HR-LLB-TU-2556-TPC-กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


 กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย : ผู้หญิงห้ามเข้าวัด

 

วัดพระธาตุลําปางหลวง

( ที่มารูปภาพ : http://www.bloggang.com/data/panichlers/picture/13... )

 


          ประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันกับอนุสัญญาหลายอนุสัญญาด้วยกัน หนึ่งในนั้นคืออนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ อนุสัญญานี้มีขึ้นเพื่อยืนยันความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในเกียรติศักดิ์ คุณค่าของมนุษย์ และในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรี ไม่ให้ใช้เพศเป็นเครื่องมือในการเลือกปฏิบัติกับบุคคลนั้นๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเลือกปฏิบัติต่อสตรียังคงมีในประเทศไทยอยู่ ในที่นี้จะขอกล่าวถึง การห้ามผู้หญิงเข้าศาสนสถานในบางพื้นที่

          หากจะอธิบายว่าทำไมถึงห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าศาสนสถานนั้น ถ้าพิจารณาในเชิงพระพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่า พระภิกษุไม่สามารถถูกเนื้อต้องตัวสตรีได้ เพราะถือเป็นเพศที่มีความน่าพิศมัย ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทำที่ผิดศีลได้ ดังนั้นอุโบสถทางภาคเหนือหรือภาคอีสานหลายแห่งจึงขีดเส้นห้ามไว้เพื่อไม่ให้ผู้หญิงเข้าไป แต่กรณีของพระธาตุนั้นอธิบายได้ยากกว่า เพราะดูเหมือนว่าองค์พระบรมสารีริกธาตุนั้นน่าจะถูกบรรจุไว้ในองค์เรือนพระธาตุซึ่งอยู่สูง ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะห้ามไม่ให้ผู้หญิงเดินทักษิณาวรรตใกล้ๆองค์พระธาตุ แต่จากตำนานพระเจ้าเลียบโลกระบุไว้หลายฉบับว่า พระบรมสารีริกธาตุในภาคเหนือองค์สำคัญๆ เช่น พระธาตุหริภุญไชย พระธาตุลำปางหลวง พระธาตุดอยตุง ส่วนใหญ่จะฝังไว้ใต้พื้นดิน มิได้อัญเชิญขึ้นสู่องค์เรือนพระุธาตุตามลักษณะภายนอกที่มาห่มคลุมทีหลัง ฉะนั้นจึงไม่ควรที่จะให้ใครมายืนใกล้ๆ กับฐานเจดีย์ อย่างไรก็ตามก็มีข้อโต้แย้งว่า แล้วทำไมต้องห้ามเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น ซึ่งคงจะใช้หลักทางพุทธอธิบายเรื่องนี้ไม่ได้แน่นอน แต่ถ้าหากในมิติของไสยศาสตร์นั้น มีความเชื่อว่า ระดูของผู้หญิงนั้นสามารถทำลายมนต์หรือคาถาอาคมได้ ดังนั้น เรื่องการห้ามผู้หญิงเข้าศาสนสถานหรือพระธาตุ มีส่วนเกี่ยวโยงทั้งความเชื่อทางด้านพุทธและไสยศาสตร์ปะปนกัน และฝังรากลึกกลายเป็นจารีตท้องถิ่นของชาวล้านนา1

          การห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าศาสนสถาน เห็นได้ชัดว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อสตรี เพราะเหตุทางเพศอย่างแน่นอน หากนำเรื่องการห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าศาสนสถานมาพิจารณาควบคู่กับอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ2นั้น จะเห็นได้ว่ามีความขัดแย้งดังต่อไปนี้3

          1. การห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าศาสนสถานกับอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ข้อ 1

          อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ข้อ 1บัญญัติว่า "เพื่อความมุ่งประสงคข์องอนุสัญญาน้ี คำว่า “เลือกปฏิบัติต่อสตรี” จะหมายถึง การแบ่งแยก การกีดกัน หรือการจำกัดใด ๆ เพราะเหตุแห่งเพศ ซ่ึงมีผลหรือความมุ่งประสงค์ที่จะทำลายหรือทำใหเ้สื่อมเสียการยอมรับ การได้อุปโภค หรือใช้สิทธิโดยสตรี โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพ้ดานการสมรส บนพ้ืนฐานของความเสมอภาคของบุรุษและสตรีของสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพ้ืนฐานในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของพลเมืองหรือด้านอื่น ๆ

          เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่สามารถเข้าไปนมัสการหรือสักการะในศาสนสถานได้ เนื่องจากเพราะเป็นผู้หญิงนั้น เป็นการกีดกันสิทธิของผู้หญิง เนื่องจากเป็นผู้หญิง จึงไม่ให้เข้าไปใช้สิทธิในการสักการะบูชาศาสนสถานหรือพระธาตุ ซึ่งสิทธิในการเข้าไปสักการะศาสนสถานนั้น เป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรม ที่บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าไปสักการะศาสนสถานตามความเชื่อของแต่ละบุคคลได้ ดังนั้น การห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าศาสนสถานเป็นการกระทำที่ขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ข้อ 1 ซึ่งเป็นการกีดกันไม่ให้เข้าถึงพื้นที่โดยเหตุแห่งเพศ

          2. การห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าศาสนสถานกับอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ข้อ 2

          อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ข้อ 2บัญญัติว่า "รัฐภาคีท้ังหลายขอประณามการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ตกลงที่จะติดตามนโยบายเกี่ยวกับ

          การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีโดยวิธีที่เหมาะสมทุกประการและโดยไม่ชักช้า และเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายน้ี ตกลงที่จะ

          () ใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่าง รวมท้ังการออกกฎหมาย เพื่อเปลี่ยนแปลงหรือล้มเลิกกฎหมาย ข้อบังคับ ประเพณีและแนวปฏิบัติที่ยังมีอยู่ ซึ่งก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี"

          แม้ว่าในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น ได้รับรองความเสมอภาคระหว่างหญิงชายไว้ และรัฐไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันในอนุสัญญาแล้ว แต่ในความเป็นจริง ยังมีแนวปฏิบัติของชุมชนที่ยังเป็นการเลือกปฏิบัติต่อสตรีอยู่ จะเห็นได้ว่า รัฐไม่ได้ใช้มาตรการเพื่อเปลี่ยนแปลงประเพณีหรือแนวปฏิบัติที่ปฏิบัติต่อสตรีคนละอย่างกับบุรุษ ดังนั้น การห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าศาสนสถานเป็นการกระทำที่ขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ข้อ 2 เนื่องจากรัฐยังไม่ได้ใช้มาตรการใดๆกลับการปฏิบัติแบบสองมาตรฐานในจุดนี้

          3. การห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าศาสนสถานกับอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ข้อ 13

          อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ข้อ 13บัญญัติว่า "รัฐภาคีจะใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่าง เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในด้านอื่น ๆ ของการเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อที่จะให้ได้สิทธิอย่างเดียวกันบนพ้ืนฐานของความเสมอภาคระหว่างบุรุษและสตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

           () สิทธิที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมนันทนาการ การกีฬา และเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับด้านวัฒนธรรมทุกอย่าง"

          ประเทศไทย มีทั้งรัฐธรรมนูญที่รับรองความเสมอภาคของหญิงชาย และเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ จึงควรจะใช้มาตรการที่เหมาะสมที่จะไม่ให้มีการห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าศาสนสถาน ซึ่งเป็นสิทธิในทางวัฒนธรรมที่บุคคลทุกคนควรมี แต่ในทางปฏิบัติ ประเทศไทยไม่ได้ใช้มาตรการใดๆในการจัดการการเลือกปฏิบัติในเรื่องนี้ ดังนั้น การห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าศาสนสถานเป็นการกระทำที่ขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ข้อ 13 ซึ่งเป็นการริดรอนสิทธิในทางวัฒนธรรมของสตรี

           จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า การห้ามไม่ให้ผู้หญิงเข้าศาสนสถานนั้น เป็นการกระทำที่ขัดกับ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบอย่างแน่นอน โดยเฉพาะสิทธิในการเข้าถึงทางวัฒนธรรม ที่ยังคงยึดมั่นกับแนวคิดหรือความเชื่อแบบเดิมๆ ว่าผู้หญิงเป็นเพศที่เย้ายวน หรือประจำเดือนของผู้หญิงเป็นเรื่องสกปรก ทั้งๆที่เป็นเรื่องธรรมชาติที่ผู้หญิงทุกคนต้องมี สำหรับข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าเห็นว่า ผู้หญิงควรมีสิทธิเสรีภาพเท่ากันกับผู้ชาย ทางแก้ไขนั้น อาจจะเริ่มโดยการทำความเข้าใจกับชุมชนว่าผู้หญิงก็เป็นมนุษย์เช่นเดียวกับผู้ชาย ประจำเดือนเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าผู้หญิงก็เป็นมนุษย์ ไม่ใช่สิ่งของทางเพศ รณรงค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องความเสมอภาคของชายหญิง หรือแม้กระทั่ง ใช้วิธีการทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการเสนอร่างกฎหมายหรือเสนอคดีให้ศาลตีความ ไม่ว่าจะใช้วิธีการใด ข้าพเจ้าหวังว่า วิธีการนั้นๆ จะทำให้การเลือกปฏิบัติต่อสตรีหมดไปจากประเทศไทยในที่สุด



จิดาภา รัตนนาคินทร์

21 เมษายน 2557



1 onemoon. 2553.  สุภาพสตรีห้ามเข้า. แหล่งที่มา : onemoon.wordpress.com/2010/11/17/สุภาพสตรีห้ามเข้า. 21 เมษายน 2557.

2 อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ. แหล่งที่มา : http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/ce... 21 เมษายน 2557.

3 บทที่ 4 การศึกษาพันธกรณีในทางระหว่างประเทศของไทยในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบในการห้ามสตรีเข้าไปในพื้นที่ชั้นในของพุทธศาสนสถานที่บรรจุพระบรมสารีริดธาตุ. แหล่างที่มา : http://digi.library.tu.ac.th/thesis/la/1030/10CHAP... 21 เมษายน 2557.

หมายเลขบันทึก: 566456เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2014 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท