กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญา7ฉบับ ได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(ICCPR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม(ICESCR) อนุสัญญาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ(CEDAW) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก(CRC) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ(CERD) อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี(CAT) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ(CRPD)[1]

ปัจจุบัน แม้ในประเทศไทยจะมีกฎหมายป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย แต่ก็ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่มากมาย โดยเฉพาะกรณีที่การกระทำดังกล่าวเป็นจารีตหรือธรรมเนียมมาช้านาน เช่น การลงโทษนักเรียนโดยการตี การลงโทษเช่นนี้มีการปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งหลายท่านก็มีความเห็นว่าการลงโทษด้วยวิธีการเช่นนี้เป็นวิธีการที่ได้ผลดี แต่หากลงโทษหนักเกินไป เช่น กรณีด.ญ.จอย นักเรียนชั้นป.3 ที่ถูกครูหรือนายสหมิตร ตาอ้อน ทำโทษเพราะไม่ได้ทำการบ้านมาส่งจนเลือดไหลและเป็นแผลอักเสบ[2]

ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ7บุคคลจะถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือต่ำช้ามิได้ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งบุคคลจะถูกใช้ในการทดลองทางการแพทย์หรือทางวิทยาศาสตร์โดยปราศจากความยินยอมอย่างเสรีของบุคคลนั้นมิได้[3] การที่ครูตีเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่3 เพราะเพียงไม่ทำการบ้านมาส่งซึ่งไม่ใช่ความผิดร้ายแรงเลย จนได้รับบาดเจ็บ เป็นการทำให้เด็กได้รับความทรมาน และเป็นการลงโทษที่โหดร้าย

นอกจากนั้น  อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ข้อ4(1)ให้รัฐภาคีแต่ละรัฐประกันว่าการกระทำทรมานทั้งปวงเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาของตน ให้ใช้หลักการเดียวกันนี้บังคับสำหรับการพยายามกระทำการทรมานและสำหรับการกระทำโดยบุคคลใดที่เป็นการสมรู้ร่วมคิดหรือการมีส่วนร่วมในการทรมานด้วย (2)ให้รัฐภาคีแต่ละรัฐทำให้ความผิดเหล่านี้เป็นความผิดที่มีโทษซึ่งมีระวางโทษที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำเหล่านั้น และข้อ5ให้รัฐภาคีแต่ละรัฐดำเนินมาตรการต่างๆที่อาจจำเป็นเพื่อให้ตนมีเขตอำนาจเหนือความผิดที่อ้างถึงในข้อ4ในกรณีต่างๆดังต่อไปนี้ (ก)เมื่อความผิดเหล่านั้นเกิดขึ้นในอาณาเขตใดที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของตนหรือบนเรือหรืออากาศยานที่จดทะเบียนในรัฐนั้น (ข)เมื่อผู้ถูกกล่าวหาเป็นคนชาติของรัฐนั้น[4] ดังนั้น รัฐควรดำเนินการตามที่บัญญัติในอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีเพื่อคุ้มครองผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

[1]ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี. แหล่งที่มา :http://www.mfa.go.th/humanrights/human-rights-conventions ... 21 เมษายน 2557

[2]ไม้เรียวฟาดป.3 ทำโทษไม่ส่งงาน ก้นเหวอะ-ครูรับผิด. 1 ตุลาคม 2556. แหล่งที่มา :http://www.thairath.co.th/content/373285 ...  21เมษายน 2557

[3]กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง. แหล่งที่มา :http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/ic... ... 21 เมษายน 2557

[4]อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี. แหล่งที่มา :http://www.mfa.go.th/humanrights/human-rights-obligation/international-human-rights-mechanism/cat ... 21 เมษายน 2557

หมายเลขบันทึก: 566461เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2014 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2014 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท