กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งสหประชาชาติถือเป็น สนธิสัญญาหลัก จำนวนทั้งสิ้น 7 ฉบับได้แก่ 

  1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC)
  2. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Woman - CEDAW)
  3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covernant on Civil and Political Rights - ICCPR)
  4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covernant on Economics, Social and Cultural Rights - ICESCR)
  5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination - CERD)
  6. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT)
  7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)

 

     ในบทความนี้จะขอกล่าวถึง อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT)

     ในเนื้อหาของอนุสัญญาฉบับนี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการระงับและยับยั้งการทรมาน โดยในเนื้อหาของอนุสัญญาดังกล่าวได้กำหนดความหมายของ การทรมาน ว่าหมายถึงการกระทำใดก็ตามโดยเจตนาที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสไม่ว่าทางกายภาพหรือทางจิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ด้วยความมุ่งประสงค์ เพื่อให้ข้อสนเทศหรือคำสารภาพจากบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม การลงโทษบุคคลนั้นสำหรับการกระทำซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามกระทำ หรือถูกสงสัยว่าได้กระทำ รวมทั้งการบังคับขู่เข็ญ โดยมุ่งเน้นไปที่การกระทำหรือโดยความยินยอมของเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลอื่น ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการ

     การทรมานในความหมายสากล (ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี : Convention against Torture and Other Cruel Inhuman or Degrading Treatment or Punishment : CAT) หมายถึง

  1. การทำให้ให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายหรือจิตใจ หรือความทุกข์ทรมานของบุคคล

    2. โดยการสั่งการหรือยินยอมโดยเจ้าพนักงานของรัฐ

    3. ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูล หรือเพื่อทำโทษหรือการข่มขู่

     ซึ่งความหมายของการทรมานได้รับการยอมรับในทางสากล ในกฎหมายระหว่างประเทศและในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี จะเห็นได้ว่า ลักษณะสำคัญของการทรมานคือการใช้วิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดความเจ็บปวดแก่กายหรือจิตใจ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือคำรับสารภาพของบุคคลที่ถูกทรมานหรือบุคคลที่สาม เว้นแต่ความเจ็บปวดทุกข์ทรมานที่เป็นผลปกติจากการลงโทษโดยชอบด้วยกฎหมาย

     อย่างไรก็ตาม ยังมีการกระทำที่ไม่ถึงกับเป็นการทรมาน เนื่องจากยังไม่เป็นสาเหตุให้เกิดความเจ็บปวดทางด้านร่างกายและจิตใจในระดับที่ถือว่าเป็นการมรมาน แต่ก็ต้องห้ามไม่ให้กระทำเช่นกัน คือ การปฏิบัติที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม และเป็นการละเมิดหรือการลงโทษที่ลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น การเปิดไฟให้สว่าง ๒๔ ชั่วโมง โดยอ้างว่าเป็นระเบียบ การใส่ตรวนหรือกุญแจมือตลอดเวลา หากการกระทำนั้นไม่ใช่การทรมาน เพราะไม่ได้ต้องการข้อมูลหรือคำรับสารภาพ แต่เป็นการลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ลง เป็นต้น

     สำหรับเหตุการณ์ในไทยที่เห็นได้ล่าสุดที่เป็นที่เผยแพร่ในสังคมออนไลน์คือ กรณีทหารถูกทำโทษให้แก้ผ้านอนทับกันทำท่าอนาจาร และการบังคับให้สำเร็จความใคร่ให้เพื่อน ซึ่งก็มีผู้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็น2ฝ่าย แน่นอนว่าฝ่ายหนึ่งต้องเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ดูแล้วเสื่อม แต่อีกฝ่ายก็ว่ามีมานานแล้ว ก็ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ซึ่งเป็นเรื่องน่าคิดว่ามันจะไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อนได้อย่างไร ก็ในเมื่อคนที่เดือดร้อนก็คือคนที่กำลังถูกลงโทษอยู่นั่นไง ไม่เท่านั้น ยังอับอายเสียหายไปถึงคนที่เกี่ยวข้องกับทหารเหล่านั้นอีกด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงคำจำกัดความของการทรมาณที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ก็อยู่ในประเภทของ การกระทำที่ไม่ถึงกับเป็นการทรมาณแต่ก็เป็นการต้องห้ามไม่ให้กระทำ เนื่องจากเป็นการลงโทษที่ลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั่นเอง

     ส่วนตัวแล้ว ผมเห็นว่า สังคมไทยที่ปัจจุบันมีคำศัพท์ที่ใช้เหน็บแนมผู้ที่มองว่าการกระทำเหล่านี้เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ว่า “พวกโลกสวย” ซึ่งก็ทำให้ฝ่ายที่ถูกด่านั้น ไม่รู้จะหาเหตุผลใดมาตอบโต้ได้อีก ก็เนื่องจากไม่ใช่สิ่งที่ถูกที่ควรแล้วหรือ ที่จะต้องการให้การกระทำที่ไม่สมควร ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง แต่ในอีกแง่มุมนั้น ผมก็เห็นด้วยว่า ในบางกรณีที่สังคมก็ดัดจริตจนเกินไป นั่นต่างหากที่ควรจะเรียกว่าพวกโลกสวย เช่นการทำเป็นรับไม่ได้กับรสนิยมการใช้ชีวิตของคนอื่นที่ไม่ตรงกับตนเอง แต่ไม่ใช่กับกรณีที่วิปริตเช่นนี้แน่นอน

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

-http://www.l3nr.org/posts/366599

-http://www.t-pageant.com/2011/index.php?/topic/77757 -ฉาวอีก-คลิปทหารโดนลงโทษให้สำ/page__st__40

หมายเลขบันทึก: 566465เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2014 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2014 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท