กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


           สนธิสัญญาทวิภาคีทำระหว่างสองรัฐ หรือองค์การ อย่างไรก็ดี เป็นไปได้ว่าสนธิสัญญาทวิภาคีอาจมีภาคีมากกว่าสอง ภาคีแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม สวิตเซอร์แลนด์ ("ฝ่ายหนึ่ง") กับสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิก ("อีกฝ่ายหนึ่ง") สนธิสัญญาก่อตั้งสิทธิและข้อผูกมัดระหว่างสวิตเซอร์แลนด์กับสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกอย่างหลากหลาย ซึ่งมิได้สถาปนาสิทธิและข้อผูกมัดใด ๆ ระหว่างสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิก สนธิสัญญาพหุภาคีทำระหว่างหลายประเทศความตกลงดังกล่าวก่อตั้งสิทธิและข้อผูกมัดระหว่างแต่ละภาคีและภาคีอื่นทุกภาคี
           ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญๆ  7 ฉบับ จากทั้งหมด 9 ฉบับ  สำหรับอนุสัญญาหลักอีก 2 ฉบับที่ไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีคือ อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว อนุสัญญาที่ไทยได้เข้าร่วมมีดังนี้
           1. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women-CEDAW) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2528  
           2. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child-CRC) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 ประกอบด้วยบทบัญญัติ 54 ข้อ ได้แก่เรื่องเกี่ยวข้องกับสิทธิของเด็กโดยตรง
           3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2539
           4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights-ICESCR) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542
           5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546
           6. อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment-CAT) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550
            7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities) มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551
           นอกจากนี้ ไทยได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนหลัก 3 ฉบับ ดังนี้
           1. พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Optional Protocol to the Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women) ซึ่งมีสาระสำคัญในการยอมรับอำนาจของคณะกรรมการประจำอนุสัญญาฯ ในการรับและพิจารณาข้อร้องเรียนในกรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีภายใต้ อนุสัญญาฯ โดยผู้ร้องเรียนอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคลในนามผู้ถูกละเมิดสิทธิก็ได้ ทั้งนี้ ไทยได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543
           2. พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กว่าด้วยการขายเด็กโสเภณีเด็กและสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the Sale of Children, Child Prostitution and Child Pornography)
           3. พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กว่าด้วยสภาวะความขัดแย้งที่มี การใช้อาวุธ (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the Involvement of Children in Armed Conflict) โดยการภาคยานุวัติเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2549
           กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) มีความสำคัญมากกว่าสิทธิประเภทอื่น เนื่องจากเป็นสิทธิที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรก และมีผลบังคับใช้อย่างเคร่งครัดมากที่สุดในทางกฎหมายระหว่างประเทศและบุคคลคนทั่วไป สิทธิตามกติกา ICCPR ถือเป็นสิทธิเด็ดขาดอันถูกต้องชอบธรรม (justifiable human rights) ตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกา ICCPR ถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน (fundamental rights) ซึ่งเป็น Traditional Rights ของปัจเจกชน (individual) และสะท้อนถึงความเป็นอิสระจากการไม่ถูกแทรกแซง (The laissez faire doctrine of interference) นักกฎหมาย สิทธิมนุษยชนจะเน้นการตรวจสอบภายใน (internal law) ของแต่ละประเทศว่าสอดคล้องกับมาตรฐานสากลหรือไม่   กล่าวอีกนัยหนึ่ง กติกา ICCPR ต้องการคุ้มครองสิทธิพลเมืองหรือสิทธิของประชาชนที่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า “สิทธิมนุษยชน” ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับ “การคำนึงถึง” “ความพร้อม” และ “ความมั่งคั่ง”ของแต่ละประเทศ เพื่อให้อย่างน้อยมีผลในทางปฏิบัติบ้างดีกว่าไม่เกิดการปฏิบัติทั้งหมด การปกป้องคุ้มครองสิทธิพลเมืองจึงต้องให้ความสำคัญกับกฎหมายสูงสุด คือ รัฐธรรมนูญ ของประเทศว่ามีความสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่ เช่นรัฐธรรมนูญของอินเดีย ได้บัญญัติเจตนารมณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในมาตราที่ 51 (c)  เกี่ยวกับการบรรลุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับอุดมการณ์ของความสงบสุขของโลก ว่าเป็นหลักการสำคัญของนโยบายของรัฐ ส่วนสิทธิของชนกลุ่มน้อยของประเทศอินเดียรัฐธรรมนูญก็ได้บัญญัติถึงสิทธิในวัฒนธรรมและการศึกษาเอาไว้ในมาตราที่ 29           ประเทศไทยใช้เวลานานกว่า 20 ปี กว่าจะได้เข้าเป็นภาคีของกติกาฉบับนี้โดยการภาคนายุวัตร เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2539 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และต่อจากนั้นอีก 3 ปี ประเทศไทยจึงได้เข้าเป็นภาคีของกติกาว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2542 ข้อสังเกตในการเข้าเป็นภาคีของกติกาทั้ง 2 ฉบับของไทยล้วนกระทำพร้อมกับการมี “คำแถลงการตีความ” (Interpretation of Declaration) ต่อท้ายการภาคยานุวัตร (Instrument of Accession) หรือเอกสารแสดงเจตนาที่จะยอมรับข้อผูกพันตามกติกา ICCPR เพื่อขอสงวนหรือจำกัดการตีความบางเรื่องในกติกา ICCPR ให้มีความหมายที่แคบลงเฉพาะที่ประเทศไทยมุ่งหมาย  การแถลงการตีความดังกล่าว เป็นการปรับใช้กติกา ICCPR เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์หรือว่าข้อจำกัดทางกฎหมายภายในประเทศ
            ประเทศไทยได้จัดทำรายงานฉบับแรกของกติการะหว่างประเทศ ICCPR เสร็จลุล่วงลงแล้ว และได้ส่งรายงานไปเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2547  การจัดทำรายงานดังกล่าวดำเนินการโดยสำนักอัยการสูงสุดซึ่งมีลักษณะของการชี้แจงการปฏิบัติให้เกิดสิทธิตามกติกาฉบับนี้ของประเทศไทย ตั้งแต่เหตุผลในการจัดทำถ้อยแถลงตีความและการดำเนินการทำให้เกิดสิทธิทั้ง 27 ข้อของกติกาในเรื่องต่างๆ เช่น การกำหนดเจตจำนงของตนเอง การประกันสิทธิภายในเขตอำนาจโดยปราศจากการแบ่งแยกความเท่าเทียมกันของชายและหญิง การประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินภายในประเทศ การตีความของกติกา สิทธิที่จะมีชีวิตและยกเลิกโทษประหาร การถูกทรมานลงโทษที่โหดร้าย สิทธิการชุมนุมโดยสงบ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการชี้แจงด้วยวาจาไปแล้ว เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งจากการสรุปบทเรียนของการทำรายงานประเทศ ICCPR และรายงานประเทศฉบับอื่นๆเพื่อรายงานต่อสหประชาชาติพบว่า การทำรายงานฉบับดังกล่าวค่อนข้างเป็นภารกิจที่ค่อนข้างยุ่งยากและเป็นสิ่งใหม่สำหรับหน่วยงานต่างๆ เนื่องจากในระยะแรกยังไม่มีการกำหนดแนวทาง ขั้นตอนและวิธีการไว้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งในการเขียนรายงานระยะแรกมักมอบให้ผู้เชี่ยวชาญที่เชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศเป็นผู้เขียนทำให้ขาดการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง และไม่มีโอกาสได้รับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาสังคม เนื่องจากกรอบระยะเวลาที่จะต้องส่งรายงานค่อนข้างมีความกระชั้นชิด
            ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังจัดทำรายงานประเทศฉบับที่สอง ซึ่งต้องรายงานสถานการณ์ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในช่วงปี พ.ศ. 2548-2551 ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับภาวะของการทดสอบหลายประการด้วยกัน ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ในยุคโลกาภิวัตน์ ตั้งแต่วิกฤติสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน วิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองที่มีการแบ่งฝักฝ่ายและมีความขัดแย้งกันอย่างชัดเจน นอกจากนี้เหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549  ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีความโน้มเอียงที่จะเสี่ยงต่อการเกิดสถานการณ์ความรุนแรงระหว่างฝ่ายที่เห็นต่างซึ่งกันและกัน ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งนำมาสู่ข้อกังวลจากภาคประชาสังคมว่าการใช้กฎหมายพิเศษดังกล่าวจะกระทบกระเทือนถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาลในสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และความขัดแย้งทางการเมืองในห้วงเวลาที่ผ่านมา
ที่มา
http://www.deepsouthwatch.org/ms/node/2336
http://www.sanehchamarik.in.th/attachments/028_220405.pdf
http://th.wikipedia.org/wiki
http://www.ryt9.com/s/mfa/415996/
 
หมายเลขบันทึก: 566464เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2014 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2014 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท