กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


         สิทธิมนุษยชนนั้น มีความสำคัญในหลายๆครั้งได้ถูกนำมาเป็นประเด็นสำคัญเพื่อต่อรองทางการเมือง ในการพิจารณาติดต่อสัมพันธ์ทางการทูตหรือทางการค้ากับประเทศที่ถูกกล่าวหาว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนในประเทศของตน ดังเช่น กรณีของสหภาพยุโรป ไม่ยอมให้ผู้นำพม่าเดิมเข้าประเทศตน หรือไม่ซื้อหาสินค้าจากประเทศหลายประเทศในเอเซียที่ถูกกล่าวหาว่าใช้แรงงานเด็กขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนเป็นต้น ฯลฯ [1]

         ประเทศไทยได้ให้ความสนใจในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา หรือข้อตกลงระหว่างประเทศ หรือแนวทางปฏิบัติระหว่างประเทศ อันเกี่ยวกับด้านสิทธิมนุษยชนทั้งโดยอ้อมหรือโดยตรงหลายฉบับ อาทิ

           1. ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการค้าทาสผิวขาว ค.ศ.1904 และ ค.ศ.1910 (International Convention for Suppression of the White Slave Traffic 1904,1910)                             ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ค.ศ.1910 โดยการภาคยานุวัติ และ ข้อ8ของอนุสัญญาดังกล่าวกำหนดว่าการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้จะถือว่าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ค.ศ.1904 ด้วย หากไม่มีการแจ้งเป็นอย่างอื่น ดังนั้น โดยการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ค.ศ.1910 ไทยจึงเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ค.ศ.1904 ด้วย 

           2. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ค.ศ.1979 (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women 1979 CEDAW)         

         อนุสัญญาฯมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 3 กันยายน 2524 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2528  ในขณะที่เข้าเป็นภาคีไทยได้มีการตั้งข้อสงวน กล่าวคือ

          (ก)   ข้อ7   ความเสมอภาคทางการเมือง และ ตำแหน่งราชการ

          (ข)  ข้อ9   วรรค2 การถือสัญชาติของบุตร

          (ค)  ข้อ10 การเสมอภาคในการศึกษา

          (ง)   ข้อ11 วรรค1 โอกาสในการที่จะได้รับการจ้างงานชนิดเดียวกัน

          (จ)   ข้อ15 วรรค3 การทำสัญญาของสตรี

          (ฉ)  ข้อ16 ความเสมอภาคในด้านครอบครัว และ การสมรส 

          (ช)  ข้อ29 การระงับการตีความ การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ

          ต่อมาประเทศไทยได้เพิกถอนข้อสงวนในข้อ7 ข้อ9วรรค2 ข้อ11 และข้อ15วรรค3 ซึ่งการยกเลิกข้อสงวนดังกล่าว มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2539 

             3.  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1989 (Convention on the Rights of the Child 1989 CRC)                  

             อนุสัญญาฯมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2533 ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2535 โดยอนุสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับไทยตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2535ข้อสงวนขณะที่เข้าเป็นภาคีประเทศไทยตั้งไว้3ข้อคือ

          (ก)   ข้อ7  สิทธิในการได้สัญชาติ

          (ข)  ข้อ22 สิทธิของเด็กหนีภัย

          (ค)  ข้อ29 สิทธิที่จะได้รับการศึกษา

          ต่อมาประเทศไทยได้มีการเพิกถอนข้อสงวนข้อที่29 [2]

 

แหล่งที่มา

[1] http://th.wikipedia.org/wiki/

[2] http://www.l3nr.org/posts/28768

หมายเลขบันทึก: 566449เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2014 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2014 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)


.... ชอบคุณ บันทึกดีดีนี้ค่ะ...


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท