหาเรื่องการเหยียดสีผิวในอดีต โฆษณาชิ้นนี้จึงเป็นตัวจุดชวนความไม่พอใจในเรื่องของการเหยียดสีผิว เพราะสื่อถึงความต้อยต่ำ ไม่เท่าเทียม จึงอาจกล่าวได้ว่าทัศนคติของคนในเรื่องการเหยียดสีผิวในแต่ละสังคม หรือแต่ละสภาพแวดล้อมนั้น อาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ละที่ ขึ้นอยู่กับสภาพสังคม วัฒนธรรม หรือประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมนั้นๆ

อย่างไรก็ดี ในด้านของผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ประกอบธุรกิจต่างๆ ต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการจ้างแรงงาน กระบวนการผลิต ตลอดจนการโฆษณาเผยแพร่สินค้า ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใด ผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบธุรกิจ ต้องใช้ความระมัดระวังในการดำเนินการ เพื่อมิให้ไปส่งผลเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หนึ่งผู้ใด เพราะสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของทุกคน ที่ต้องให้ความเคารพ มิใช่เป็นเรื่องของผู้หนึ่งผู้ใดแต่เพียงผู้เดียว

ซึ่งจากตัวอย่างโฆษณาดังกล่าว อาจถูกมองว่าเป็นการโฆษณาที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 2 ที่กล่าวว่า บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพประดาที่ระบุไว้ในปฏิญญานี้ ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเรื่องใด ๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมืองหรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่างโดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมืองทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกราชอยู่ในความพิทักษ์มิได้ปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด ดังนั้นการที่โฆษณาดังกล่าว สื่อถึงการเหยียดสีผิว จึงถือเป็นการกระทำที่แบ่งแยกบุคคลเพราะความแตกต่างทางด้านสีผิว ซึ่งขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนนั่นเอง

ที่มา :

1. ดังกิ้นโดนัท สนง.ใหญ่ ขออภัย หลังไทยใช้ภาพโฆษณาเหยียดสีผิว, http://hilight.kapook.com/view/90563 สืบค้นวันที่ 22 เมษายน 2557

2. “ดังกิ้นโดนัท” ขอโทษแล้ว หลังฮิวแมนไรต์วอตช์โจมตีโฆษณา “เหยียดคนดำ”, http://www.manager.co.th/around/viewnews.aspx?NewsID=9560000109573 สืบค้นวันที่ 22 เมษายน 2557

3. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/bo... สืบค้นวันที่ 22 เมษายน 2557

หมายเลขบันทึก: 566539เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2014 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท