กฏหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิในสังคมไทย


  ประเทศไทยถือเป็นส่วนหนึ่งในประชาคมโลกที่ให้ความสำคัญในเรื่องเกี่ยวกับ สิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งบทกฏหมายหลักอันมีเนื้อหาหลักเกี่ยวของกับสิทธิมนุษยชน ในสังคมโลก คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกเสียจาก ปฏิณณาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือ UDHR ซึ่งบุคคลทุกคนสามารถยกปฏิณญาดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างได้เสมอในกรณีที่ตนกำลังถูกละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ แต่นอกจากปฏิณญาข้างต้นแล้ว ยังมีอนุสัญญาอีกถึง 9 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชนในระดับสากล ซึ่งทั้งเก้าฉบับนี้ประเทศไทย เข้าเป็นภาคีเพียงแค่ 7 ฉบับเท่านั้น ซึ่งอนุสัญญาทั้งเจ็ดฉบับบมีเนื้อหาและสาระสำคัญดังนี้

อนุสัญญาที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี

  ICCPR (International Covenant on Civil and Political Rights) หรือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นสนธิสัญญาพหุภาคี ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ให้การรับรอง สนธิสัญญานี้ให้คำมั่นสัญญาว่าภาคีจะเคารพสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของบุคคล ซึ่งรวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพในศาสนา เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการรวมตัว สิทธิเลือกตั้ง และสิทธิในการได้รับการพิจารณาความอย่างยุติธรรม จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 กติการะหว่างประเทศนี้มีประเทศลงนาม 72 แห่งและภาคี 165 แห่ง 

 ICESCR  (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights) หรือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นสนธิสัญญาพหุภาคี ซึ่งผ่านมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ผูกมัดภาคีให้ทำงานเพื่อมุ่งสู่การให้สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง (ESCR) แก่ปัจเจกบุคคล รวมถึงสิทธิแรงงานและสิทธิในสุขภาพอนามัย สิทธิในการศึกษา ตลอดจนสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่พอเพียง

  CEDAW (International Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women) หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ซึ่งวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาดังกล่าวนี้ก็เป็นไปตามชื่อ คือเพื่อป้องกัน คุ้มครอง และขจัด ไม่ให้เกิดปัญหาการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความแตกต่างทางเพศ ซึ่งในข้อ 1. ได้ให้คำนิยามของคำว่าการเลือกปฏิบัติต่อสตรีว่าอันมีใจความว่า "เป็นการแบ่งแยก การกีดกัน หรือการจำกัดใด ๆ เพราะเหตุแห่งเพศ ซึ่งมีผลหรือความมุ่งประสงค์ที่จะทำลายหรือทำให้เสื่อมเสียการยอมรับ การได้อุปโภคหรือใช้สิทธิโดยสตรี โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพด้านการสมรส บนพื้นฐานของความเสมอภาคของบุรุษและสตรี ของสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมของพลเมือง หรือด้านอื่น ๆ"

  CAT (Convention against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment) หรือ อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย้ำยีศักดิ์ศรี ซึ่งในเนื้อหาของอนุสัญญาฉบับนี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการระงับและยับยั้งการทรมาน โดยในเนื้อหาของอนุสัญญาดังกล่าวได้กำหนดความหมายของ การทรมาน ว่าหมายถึงการกระทำใดก็ตามโดยเจตนาที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสไม่ว่าทางกายภาพหรือทางจิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ด้วยความมุ่งประสงค์ เพื่อให้ข้อสนเทศหรือคำสารภาพจากบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม การลงโทษบุคคลนั้นสำหรับการกระทำซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามกระทำ หรือถูกสงสัยว่าได้กระทำ รวมทั้งการบังคับขู่เข็ญ โดยมุ่งเน้นไปที่การกระทำหรือโดยความยินยอมของเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลอื่น ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการ

  CERD (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination) หรือ อนุสัญญำระหว่ำงประเทศว่ำด้วยกำรขจัดกำรเลือกปฏิบัติทำงเชื้อชำติในทุกรูปแบบ ซึ่งสาระสำคัญของอนุสัญญาดังกล่าวนั้น กล่าวถึงคำจำกัดความ “การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ” ว่าหมายถึงการจำแนก การกีดกัน การจำกัด หรือการเอื้ออำนวยพิเศษ เพราะเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสาย หรือชาติกำเนิด หรือเผ่าพันธุ์ โดยไม่รวมถึงการปฏิบัติที่แตกต่างระหว่างบุคคลที่เป็นพลเมืองและไม่ใช่พลเมือง นโยบายของรัฐภาคีและการดำเนินมาตรการเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ เช่น การห้ามการโฆษณาชวนเชื่อ การประกันสิทธิประกันสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุคคลภายใต้กฎหมาย ทั้งในด้านสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การเยียวยาเมื่อถูกละเมิด การให้ความสำคัญด้านมาตรการในการศึกษา วัฒนธรรรม และข้อมูลเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ

  CRC (Convention on the Rights of the Child) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เป็นอนุสัญญาที่ได้รับความเห็นชอบมากที่สุดในบรรดาอนุสัญญาต่างอันเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน เพราะหลายประเทศมองว่าเด็ก หรือ เยาวชน นั้นเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างมากต่อประเทศชาติ อีกทั้งเด็ก หรือเยาวชนนั้น ยังคงเป็นผู้ที่ไม่สามารถปกป้องคุ้มครอง หรือ ดูแลตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อการอยู่รอดและการดำรงชีวิต ดังนั้นอนุสัญญาฉบับนี้จึงระบุรายละเอียดของสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ไว้ว่าทุกประเทศต้องรับประกันเด็กในประเทศของตน ได้แก่

• สิทธิที่จะมีชีวิตรอด – ได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน มีสันติภาพ และความปลอดภัย

• สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา – มีครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม

• สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง - ให้รอดพ้นจากการทำร้าย การถูกล่วงละเมิด การถูกทอดทิ้ง และการแสวงประโยชน์ในทุกรูปแบบ

• สิทธิที่ในการมีส่วนร่วม – ในการแสดงความคิดเห็น แสดงออก การมีผู้รับฟัง และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบกับตนเอง

  CRPD (Convention on the Rights of Persons with Disabilities) หรือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ วัตุประสงค์ของอนุสัญญาดังกล่าวนี้ เพื่อส่งเสริมพิทักษ์และรับรองให้คนพิการได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเสรีภาพขั้นพื้นฐานและมีความเสมอภาคอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งส่งเสริมการเคารพศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิดของคนพิการอนุสัญญาฉบับนี้ยังเป็นอนุสัญญาฉบับแรก ที่ครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของคนพิการ ไม่เฉพาะด้านพลเมืองเท่านั้น แต่รวมถึงเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และชีวิตครองครัวอีกด้วย เพราะถึงอย่างไรคนเราจะเกิดมาพร้อมกับความพิการ หรือ ได้รับความพิการในภายหลังก็ตาม พวกเขาก็ยังคงมีสถานะเป็นมนุษย์คนหนึ่งเฉกเช่นพวกเราทุกคนดังนั้นเเล้วจึงเป็นการที่เหมาะสมที่พวกเขาควรจะได้รับการปฏิบัติให้ได้รับสิทธิต่างๆอย่างเสมอภาคเช่นคนธรรมดา ซึ่งอนุสัญญา CRPD ให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้

• เคารพศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิด การอยู่ได้ด้วยตนเองเสรีภาพในการตัดสินใจด้วยตนเอง และความเป็นอิสระของบุคคล

• ไม่เลือกปฏิบัติต่อคนพิการ

• การมีส่วนร่วม การเข้าร่วมของคนพิการได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพในสังคม

• เคารพความแตกต่าง ยอมรับคนพิการว่าเป็นส่วนหนึ่งของความแตกต่างของมนุษยชาติและความเป็นมนุษย์

• ความเทียมของโอกาส

• การเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้

• ความเสมอภาคระหว่างชายกับหญิง

• การเคารพขีดความสารถของเด็กพิการที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและการเคารพสิทธิของเด็กพิการอย่างต่อเนื่องและการเคารพสิทธิของเด็กพิการเพื่อสงวนรักษาอัตลักษณ์แห่งตน

 

อ้างอิง

1.กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ,ที่มา http://www.rlpd.moj.go.th/ ,สืบค้นเมื่อ 21/4/57

2.iLaw,ที่มา http://ilaw.or.th/taxonomy/term/262 ,สืบค้นเมื่อ 21/4/57

3.อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ,ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD% ,สืบค้นเมื่อ 21/4/57

4.กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ,ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8 ,สืบค้นเมื่อ 21/4/57

5.ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี ,ที่มา http://www.mfa.go.th/humanrights/human-rights-conventions ,สืบค้นเมื่อ 21/4/57

6.อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC),ที่มา http://www.unicef.org/thailand/tha/overview_5954.html ,สืบค้นเมื่อ 21/4/57

7.สาระสำคัญ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ,ที่มา http://www.braille-cet.in.th/Braille-new/?q=news-1286 ,สืบค้นเมื่อ 21/4/57

หมายเลขบันทึก: 566458เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2014 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2014 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท