กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนมีลักษณะเป็นสนธิสัญญาพหุภาคี กล่าวคือ เป็นสนธิสัญญาที่มีรัฐมากกว่าสองรัฐขึ้นไปเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งกระบวนการในการทำสนธิสัญญามีหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การเจรจา การให้ความยินยอมของรัฐเพื่อผู้พันตามสนธิสัญญาโดยการลงนาม การให้สัตยาบัน การภาคยานุวัติ และบางรัฐอาจตั้งข้อสงวน หรือตีความสนธิสัญญา และเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำสัญญาครบถ้วนแล้ว ภาคีก็มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่อไป การเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาก่อให้เกิดพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา มิฉะนั้นอาจต้องรับผิดในทางระหว่างประเทศ ดังนั้น เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยก็ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาดังกล่าว

พันธกรณีระหว่างประเทศเดี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของไทย ในปัจจุบันไทยเป็นภาคีในสนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งสหประชาชาติถือเป็นสนธิสัญญาหลักจำนวน 7 ฉบับได้แก่ [1]

  1.        อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC)
  2.        อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Woman - CEDAW)
  3.        กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covernant on Civil and Political Rights - ICCPR)
  4.        กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covernant on Economics, Social and Cultural Rights - ICESCR)
  5.        อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination - CERD)
  6.        อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT)
  7.        อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)

            จากการที่ไทยลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว ทำให้ไทยแบกรับหน้าที่ในการปฏิบัติตามซึ่งมีหลายเรื่องที่ปัจจุบันก็ยังคงเป็นปัญญาที่ว่าเป็นการปฏิบัติที่ขัดต่ออนุสัญญาหรือไม่ ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างในเรื่องอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ CRPD มาอธิบายเพราะเป็นกรณีศึกษาที่ข้าพเจ้าสนใจ

           การเลือกปฏิบัติของคณะกรรมการสรรหาตุลาการหรือ กต. ในกรณีที่มีการจัดสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา ซึ่งเกิดกรณีปัญหาว่า เหตุใดผู้ที่สอบข้อเขียนผ่านแต่ต้องตกสัมภาษณ์เนื่องด้วยเหตุที่ว่ามีร่างกายหรือบุคลิกภาพไม่เหมาะสมจะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษา โดยกรณีตัวอย่างนั้น บุคคลผู้มีลักษณะพิการมักจะถูกปฏิเสธในชั้นสัมภาษณ์เนื่องด้วยสภาพร่างกายไม่เหมาะสม จึงเกิดเป็นประเด็นถกเถียงกันว่า การเลือกปฏิบัติดังกล่าวถือเป็นการขัดต่อ มาตรา 30 แห่งรัฐธรรมนูญไทย ซึ่งบัญญัติไว้ว่า  “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพร่างกายหรือสุขภาพ สถานภาพของบุคคล....จะกระทำมิได้”  กล่าวคือ การที่ กต.เลือกปฏิบัติต่อคนพิการเช่นนี้ สามารถใช้บังคับได้หรือไม่ ในอดีตศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัย ด้วย มติ 8 ต่อ 3 ชี้ว่าการเลือกปฏิบัตินั้นไม่ขัดต่อมาตรา 30 แห่งรัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี 2540 ซึ่งด้วยเหตุผลที่ว่าหน่วยงานราชการทุกแห่งต้องการคนที่สามารถทำงานได้จริงๆ จากคำวินิจฉัยนี้ อาจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธ์ ออกมาแสดงความเสียใจที่ว่าศาลรัฐธรรมนูญประกอบไปด้วยพวกอนุรักษ์นิยมที่มองว่าคนพิการเป็นภาระของสังคม[2] แต่เมื่อรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ถูกประกาศใช้เรื่องนี้จึงถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นอีกครั้งซึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 15/2555 สรุปใจความได้ว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง (๑๐) เฉพาะในส่วนที่บัญญัติว่า “...มีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ...” ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๐ วรรคสาม  แต่อย่างไรก็ตาม ทำให้ในปัจจุบัน การสอบผู้ช่วยผู้พิพากษาไม่อาจเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความพิการได้อีกต่อไป อันมีผลสำคัญทำให้บทบัญญัติที่ว่าด้วยการสอบผู้ช่วย ถูกตีความให้สอดคล้องกับ หลักการห้ามเลือกปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรค3 แห่ง รัฐธรรมนูญไทย อีกทั้งยังเป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ(Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD) ของสหประชาชาติ อีกด้วย[3]

       นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดีต่อผู้พิการในไทยที่สังคมเริ่มมองเห็นถึงความสำคัญและเปลี่ยนแนวคิดทัศนคติเดิมที่มองคนพิการเป็นเพียงภาระ เป็นเริ่มให้โอกาสให้คนพิการได้มีจุดยืนในสังคม

 นายภัทรภณ  อุทัย

[1] http://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/contentpage.php?id=21&menu_id=2&groupID=2&subID=19

[2] http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:zcgiNcSR6TsJ:www.thaingo.org/story/news_001.htm+&cd=1&hl=en&ct=clnk&gl=th

[3] file:///C:/Users/Mod/Downloads/center-law15_55.pdf

หมายเลขบันทึก: 566467เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2014 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 04:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท